Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41337
Title: Isolation and characterization of organic-solvent tolerant bacteria
Other Titles: การคัดแยกและลักษณะสมบัติของแบคทีเรียที่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์
Authors: Ajiraporn Kongpol
Advisors: Alisa Vangnai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Screening and isolation of 19 samples collected from Thailand contaminated soil yield 130 bacteria isolates. Among them isolates A102, A103 and B202 isolated from engine oil contaminated soil at Burirum province and P2 and P3 isolated from fuel oil in Bangkok province which were subsequently classified in the genus Enterobacter and Burkholderia are the best biosurfactant producer. Thus, two isolates grew in mineral salt medium containing glucose as a carbon source since partially purified biosurfactants were extracted from these isolates. The chemical structures elucidated by FTIR and NMR analysis of partially purified products upon cultivation in broth were composed of O-H stretch, ester bond and hydrocarbon chain. Results from MS indicated that the compound possesses mass estimated to be 550 m/z for both isolates. Analysis of the glycone fraction by TLC revealed one major component with Rf value 0.23 ± 0.036 and 0.23 ± 0.045, respectively. These were found near that of glucose standard. The biosurfactant of Enterobacter sp. and Burkholderia cepacia could lower surface tension down to 26.0 ± 0.52 and 25.0 ± 0.52 mN.m-1 with CMC values of 3.3 and 1,995 mg.l-1. They showed a maximum emulsion index (E24) of 88.88 ± 0.77% and 88.71 ± 0.58%, respectively for diesel oil with emulsion stability for 5 months at 37˚C. The products were stable at 75˚C for 5 hours. Moreover, the best biosurfactant stability of Enterobacter sp. and Burkholderia cepacia occurred at pH 7. Optimum condition for cultivation of Enterobacter sp. and Burkholderia cepacia to give high yield of biosurfactant was obtained by the use of 44.4 mM glucose as carbon source and 75.0 mM NaNO3 as nitrogen source. Additionally, 2% vv-1 olive oil and sunflower oil increased the production of biosurfactant for Burkholderia cepacia but not for Enterobacter sp. Furthermore, the effects of temperature and concentration of salt were studied in these isolates. The results showed that optimum production of biosurfactant occurred at 37˚C and salt was inhibitory to biosurfactant production.
Other Abstract: การคัดกรองแบคทีเรียในดินจากพื้นที่ปนเปื้อนของประเทศไทยที่เก็บจากแหล่งต่างๆ 19 ตัวอย่างได้ 130 แบคทีเรียพบว่าแบคทีเรีย A102, A103 และ B202 โดยแยกได้จากดินปนเปื้อนน้ำมันเครื่อง จ.บุรีรัมย์ P2 และ P3 แยกได้จากดินที่ปนเปื้อนน้ำมันเชื้อเพลิง จ.กรุงเทพ สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ โดยแบคทีเรียP2 และ P3 ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้ดีที่สุด เมื่อจำแนกเชื้อพบว่าอยู่ในสกุล Enterobacter และ Burkholderia cepacia ดังนั้น นำเชื้อมาเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอน และสกัดสารลดแรงตึงผิวที่ได้ให้บริสุทธิ์บางส่วน เพื่อตรวจสอบชนิดสารลดแรงตึงผิว ด้วย FTIR และ NMR พบมีหมู่ฟังช์ชัน -OH, ester และสายคาร์บอนไฮโดรเจนสายยาวเป็นส่วนประกอบเหมือนกัน ผลการวิเคราะห็โดย MS และ ตรวจสอบส่วนประกอบของน้ำตาลด้วย TLC พบว่า สารนี้มีค่ามวลต่อประจุใกล้เคียงกับ 550 m/z เท่ากัน ซึ่งอยู่ระหว่างค่ามวลโมเลกุลของไกลโคลิปิดที่ผลิตจากแบคทีเรียสายพันธุ์อื่น และมีค่า Rf เท่ากับ 0.23 ± 0.036 และ 0.23 ± 0.045 ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับน้ำตาลกลูโคสมาตรฐาน เมื่อวิเคราะห์สมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ได้จาก Enterobacter sp. และ Burkholderia cepacia พบว่า ค่าจุดวิกฤตของการเกิดไมเซลล์ (CMC) เท่ากับ 3.3 และ 1,995 มิลลิกรัมต่อลิตร และ ค่าแรงตึงผิวต่ำสุด 26 ± 0.52 และ 25.0 ± 0.52 mN.m-1 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า สามารถก่ออิมัลชันกับน้ำมันดีเซลโดยมีความเสถียรต่ออุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส โดยค่าเท่ากับ 88.88 ± 0.77% และ 88.71 ± 0.58% ตามลำดับ เป็นเวลา 5 เดือน มีความเสถียรต่ออุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ผลของ pH ต่อการก่ออิมัลชัน พบว่า เชื้อทั้ง 2 ชนิด เสถียรที่ pH 7 จากการศึกษาแหล่งคาร์บอนหรือและไนโตรเจนที่เหมาะสมต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ สำหรับเชื้อทั้ง 2 ชนิด คือที่กลูโคสความเข้มข้นที่ 44.4 มิลลิโมลาร์และโซเดียมไนเตรตความเข้มข้นที่ 75.0 มิลลิโมลาร์ นอกจากนี้เมื่อเติมน้ำมันเพื่อตรวจสอบการผลิต พบว่า 2% vv-1 น้ำมันมะกอกและน้ำมันดอกทานตะวัน ช่วยปรับปรุงการผลิตสำหรับเชื้อ Burkholderia cepacia แต่ น้ำมันทุกชนิดที่นำมาตรวจสอบ พบว่าไม่มีผลต่อเชื้อ Enterobacter sp. ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบผลของอุณหภูมิ, ความเข้มข้นเกลือต่อการผลิต พบว่าสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในเชื้อทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถเจริญที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส แต่ยังคงผลิตสารลดแรงตึงผิวเมื่ออยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์เข้มข้น 171 มิลลิโมลาร์และ pH 9.5
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Biotechnology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41337
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ajiraporn_ko_front.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_ch2.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_ch3.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_ch4.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_ch5.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_ch6.pdf821.99 kBAdobe PDFView/Open
Ajiraporn_ko_back.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.