Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4163
Title: การพัฒนาบรรณาธิกรณ์สำหรับกำหนดพฤติกรรมของวัตถุพร้อมทำงานแบบวิชวล
Other Titles: A development of an editor for visually specifying the behavior of active
Authors: จันทร์พร ลัภยพร
Advisors: พรศิริ หมื่นไชยศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornsiri.Mu@chula.ac.th
Subjects: การโปรแกรมเชิงวัตถุ
ระบบวัตถุพร้อมทำงานแบบโครงสร้าง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรณาธิกรณ์สำหรับกำหนดพฤติกรรมของวัตถุพร้อมทำงานให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดพฤติกรรมของวัตถุพร้อมทำงานผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานแบบกราฟิก และสามารถสร้างโครงร่างของโปรแกรมเป็นชุดคำสั่งภาษาจาวาที่รองรับกลไกของพฤติกรรมตามที่กำหนดได้โดยอัตโนมัติพฤติกรรมของวัตถุพร้อมทำงานที่กำหนดได้จากบรรณาธิกรณ์ได้แก่ กฎการเปลี่ยนแปลง สมการกำหนดค่าและ การกระทำตามเหตุการณ์ บรรณาธิกรณ์ที่พัฒนาขึ้นนี้จะถูกใช้งานเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งแวดล้อมสำหรับการพัฒนาโปรแกรมด้วยแผนภาพเอนทิตีและความสัมพันธ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้แนวความคิดใหม่ในการเชื่อมต่อองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้แผนภาพเอนทิตีและความสัมพันธ์เป็นแนวทางในการเชื่อมต่อองค์ประกอบ โปรแกรมจะสามารถประมวลผลได้ทันทีที่เชื่อมต่อเอนทิตีต่าง ๆ เข้าด้วยกันเนื่องจากเอนทิตีแต่ละตัวมีคุณสมบัติเป็นวัตถุพร้อมทำงาน เมื่อเพิ่มเติมความสามารถในการกำหนดพฤติกรรมของวัตถุพร้อมทำงานเหล่านี้ จะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างโปรแกรมในขอบเขตเรื่องราวใหม่ ๆ และทำให้มีชุดคำสั่งที่ต้องเขียนด้วยตัวเองน้อยลง เมื่อทดลองกำหนดพฤติกรรมให้กับชนิดของเอนทิตีต่าง ๆ ในโปรแกรม 3 โปรแกรมได้แก่ ระบบแถวคอย ระบบแท็งค์ และระบบเครื่อข่าย แล้วทำการสร้างชุดคำสั่งอัตโนมัติ ผลปรากฎว่าระบบสามารถสร้างคำสั่งที่รองรับกลไกของพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง โดยมีร้อยละของจำนวนบรรทัดคำสั่งที่สร้างได้โดยอัตโนมัติเทียบกับจำนวนบรรทัดคำสั่งในโปรแกรมที่ใช้งานได้จริงของระบบแถวคอยเท่ากับ 76.0 ระบบแท็งค์เท่ากับ 52.7 และระบบเครือข่ายเท่ากับ 48.7
Other Abstract: This thesis aimed to develop an editor for visually specifying the behavior of active objects. Users can specify the behavior of active objects via graphic user interface and generate a set of Java source code that enables the specified behavior. The behavior supported by this editor are transition rules, equational assignments, and event routines. This editor was merged with The Entity-Relationship Software Development Environment (ERSDE), a visual tool which demonstrated a new software composition approach. With ERSDE, an application can be constructed by using an extended entity-relationship diagram (EERD) as a connection guideline in a specific domain. The application is executed immediately once the entities (components) are interconnected since each entity is implemented as an active object. With the enhancement of ERSDE capability for specifying the behavior of the active object and behavioral code generation, this tool will facilitate user to build various domains of applications with less manual coding time and effort. The editor was tested by regenerating the skeleton code for all entities in three applications, the queuing system, the tank system and the local area network system. The active behavioral code was created correctly as specified in the behavior editor. The percentage of line of code between the regenerated code and the executable code for queuing system is 76.0, for the tank system is 52.7 and for the LAN system is 48.7
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4163
ISBN: 9743336362
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanporn.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.