Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37408
Title: ข้อพิจารณาด้านกฎหมายของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง ค.ศ. 2008
Other Titles: Considerations of law concerning Thailand's accession to the Convention on Cluster Munitions 2008
Authors: นิตินัย คำนวน
Advisors: วิทิต มันตาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Vitit.M@chula.ac.th
Subjects: อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง (ค.ศ. 2008)
ระเบิดพวง -- กฎหมายและระเบียบข้อยังคับ
การควบคุมอาวุธ -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ
Convention on Cluster Munitions (2008)
Cluster bombs -- Law and legislation
Arms control -- International cooperation
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันการใช้อาวุธประเภทระเบิดพวงในข้อพิพาททางอาวุธนั้นได้เพิ่มและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นเหตุนำมาซึ่งความเสียหายอย่างมากต่อทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนพลเรือนที่อยู่ท่ามกลางการสู้รบ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ผู้พลัดถิ่น และผู้ที่ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่เป็นจำนวนมาก อันเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมมนุษย์ ดังนั้นประเทศทั้งหลายร่วมกับกลุ่มพันธมิตรเพื่อต่อต้านการใช้ระเบิดพวง หรือ Cluster Munitions Coalition (CMC) สหประชาชาติ และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงต้องร่วมมือกัน เพื่อป้องกัน ปราบปรามและต่อต้านการใช้ระเบิดพวง โดยอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง ค.ศ. 2008 เป็นความพยายามล่าสุดในการดำเนินการเพื่อการป้องกันและปราบปราม หยุดยั้ง การใช้ระเบิดพวง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษาถึง ลักษณะ องค์ประกอบ และแนวทางความเป็นมาของการควบคุมอาวุธประเภทระเบิดพวง รวมทั้งพันธกรณี และหลักการที่สำคัญของอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง ค.ศ. 2008 รวมทั้งแนวโน้มที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี รวมทั้งศึกษากฎหมายและการปฏิบัติจากประเทศสมาชิก ตลอดจนผลกระทบด้านกฎหมาย และการดำเนินการอื่นๆ หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญานี้ ผลจากการศึกษาพบว่า อนุสัญญาฉบับนี้ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติบางประการเป็นต้นว่า ขาดการกำหนดคำนิยามของประเภทของระเบิดพวง และการปฏิบัติการร่วมทางทหารกับประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีที่ชัดเจน และมาตรการบังคับที่ไม่ได้มีบทลงโทษที่แน่ชัด ซึ่งยังคงเป็นปัญหาเช่นเดียวกับอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการควบคุมอาวุธประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีปัญหาขอบเขตการกระทำความผิด และการปฏิบัติตามพันธกรณีภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้หากประเทศไทยจะดำเนินการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายใน และแนวปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และพันธกรณีของอนุสัญญาต่อไป
Other Abstract: At the present time, using cluster munitions is a vital problem for the international community. The effects of this weapon are quite a recent phenomenon which may cause tremendous calamity to humanity. For this reason, the international community together with Cluster Munitions Coalition (CMC), the United Nations and International Committee of the Red Cross (ICRC), have cooperated to prevent, suppress, and counter Cluster Munitions. The Convention on Cluster Munitions (2008) is the most recent achievement of the international community to ban Cluster Munitions. This Thesis is aimed at examining the meaning and components of Cluster Munitions as stipulated in the Convention. Besides, this thesis also aims to appraise the possibility for Thailand to become party to this Convention, including its effects on Thai law. According to this thesis, there are some practical problems in the Convention, such as the definition of “Cluster Munitions”, the meaning of the Interoperability, Enforcement measures and the scope of the Convention. Therefore, if Thailand intends to ratify this Convention, amendment of existing domestic law is needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37408
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1091
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1091
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitinai_ku.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.