Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37549
Title: การทดลองวัดผลโค้งพัฒนาการแบบมีตัวแปรแฝงในการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน
Other Titles: An experiment measuring latent growth curve in the development of integrative critical thinking skills for students
Authors: เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wsuwimon@chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: การวิพากษ์
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณในเด็ก
ทักษะทางการคิด
Criticism
Critical thinking in children
Thinking skill
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการ และพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพขั้นต้นของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการเพื่อใช้พัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการ ที่มีต่อทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน เมื่อควบคุมปัจจัยการคิดวิพากษ์ 4) ศึกษาอิทธิพลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการที่มีต่อคะแนนดั้งเดิม และอัตราการเปลี่ยนแปลงของทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน แบบแผนการวิจัยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 5 จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบทดสอบทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวัด 4 ครั้ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน โมเดลโค้งพัฒนาการแบบมีตัวแปรแฝง ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัว เรียงลำดับองค์ประกอบจากการคิดสะท้อน การคิดวิเคราะห์ การคิดตัดสินใจ การคิดสร้างสรรค์ การคิดโต้แย้งด้วยเหตุผล ตามลำดับ แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นเพื่อวัดทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียนมีความตรงตามเนื้อหาจากการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.32-0.78 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27-0.76 และมีค่าความเที่ยงจากการประมาณค่าด้วยสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.735 2) โปรแกรมการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้น เป็นแบบการพัฒนา 5 ขั้นตอนตามกระบวนการคิดวิพากษ์ มีคุณภาพตามการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน 3) ตัวแปรผลกลุ่มการสอนที่ใช้และไม่ใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและประเภทของโรงเรียนมีอิทธิพลต่อคะแนนเฉลี่ยการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ 4) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของโมเดลโค้งพัฒนาการแบบมีตัวแปรแฝงในการวัดทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียนสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 25.128 มีค่า p เท่ากับ 0.0676 มีองศาอิสระเท่ากับ 16 ค่าดัชนีดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความแตกต่างโดยประมาณ เท่ากับ 0.055 ค่าดัชนีความกลมกลืนเท่ากับ 0.988 และขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะที่มีต่อคะแนนดั้งเดิมและอัตราการเปลี่ยนแปลง พบว่า ค่าเท่ากับ 0.986 และ 0.421 ตามลำดับ
Other Abstract: This research aimed 1) to develop the measurement model and the instrument measuring the integrative critical thinking skills for students, 2) to construct and validate the program for the development of the integrative critical thinking skills to develop the integrative critical thinking skills for students, and 3) to study the effects of the program for the development of the integrative critical thinking skills on students’ integrative critical thinking skills, controlling for critical thinking factor, 4) to study the effects of the program for the development of the integrative critical thinking skills on students’ initial score and slope of the integrative critical thinking skills. The research design was a quasi-experimental design using the sample consisting of 188 grade 5 students. The research instruments were the program for the development of the integrative critical thinking skills consisting of 1) learning organizational plan and 2) the student’s integrative critical thinking ability test which was administered to collect longitudinal data from 4 measurements. Data were analyzed using repeated measured analysis of variance and latent growth curve model. The research results indicated as follows: 1) the measurement model of the integrative critical thinking skills consisted of 5 indicators in consecutive factor loadings from reflective thinking, analytical thinking, decision making, creative thinking and dialectic thinking respectively; the developed test measuring student’s integrative critical thinking ability had content validity assessing by 6 experts, difficulty indices ranging from 0.32-0.78, discrimination indices ranging from 0.27-0.76, satisfactory reliability estimating by Cronbach’s alpha coefficient of 0.735, and had construct validity assessing by confirmatory factor analysis. 2) The developed program for the development of the integrative critical thinking skills based on 5 steps of development based on the crtical thinking process model had basic quality as assessed by 3 experts. 3) The students’ group using/not using the developed program and Type of school also had significant effects on slopes of the integrative critical thinking scores at 0.001 and 0.05. 4) The causal model of the latent growth curve model in measuring the students’ integrative critical thinking skills was fit to empirical data with Goodness of fit statistics : chi-square = 25.128, p = 0.0676 df = 16 ; RMRSEA = 0.055 ; GFI = 0.968. The program for the development of the integrative critical thinking skills has positive, direct effects on students’ initial scores and the slope of the integrative critical thinking skills at gamma = 0.986 and 0.421, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37549
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1121
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1121
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kaittiyot_ku.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.