Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.authorเบญจมาศ เลปวิทย์, 1969--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-07T11:18:46Z-
dc.date.available2007-09-07T11:18:46Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741312466-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4017-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจพัฒนาเป็นตัวชี้วัดสำหรับคัดกรองผู้ป่วยนอกที่อาจเกิดปัญหาการใช้ยา ทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกทั่วไปของโรงพยาบาลราชวิถีจำนวน 261 รายระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยการคัดเลือกแบบสุ่ม และรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและใบสั่งยา โดยปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษาทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ การได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไปในคราวเดียว การได้รับยาตั้งแต่ 12 มื้อขึ้นไปต่อวัน การปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ยาตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไปในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา การมีภาวะของโรคเกินกว่า 3 โรคในคราวเดียว การได้รับยาที่มีดัชนีชี้วัดการรักษาแคบ การได้รับยาที่มีวิธีการบริหารยายาก และผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนปัญหาการใช้ยาที่ศึกษาทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ การได้รับยาที่ไม่สมควรได้รับ ขนาดยาน้อยกว่าขนาดที่ใช้ในการรักษา ขนาดยาสูงเกินกว่าที่ใช้ในการรักษา การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา การได้รับยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา และการไม่ได้รับยาตามสั่ง ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ chi-square พบว่า การที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษาอย่างน้อย 1 ชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000) โดยผู้ป่วยดังกล่าวมีโอกาสเกิดปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงถึง 5.257 เท่า (OR, 95% Cl = 2.928-9.439) และเมื่อผู้ป่วยมีจำนวนปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2 ชนิด 3 ชนิด และ 4 ชนิด จะมีโอกาสเกิดปัญหาการใช้ยาเพิ่มขึ้นเป็น 6.355 เท่า 6.522 เท่า และ 20.652 เท่า ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานบริการเภสัชกรรมสามารถนำปัจจัยเสี่ยงที่ทำการศึกษามาพัฒนาเป็นตัวชี้วัดในการคัดกรองผู้ป่วยนอกที่คาดว่าจะมีปัญหาการใช้ยาได้ โดยพิจารณาจากโอกาสเกิดปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้บริการติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยตามลำดับความสำคัญต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to identify potential risk factors which might serve as indicators for drug therapy problems. Two hundreds and sixty one out-patients at Rajavithi hospital were randomly selected between October 1, 2000 and January 31, 2001. Data was collected by interviewing the patients. Their medication profiles and prescriptions were reviewed. Seven risk factors "five or more medications", "twelve or more doses per day", "regimen changed four or more times in the past year", "more than three concurrent disease states", "presence of medication with narrow therapeutic index", "presence of medication with difficult administration", and "age sixty and over" were studied as well as six drug therapy problems "wrong drug", "too little of the correct drug", "the dosage is too high", "adverse drug reactions", "drug interactions", and "not received the prescribed drug". The result from chi-square analysis showed a statistically significant association between patients who had at least one of risk factors and drug therapy problems (p = 0.000). These patients were likely to experience drug therapy problems as compared to patients who had none of the risk factors (OR = 5.257, 95% Cl = 2.928-9.439). Moreover, the presence of two, three, and four risk factors, predisposed to an occurrence of drug therapy problems to 6.355, 6.522, and 20.652 times than that found in individual with no risk factor. The result of this study confirmed that these risk factors might be used as indicators to screen out-patients for the chance of having drug therapy problems.en
dc.format.extent1032494 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการใช้ยาen
dc.subjectเภสัชกรรมโรงพยาบาลen
dc.subjectการใช้ยา -- ปัจจัยเสี่ยงen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยนอกen
dc.title.alternativeAssociations of risk with drug therapy problems in out-patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAphirudee.H@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjamas.pdf838.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.