Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/409
Title: การพัฒนาวิธีการประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมครู ตามแนวคิดการประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน
Other Titles: A development of the evaluation method to assess the success of a teacher training project based on theory-based evaluation approach
Authors: วิยดา เหล่มตระกูล
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@chula.ac.th
Subjects: ครู--การฝึกอบรม
โครงการ--การประเมิน
การประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมครูตามแนวคิดการประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการ คือ เพื่อสร้างทฤษฎีโปรแกรม พัฒนาวิธีการประเมิน ประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมครูโดยวิธีการที่พัฒนาขึ้น และศึกษาผลของการใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดการประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ วิทยากรในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับจังหวัดของจังหวัดลำปาง จำนวน 10 คน ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 3 คน วิทยากร จำนวน 71 คน และผู้เข้าอบรมในโครงการฝึกอบรมบุคลากรในโรงเรียนเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในอำเภอเมือง เกาะคาและแม่เมาะ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2545 จำนวน 531 คน อาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ใช้ผลการประเมิน จำนวน 68 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถาม การทดสอบ การศึกษาเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติภาคบรรยาย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์อิทธิพล(path analysis) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ทฤษฎีโปรแกรมของโครงการฝึกอบรมบุคลากรในโรงเรียนเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย แนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาที่บุคลากรในโรงเรียนไม่สามารถจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้ การพัฒนากิจกรรมของโครงการฝึกอบรมเพื่อลดหรือขจัดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา การนำกิจกรรมของโครงการไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายของการอบรม ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างกิจกรรมของโครงการและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่อโครงการฝึกอบรม 2. วิธีการประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมบุคลากรในโรงเรียนเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การสร้างทฤษฎีโปรแกรม ประกอบด้วย การระบุแหล่งสารสนเทศ การสกัดสารสนเทศและการสร้างทฤษฎีโปรแกรม (2) การออกแบบโครงการฝึกอบรมครู ประกอบด้วย การระบุปัญหาและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม ขั้นตอนในการพัฒนาโครงการฝึกอบรม ขั้นตอนการนำโครงการฝึกอบรมไปสู่การปฏิบัติและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (3) การออกแบบการประเมินโครงการฝึกอบรมครู ประกอบด้วย การประเมินสาเหตุของปัญหาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การประเมินการพัฒนากิจกรรมของโครงการฝึกอบรมครู การประเมินการนำโครงการฝึกอบรมครูไปปฏิบัติ การประเมินการบรรลุผลของโครงการฝึกอบรมครู และการประเมินกลไกเชิงสาเหตุของความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมครู 3. ผลการประเมินความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมครูพบว่า ทฤษฎีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการอธิบายความสำเร็จของโครงการได้ กล่างคือ ผลการประเมินพัฒนากิจกรรมของโครงการและดำเนินการฝึกอบรมแสดงให้เห็นว่าโครงการสามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จ โดยหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการจัดการฝึกอบรมในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยผลการเรียนรู้หลังฝึกอบรมในด้านความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ แรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อกลับไปที่โรงเรียนผู้บริหารและครูสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้ แต่ผลการประเมินผลกระทบของโครงการแสดงให้เห็นว่าบุคลากรในโรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาให้เสร็จสมบูรณ์ได้ครบทั้ง 6 ภารกิจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ทฤษฎีโปรแกรมบางส่วนไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่คาดหวังไว้ โดยเฉพาะในส่วนความรู้ความเข้าใจของวิทยากร และผลการเรียนรู้หลังอบรมของผู้บริหารและครูที่ยังอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น 4. การศึกษาผลการใช้วิธีการประเมินตามแนวคิดการประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน พบว่าวิธีการประเมินที่พัฒนาขึ้นมีคุณลักษณะ ดังนี้ 1) มีประโยชน์ให้ข้อมูลที่จำเป็นและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ผลการประเมิน 2) มีความเป็นไปได้สามารถทำไปปฏิบัติได้จริง ประหยัดและคุ้มค่า 3) มีความเหมาะสม ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 4) ผลการประเมินมีความถูกต้อง ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และเพียงพอที่จะแสดงถึงคุณค่าของโครงการ
Other Abstract: The major purpose of this research was to develop the evaluation method to assess the success of a teacher training project based on theory-based evaluation approach and 4 minor purposes were to construct program theory, develop the evaluation method, assess the success of teacher training project by developed method, and study the implementation of the evaluation method. The key informants were consisted of 10 provincial trainers of school curriculum development in Lampang province, 3 project managers, 71 district trainers, 531 trainees from the project of teacher training in school curriculum development of Amphur Muang, Kohkar, and Maemoh, 7 university professors, and 68 evaluation stakeholders. Data were collected by questionnaire survey, testing, documenting, observation, and interview. Descriptive statistics, comparison of means, and path analysis were employed for quantitative data, whereas content analysis was employed for qualitative data. The research findings were summarized as follow. 1. Program theory of the project of teacher training in school curriculum development was consisted of 6 components: the theoretical concept of causes of school curriculum development problem; development steps of training project activities, implementation of training project activities; expected outcomes; causal relationship between the project activities and its intended effects; and the exogenous factors affecting the training project success. 2. The method to evaluate the success of the project of teacher training in school curriculum development according to the developed program theory was consisted of 3 phases: 1) the program theory formulation which consisted of 3 steps: the information source identification; the information acquisition; and the theory construction 2) the training project design which consisted of 4 steps: the problem definition; the project activities development; the project implementation steps development; and the intended effects specification 3) the evaluation design which consisted of 5 components: the evaluation of causes of school curriculum development problem; project activities development; project activities implementation; project effectiveness; and the causal relationship of the project success. 3. The evaluation results indicated that the developed program theory was a plausible explanation of training project success. The project activities development and implementation evaluation indicated that the training project had been implemented successfully. The result from project evaluation showed that trainees' reaction was at the high level and the post-training mean score was higher than that of pre-training in knowledge, attitude, motivation, and self-efficacy of school curriculum development at the .01 level of significance. About outcomes, it was obvious that school administrators and trainees participated in school curriculum development process. The result from the project impact evaluation was disappointing. It was found that the trainees could not completely perform 6 missions of school curriculum management which were not accompanied with the expected impacts as indicated in the program theory. The reason for project ineffectiveness may result from the part of the program theory that was not operating as expected. Specifically, the trainers' knowledge and the trainees' post-training learning results were at moderate level. 4. The study of the implementation of evaluation method showed that this method had 4 basic attributes: 1) utility: the evaluation method served the information needs of user 2) feasibility: the evaluation method was practical, prudent, and efficient 3) propriety: the evaluation method was conducted legally, ethically, and with due regard for the welfare of those involved in the evaluation, and 4) accuracy: the evaluation method provided adequate information about the features that determine worth of merit of the project.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/409
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1316
ISBN: 9741742991
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1316
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiyada.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.