Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41462
Title: ข้อสัญญาและแนวปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม : ศึกษากรณีสัญญาและแนวปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อเงินด่วนโดยเอกชนซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงินกับผู้ขอสินเชื่อ
Other Titles: Unfair terms of contract and practices : study on contract and practices between private non-financial institute and their borrowers
Authors: ชรยา จิตต์ธรรมวงศ์
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: สินเชื่อ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายธนาคาร
สถาบันการเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ดอกเบี้ย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Credit -- Law and legislation
Banking law
Financial institutions -- Law and legislation
Interest -- Law and legislation
Consumer protection -- Law and legislation
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มุ่งเฉพาะการให้สินเชื่อเงินด่วนโดยเอกชนซึ่งมิใช่สถาบันการเงินเท่านั้น โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำกับควบคุม ได้แก่ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 นอกจากนี้ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แม้จะมีกฎหมายใช้กำกับควบคุมการให้สินเชื่อเงินด่วนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการพยายามอาศัย ข้อสัญญาและแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 โดยการเรียกเก็บผลประโยชน์อื่นในรูปของค่าธรรมเนียม หรือโดยอาศัยวิธีการคิดคำนวณดอกเบี้ย อีกทั้งยังมีการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมใดๆ ได้เพียงฝ่ายเดียว ตลอดจนให้อำนาจผู้ประกอบธุรกิจในการเข้าไปภายในสถานที่ครอบครองของผู้ขอสินเชื่อเพื่อยึดทรัพย์สินของผู้ขอสินเชื่อออกขายเพื่อชำระหนี้ได้ด้วยตนเอง ควรแก้ไขประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯ เพื่อลดปัญหาการหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 โดยการให้คำนิยามคำว่า “ค่าธรรมเนียม” “ค่าบริการ" และ “ค่าปรับ” เพื่อความชัดเจน และควรแยกบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าบริการและค่าปรับออกจากกันเป็นคนละข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯ ในส่วนของผู้ขอสินเชื่อนั้น ควรให้ความรู้ถึงผลคุ้มครองตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ว่ามีผลที่จะช่วยคุ้มครองผู้ขอสินเชื่อมิให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงได้อย่างไร ในขณะเดียวกันหากมีการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาล ศาลควรยกกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราขึ้นพิจารณาและพิพากษาให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
Other Abstract: This study emphasize specifically on quick loan provide by private non-financial institute. The laws relating to regulatory control of loan are 1) ‘Declaration of Bank of Thailand on Providing Regulations, Procedures, and Conditions in operating loan business under control for private non-financial institute’, 2) ‘Declaration of the Ministry of Finance on Personal Loan under regulatory control’ issued under the Declaration of Revolutionary Council No.58’ 3) ‘Civil and Commercial code in part concerning interest and fine’, 4) ‘Prohibition of Demanding over Rate of Interest Act BE 2475’, 5)’Unfair Contract term Act BE 2540’ and 6)’Consumer Protection Act BE2522’. Even though the laws which control quick loan are exist, there are still attempts to use contract terms and practices to avoid ‘Prohibition of Demanding over Rate of Interest Act BE 2475’ by collecting other benefits in a way of fees, charging interest, and, moreover, charging compound interest. In addition, an operator is entitled to change the interest rate and fees, as well as entering the borrower’s place to seize their properties to settle for their debt. Declaration of the Bank of Thailand should be revised to reduce the problem of avoiding ‘Prohibition of Exceeding Demand of Interest Act BE 2475’. The definition of ‘Fees’, ‘Service charge’ and ‘Fine’ should be prescribed and the provisions concerning interest and fees, service charge and fine should be separated to give the right understanding as intend by the Bank of Thailand. More understanding of the protection of ‘Prohibition of Demanding over Rate of Interest Act BE 2475’ should be provided to the borrower on how they can be protected from high interest charge. At the same time, if there is a court lawsuit, the court should take such act into consideration and decide that the interest is entirely void as it is about public order or good morals.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41462
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.756
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.756
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charaya_ch_front.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Charaya_ch_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Charaya_ch_ch2.pdf12.9 MBAdobe PDFView/Open
Charaya_ch_ch3.pdf8.45 MBAdobe PDFView/Open
Charaya_ch_ch4.pdf12.85 MBAdobe PDFView/Open
Charaya_ch_ch5.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Charaya_ch_back.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.