Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3997
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorชัชพล บุญเติม, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-07T03:25:57Z-
dc.date.available2007-09-07T03:25:57Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741303645-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3997-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดดำเนินการ ค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน ผู้วิจัยพัฒนาเกณฑ์ตามรูปแบบการประเมินโครงการแบบ ซิปป์ ของ แดเนียล แอล สตัฟเฟลบีม แบ่งการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และการประเมินผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดย กำหนดว่าข้อความที่เป็นเกณฑ์ได้ ต้องมีค่ามัธยฐานเท่ากับหรือมากกว่า 3.50 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เท่ากับหรือน้อยกว่า 1.50 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรอบสุดท้าย ทำให้ได้ข้อความที่เป็นเกณฑ์จำนวน 166 ข้อ จากจำนวน 189 ข้อเป็นเกณฑ์การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม 24 ข้อ ด้านปัจจัยเบื้องต้น 68 ข้อ ด้านกระบวนการ 18 ข้อ และการประเมินด้านผลผลิต 56 ข้อ ดังนี้ 1.1 เกณฑ์การประเมินสภาวะแวดล้อม ครบอคลุมการประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การสำรวจความต้องการจำเป็นในการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ ลักษณะหน่วยงานที่จัดค่ายวิทยศาสตร์ฯ และการวางแผนปฏิบัติงานในค่ายวิทยาศาสตร์ 1.2 เกณฑ์การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ครอบคลุมการประเมินหลักสูตรและเนื้อหา ความรู้และกิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์ฯ คุณสมบัติของผู้อำนวยการค่ายวิทยาศาสตร์ฯ คุณสมบัติของวิทยากร คุณสมบัติของพี่เลี้ยง อัตราส่วนระหว่างพี่เลี้ยงกับผู้เข้าค่าย คุณสมบัติและจำนวนของผู้เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การเลือกและจัดเตรียมสถานที่ตั้งค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การประชาสัมพันธ์โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ฯ และสื่อสิ่งพิมพ์ที่จำเป็นสำหรับค่ายวิทยาศาสตร์ฯ 1.3 เกณฑ์การประเมินการดำเนินการ ครอบคลุมการประเมินการจัดดำเนินการค่ายวิทยาศาสตร์ฯ บทบาทของผู้อำนวยการค่ายวิทยาศาสตร์ฯ บทบาทของวิทยากรและบทบาทของเจ้าหน้าที่ และบทบาทของพี่เลี้ยงค่ายวิทยาศาสตร์ฯ 1.4 เกณฑ์การประเมินผลผลิต ครอบคลุมระยะเวลาในการประเมินผลผู้เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ เครื่องมือประเมินผลสำเร็จของค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การประเมินวิทยากร เจ้าหน้าที่ พี่เลี้ยง และผู้เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การประเมินการจัดค่าย การประเมินผลสำเร็จของการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ฯ การรายงานผลการร่วมกิจกรรมและการติดตามผลการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ฯ 2. การรับรองเกณฑ์การประเมินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ฯโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมมากและมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้เป็นเกณฑ์การประเมินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen
dc.description.abstractalternativeTo develop evaluation criteria for science camp for upper secondary school students and to evaluate the criteria on its appropriateness and usabitity. The samples were 30 specialists in managing sciene camp for upper secondary school students. The Delphi technique was designed to generate group consensus. The researcher developed evaluation criteria based on CIPP Model of D.L Stufflebeam in four categories : context evaluation, input evaluation, process evaluation, and product evaluation. The data were collected by three round of Delphi questionnaires and were analyzed be median and interquartile range. Findings were considered as the criteria when the median value was equal to or more than 3.50 and the interquartile range was equal to or less than 1.50. The findings revealed that: 1. Panelist consensus was obatained for 166 of the original 189 Delphi items : 24 items for context evaluation, 63 items for input evaluation, 18 iterms for process evaluation and 56 items for product evaluation. 1.1 Context evaluation criteria included : science camp needs analysis, characteristis of science camp organizations, and implementation plan for science camp. 1.2 Input evaluation criteria included : curriculum and content, knowledge and activities, characteristics of science camp director, resource persons, mentor and students; ratio between mentor and students; selection and preparation for science camp location; schedule and duration for science camp; printed materials used in sceince camp. 1.3 Process evaluation criteria included : amanging process; roles of science camp director, resource persons, personnel and mentors. 1.4 Product evaluation criteria included : schedule for evaluating students; evaluation instruments; evaluation of resource person, personnel mentor and students; evaluation of science camp success; report on science camp participation and follow-up study. 2. The developed criteria was evaluated by five experts. All of 166 items were approved as appropriate and usable criteria for science camp for upper secondary school students.en
dc.format.extent3759625 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.417-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกอบรมen
dc.subjectค่ายวิทยาศาสตร์en
dc.subjectเทคนิคเดลฟายen
dc.titleการพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen
dc.title.alternativeThe development of evaluation criteria for science camp for upper secondary school studentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.417-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchaphon.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.