Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41595
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความสามารถเชิงความคิดของเด็กไทยอายุ 9-12 ปี
Other Titles: Influential factors for thinking capability development of 9 to 12 year-old Thai children
Authors: บุญชลี พงษ์วิชัย
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพ (Qualitative methodology) และจะนำมาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการอ่านผลจากความถี่และร้อยละด้วยวิธีทางสถิติ จากโปรแกรมSPSS โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับทักษะด้านต่างๆที่เอื้อต่อความสามารถเชิงความคิดของเด็ก ศึกษาศักยภาพทางความสามารถเชิงความคิดของเด็ก รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความสามารถเชิงความคิดของเด็กไทยอายุ 9- 12 ปี ที่มาจากประเภทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน คือ โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนในเขตเทศบาล ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1.ระดับความสามารถเชิงความคิดของเด็กไทยอายุ 9 – 12 ปี ที่มาจากประเภทของโรงเรียนที่กำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการเหมือกัน แต่มีรูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรมที่ต่างกัน จะมีระดับความสามารถเชิงความคิดที่ต่างกัน ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ได้คะแนนสูงสุดคือกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนที่เน้นการจัดกิจกรรม ไม่เน้นบรรยายและมีการใช้สื่อทันสมัย ได้คะแนนคะแนนจัดอยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยม และต่ำสุดคือโรงเรียนที่เน้นการสอนแบบบรรยายไม่เน้นกิจกรรมได้ คะแนนจัดอยู่ในเกณฑ์ดี และคะแนนเฉลี่ยรวมของทั้ง 3 โรงเรียนจัดอยู่ในเกณฑ์ ดี 2.ระดับทักษะที่เอื้อต่อความสามารถเชิงความคิดของเด็กไทยอายุ9-12ปีที่มาจากประเภทของ โรงเรียนที่กำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการเหมือกัน แต่มีรูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรมที่ต่างกัน จะมีระดับความสามารถเชิงความคิดที่ไม่แตกต่างกัน คือจัดอยู่ในเกณฑ์ดี 3.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถเชิงความคิดของเด็กไทยอายุ9-12ปี ได้แก่ ครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูเด็กแบบเปิด หรือ แบบประชาธิปไตยจะมีส่วนช่วยส่งเสริมความสามารถเชิงความคิดให้กับเด็กมากกว่าครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบปิด และแบบปล่อย ตลอดจน โรงเรียนที่มีการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน แบบบูรณาการ มีกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิด มีการใช้สื่อที่ทันสมัย ช่วยส่งเสริมความสามารถเชิงความคิดให้กับเด็กมากกว่าโรงเรียนที่เน้นการบรรยาย ไม่เน้นกิจกรรม จะและการเปิดรับสื่อต่างๆอย่างเหมาะสมโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของครอบครัว และครู-อาจารย์ จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสามารถเชิงความคิดของเด็ก ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในอนาคต
Other Abstract: The purpose of this qualitative and quantitative research were to educate the factors that tend to develop intellectual communication competence in 9 to 12 year-old children. In addition, the study explored the specific characteristic of communication competence and thinking skills. Including, the rank of development in ability of communication competence and thinking skills that came from the different type of schools such as; the government school, the private school and the municipal school ,moreover, the factor effected on communication competence in many varities of thinking skills in 9 to 12 year-old children. Results of the research were as follows: The children from same standard of basic education and different in teaching styles and leading activities are different in tlevel of capabilities. The school of children that got highest mark stress on verieties styles of teaching communication, activities and modern mass communication. They got an excellent mark. The school of children that got the lowest mark stress on lecture and ignore activities. They got a good mark. However, the mean of 3 school are in the rank of good This research offer the tendency of developing thinking capability in 9 -12 year-old Thai children youth from different type of school; the interpersonal communication in democratic family, the multi-ways in teaching styles of professor and receiving information from mass communication in their society considerably develope the potential of creative thinking and intelligence communication competence in 9 -12 year-old thai children in the future
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41595
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1191
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1191
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonchalee_ph_front.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Boonchalee_ph_ch1.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Boonchalee_ph_ch2.pdf8.98 MBAdobe PDFView/Open
Boonchalee_ph_ch3.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Boonchalee_ph_ch4.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open
Boonchalee_ph_ch5.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
Boonchalee_ph_back.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.