Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3935
Title: การผลิตแซนแทนกัมจากกากมันสำปะหลังโดย Xanthomonas campestris TISTR 840
Other Titles: Production of xanthan gum from casava pulp by Xanthomonas campestris TISTR 840
Authors: ธันยาภรณ์ นาวินวรรณ
Advisors: สุเมธ ตันตระเธียร
ชิดพงษ์ ประดิษฐสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sumate.T@Chula.ac.th
chidph@sc.chula.ac.th
Subjects: มันสำปะหลัง
กากมันสำปะหลัง
แซนแทนกัม
Issue Date: 2542
Abstract: กากมันสำปะหลังถูกนำมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับเลี้ยงเชื้อ Xanthomonas campestris TISTR 840 เพื่อใช้ในการผลิตแซนแทนกัม โดยย่อยกากมันสำปะหลังให้กลายเป็นสารละลายน้ำตาลก่อน ด้วยกรดหรือเอนไซม์ จากการศึกษาภาวะในการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดซัลฟิวริก ที่แปรความเข้มข้นอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการย่อยพบว่า การย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 โมลาร์ร่วมกับการให้ความร้อน 120 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 นาทีให้ประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดเท่ากับ 93.60 เปอร์เซ็นต์ โดยสารละลายน้ำตาลที่ได้นี้มีความเหมาะสมในการเป็นแหล่งคาร์บอน ต่ำกว่าสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์ผสม ของแอลฟาอะไมเลส กลูโคอะไมเลส และเซลลูเลส และเมื่อลดปริมาณไนโตรเจน กรดซิตริก และแมกนีเซียมในอาหารเลี้ยงเชื้อจากสูตรของ Roseiro ลงส่งผลให้ดัชนีความหนืดของน้ำหมักเพิ่มขึ้น โดยการผลิตแซนแทนกัมแบบขั้นตอนเดียวซึ่งเลี้ยงเชื้อ ในสูตรอาหารปรับปรุงที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต 1 กรัม/ลิตร กรดซิตริก 2 กรัม/ลิตร และแมกนีเซียมซัลเฟต 0.10 กรัม/ลิตร ซึ่งใช้สารละลายน้ำตาลจากการย่อยกากมันสำปะหลังเป็นแหล่งคาร์บอน มีความเหมาะสมต่อการผลิตแซนแทนกัมสูงสุดโดยให้ค่าดัชนีความหนืด ของน้ำหมักที่ 144 ชั่วโมงของการผลิตเท่ากับ 16.99 Pa s 0.69 ซึ่งให้ค่าดัชนีความหนืดมากกว่าการเลี้ยงเชื้อในสูตรอาหารของ Roseiro ที่มีสารละลายน้ำตาลกลูโคสจากการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์ เป็นแหล่งคาร์บอนและให้ค่าน้อยกว่าการเลี้ยงเชื้อในสูตรอาหารของ Roseiro ที่มีสารละลายน้ำตาลกลูโคสบริสุทธิ์เป็นแหล่งคาร์บอน และเมื่อศึกษาภาวะการตกตะกอนแซนแทนกัมพบว่าการใช้เอธานอลปริมาตร 2 เท่าของปริมาตรสารละลายแซนแทนกัมร่วมกับเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ 3 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนัก/ปริมาตร) ให้ประสิทธิภาพการตกตะกอนสูงที่สุดเท่ากับ 79.17 เปอร์เซ็นต์ โดยแซนแทนกัมที่ผลิตได้จากสูตรอาหารปรับปรุงมีสมบัติ ในการคงตัวของความหนืดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ใกล้เคียงกับแซนแทนกัม ซึ่งผลิตจากการเลี้ยงเชื้อในสูตรอาหารของ Roseiro และแซนแทนกัมเกรดอาหาร
Other Abstract: Cassava pulp, used as a carbon source for Xanthomonas campestris TISTR 840 in xanthan gum production, was hydrolysed into sugar solution by acid and enzyme. Variation of acid concentration, temperature and time fro hydrolysation with sulfuric acid, found that the the 1 M sulfuric acid at 120 ํC for 15 minutes gave the highest conversion of pulp to reducing sugar at 93.60%. However, the acid hydrolysate was less appropriate for using as a carbon source than that from mixed enzyme hydrolysate. The modification of production medium found that decreasing of nitrogen, citric acid and magnesium content gave the higher viscosity index of culture broth. The best condition for xanthan production with modified media was ammonium sulfate 1 g/l, citric acid 2 g/l, magnesium sulfate 0.1 g/l and hydrolysate as a carbon source. The viscosity index of culture broth at 144 h. was 16.99 Pa s 0.69 which higher than that from Roseiro media that substituted enzymatic hydrolysate for glucolse. Eventhough this viscosity index was lower than culture media of Roseiro media with glucose as carbon source. The study of precipitation conditions showed that using 2 volume of ethanol and 3% (w/v) potassium chloride gave the highest efficiency of precipitation, was 79.17%. The precipitant from the culture medium was precipitated and checking for properties against commercial xanthan gum. The precipitant showed the same chemical and physical character as commercial xanthan, except less viscous at the same concentration
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3935
ISBN: 9743339876
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanyaporn.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.