Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41521
Title: ซอเมืองแพร่ คระสงคราม พยอม
Other Titles: Sormuangphare of songkram-payom group
Authors: อุทัย เวียงนาค
Advisors: ขำคม พรประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องซอเมืองแพร่ คณะครูสงคราม-พะยอม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของซอคณะครูสงคราม-พะยอม บทบาทหน้าที่การสืบทอด องค์ประกอบต่าง ๆ ของคณะครูซอสงคราม-พะยอม ตั้งแต่เครื่องดนตรี ทำนองซอ ระเบียบแบบแผน การขับซอ การสืบทอดทำนองซอ นักดนตรี ช่างฟ้อนแง้น ตลอดจนการเลือกทำนองวอมาบรรเลงประกอบการขับซอการเก็บข้อมูลได้ศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกตการแสดงจริงและสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ซอเมืองแพร่ จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า ซอคณะครูสงคราม-พยอม ให้รับต้นแบบซอปี่มาจากเชียงใหม่และ ซอ ซึง สะล้อ มาจากจังหวัดน่าน แต่เอกลักษณ์ของซอคณะครูสงคราม-พะยอม จะใช้ปี่จุมสามบรรเลงประกอบการขับซอและใช้ทำนองเพลง 5 ทำนอง คือ 1. ทำนองตั้งคาด 2. ทำนองหลำกล๋าง 3. จำนองละม้าย 4. ทำนอง กล๋ายเชียงแสน 5. ทำนองเงี้ยว ซึ่งทำนองเหล่านี้ จะมีทำนองช้า เรียบง่าย ซึ่งแตกต่างจากเชียงใหม่ คือ เร็วกว่าจังหวัดแพร่ เนื้อร้อง บทร้องส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของงานบวชพระ และ ขึ้นบ้านใหม่ ภาษาใช้สำเนียงเมืองแพร่ซึ่งมีลักษณะที่ชัดเจนคือห้วนและสั้นนอกจากนี้ คณะครูซอสงคราม-พยอม ยังเข้าร่วมกับชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมืองจังหวัดแพร่ โดยมีอาจารย์อรุณ ทิพย์วงศ์ เป็นประธานชมรม ซึ่งคณะซอครูสงคราม-พะยอม ได้เป็นวิทยากรทางด้านการขับซอเมืองแพร่ เพื่อต้องการถ่ายทอดและ สืบทอด ซอเมืองแพร่ ให้กับเยาวชน และผู้สนใจทุกวันอาทิตย์ ณ ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมืองจังหวัดแพร่ ซอเมืองแพร่คณะครูสงคราม-พยอม ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในคณะซอของจังหวัดแพร่ นอกจากให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน บทซอยังแฝงไปด้วยคติเตือนใจ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภาษาเมืองแพร่เป็นการสืบสาน ส่งเสริมซอเมืองแพร่ให้ดำรงอยู่คู่เมืองแพร่ตลอดไป
Other Abstract: This research on Sor performing troupe in Phrae Province aims to study the origin, roles, dissemination, and components of the Sogkram-Payom Sor Troupe. The study covers various ascects of the performance: musical instruments, melody, performance pattern, singing tradition, the selection of corresponding melody and lyrics. The data found in this study were obtained from documentary and fieldwork research which included observations of the actual Sor performances and interview with informances who were related to the SorMuang Phrae performance. Observation interview data were then analyzed and summearized. This study found that the Songkram-Payom Sor Troupe has adopted the Sor Pee string instrument from Chaing Mai Proince and other types of string instrumentstrings – Sor, Sueng, Salor – from Phrae Province. However, the Songkram-Payom Sor Troupe had devised it character performing routine of their own, in which the Pee Jum Sarm, type of fiddle, is played in accompaniment to the singing. There are 5 melodies: 1. Tang Dare; 2. Lum Klang; 3 Lamai; 4. Klai Chiangsaen; and 5 Ngeaw. All of whie are slow and simple melodies that are difference from the faster melodies of the Chiang Mai Sor performance. Thie lyrics are the mosely related to the rming rituals. buddist monk ordination and housearming rituals. They are sung in the distinctive Phare ialect which is short and brut. The Sognkram-Payom Sor Troup had linked up with the association for the Preservation of Muang Phrae Folk music whose president is Ajarn aun Thippawong. With the determination to transmit and disseminate the art of Muang Phrae Sor performance, the Songkram-Payom Sor Troupe has been providing instruction and training sessions for youth and interested person every Sundy at the Association for the Preservation of Muang Phrae Folk Music’s office. The Songkram-Payom Sor Troupe is an admirable role model for the other Sor toupes in Phrae Provinc. Apart from providing enterraining as present experiences to the audiences, the lyrics of the song are full of hidden words of wisdom. Such measures are essential to both the preservation and continuity of the language of the or performance of Phax Province.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41521
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1184
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1184
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uthai_wi_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Uthai_wi_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Uthai_wi_ch2.pdf11.27 MBAdobe PDFView/Open
Uthai_wi_ch3.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open
Uthai_wi_ch4.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open
Uthai_wi_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Uthai_wi_back.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.