Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38343
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ : การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา
Other Titles: A research synthesis in integrated instruction : meta-analysis and content analysis
Authors: ทัศวรรณ คำทองสุข
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siripaarn.S@Chula.ac.th
Subjects: การสอน
การศึกษา -- วิจัย
การวิเคราะห์อภิมาน
การวิเคราะห์เนื้อหา
Teaching
Education -- Research
Meta-analysis
Content analysis ‪(Communication)‬
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะและปริมาณงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 2) วิเคราะห์ลักษณะและความแตกต่างของขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 3) วิเคราะหเนื้อหาของผลงานวิจัยทางด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และ 4) สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ จำนวน 49 เล่ม และมีค่าขนาดอิทธิพลศึกษาจำนวน 60 ค่า และมีตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษารวม 29 ตัวแปร เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจำนวน 49 เรื่อง ประกอบด้วย งานวิจัยเชิงปริมาณ 29 เรื่อง งานวิจัยผสมผสาน 3 เรื่อง งานวิจัยคุณภาพ 17 เรื่อง งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงทดลองและศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ค่าขนาดอิทธิพลในระดับรายงานการวิจัยมีจำนวน 32 ค่า และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.504 ส่วนในระดับชุดการทดสอบสมมุติฐานมีค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 60 ค่า และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.914 3. ค่าเฉลี่ยเของขนาดอิทธิพลมีความแตกต่างกันตามตัวแปรต่อไปนี้คือ ตัวแปรประเภทของสื่อ/อุปกรณืการเรียนการสอน ประเภทตัวแปรตาม แบบแผนการวิจัย จำนวนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเครื่องมือวักตัวแปรอิสระ 4. ผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลงานวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่มีการวิจัยมี 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอดแทกชีวิตจริงเข้ากับเนื้อหาวิชาที่เรียน และ (2) รูปแบบการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น 5. ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้พบว่า มีการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 2 รูปแบบ คือการบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับงานวิจัยในด้านการบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการศึกษาครบทุกช่วงชั้น โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ถูกนำมาสอดแทรก กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมากที่สุด ส่วนงานวิจัยด้านการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 และ ช่วงชั้นที่ 3 โดยลักษณะ ของการบูรณาการมี 2 แบบคือ แบบคู่ขนานหรือบูรณาการระหว่าง 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนอีก คือ แบบพหุวิทยาการ ซึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ใช้เป็นแกนกลางมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศานาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
Other Abstract: The purposes of thesis research were to (1) analyze characteristics and quantity of the research in integrated instruction (2) analyze characteristics and differences in effect sizes of the integrated instruction in accordance with the research characteristics variables (3) analyze content of the intergrated instruction research 4) synthesize the body of knowledge resulting form integrated instruction research. The 49 thesis and dissitions were subjects of this study. There were 60 values of effect size and 29 variables pertaining to describe research characteristics. The research instruments were research quality evaluative forms and research characteristics coding coding forms. Desariptive statistics, analysis of variance, and content analysis were used in the data analysis. The results of research synthesis were : 2. The 49 studies composed of 29 quatitative studies, 3 mixed methods studies and 17 quatitative studies. Most of them were experiment research and studying learning achivement. 2. The mean of the effect size measuring from 32 reports was 1.504. And, the mean of the effect size measuring from 60 hypothesis was 1.914. 3. he mean of the effect size were different according to type of materials, research designs, nimber of research instruments, and independent variables' instruments. 4. the content analysis from gualitative results revealed that two models of integrated instruction were studied. Firsty, an integrated model was used with infusion of real life in to the content. Secondly, a multidisciplinary integrated models was used by linking with local wisdom amd local resource. 5. The synthesis revealed a body of knoeledge that the research studied two models of integrated instruction: Internal integrated model and multidisciplinary integrated model. The frist model was studies in every school levels and the Thai subject was infused in the model. The second model was studies in the first, the second and the third level of education. Two forms of integration were studied in the second model : a pararell form and a mutidisciplinary form. There were four content areas which were used as the core content. They were Sciences, Arts, Social Study and Health and Physical Education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38343
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1067
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1067
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tussavun_ko.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.