Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41787
Title: การนำวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในวิธีพิจารณาคดีปกครอง
Other Titles: The application of civil procedure in administrative court procedure
Authors: ปริตตา สดสง่า
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงการนำวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในการพิจารณา คดีปกครอง ซึ่งโดยหลักวิธีพิจารณาคดีปกครองจะมีความแตกต่างแยกเป็นอิสระจาก วิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ คดีแพ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน วิธีพิจารณาความแพ่งจึงเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน ขณะที่คดีปกครองเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน วิธีพิจารณา คดีปกครองจึงมีขึ้นเพื่อให้ศาลสามารถตัดสินคดีโดยการผสานประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของเอกชนเข้าด้วยกันอย่างมีดุลยภาพ จากการศึกษาพบว่า แม้วิธีพิจารณาความทั้งสองประเภทจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน แต่ก็ได้มีการนำเอาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบางเรื่องมาบัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง โดยมีเงื่อนไขว่าหลักที่นำมาใช้จะต้องเป็นหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความทั่วไปและไม่ขัดต่อระบบวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งในปัจจุบันมีประเด็นที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับการนำวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในวิธีพิจารณาคดีปกครอง ดังนี้ 1) ส่วนที่นำมาใช้ในวิธีพิจารณา คดีปกครองแล้วแต่มีความไม่เหมาะสม โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น 2) ส่วนที่สมควรนำมาบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในวิธีพิจารณาคดีปกครอง เพื่อให้วิธีพิจารณาคดีปกครองครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และ 3) ส่วนที่เป็นข้อศึกษาเปรียบเทียบว่าสมควรหรือไม่ที่จะนำหลักการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในวิธีพิจารณาคดีปกครอง โดยเฉพาะหลักการเกี่ยวกับพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2550 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในส่วนที่นำมาใช้ในวิธีพิจารณาคดีปกครองโดยไม่เหมาะสมว่า ควรจะมีการบัญญัติหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองในเรื่องที่เกิดปัญหาขึ้นมาใช้บังคับโดยเฉพาะ เพื่อทดแทนการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาเป็นฐานในการบังคับใช้ดังเช่นที่เคยเป็นมา เพื่อให้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองสามารถพัฒนาหลักกฎหมายของตนต่อไปได้ในอนาคต สำหรับกรณีวิธีพิจารณาความแพ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ในวิธีพิจารณาคดีปกครองได้อยู่แล้วก็ควรนำเอาวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นมาบัญญัติไว้เพิ่มเติมในวิธีพิจารณาคดีปกครอง ส่วนกรณีที่เป็นข้อศึกษาเปรียบเทียบว่าสมควรหรือไม่ที่จะนำหลักการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในวิธีพิจารณาคดีปกครองนั้น ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าหลักดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองก็สามารถนำมาบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในวิธีพิจารณาคดีปกครองได้
Other Abstract: This research is aimed to study on the application of the Civil Procedure in the Administrative Court Procedure. In essence, the nature of the Administrative Court Procedure is separate and different from the Civil Procedure. The Administrative Court Procedure is established for keeping balance between public and private interests but the Civil Procedure has a purpose on protecting the rights of the litigant in a lawsuit. From the previous days until now, the Administrative Court Procedure has regulated some principle of the Civil Procedure to be the provisions of the Administrative Court Procedure. However, the application of the Civil Procedure should be according to the general principle of the court procedure and not be violated the system of the Administrative Court Procedure. In this research, we found three significant notifications related to the application of the Civil Procedure; Firstly, the applied provision is not suitable for the Administrative Court Procedure. Secondly, the application of the Civil Procedure should fulfill the deficiency of the Administrative Court Procedure. Thirdly, there should have a research on the suitability of the Civil Procedure application in the Administrative Court Procedure, particularly in some principles of the Evidence Law according to the Civil Procedure (as amended by the Amendment B.E. 2550 (2007)). The recommendations of the thesis are as followings; 1) To renew regulation of the Administrative Court Procedure for correcting the problems on the unsuitable application of the Civil Procedure. 2) To adopt some provisions of the Civil Procedure as the Administrative Court provisions in order to fulfill the deficiency of the Administrative Court Procedure. 3) To find the proper principles for the Administrative Court system and provide them as the provisions of the Administrative Court Procedure.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41787
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paritta_so_front.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_ch1.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_ch2.pdf11.02 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_ch3.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_ch4.pdf13.76 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_ch5.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_ch6.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Paritta_so_back.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.