Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสามารถ เจียสกุล
dc.contributor.authorบุญมี ฉันทประทีป
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-23T06:51:01Z
dc.date.available2014-03-23T06:51:01Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41797
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียงของไทยในอดีต เป็นการขนส่งสินค้าภายในประเทศและตามแนวชายฝั่งทะเลโดยใช้เรือฉลอมขนส่งสินค้าในปริมาณที่ไม่มาก แต่ปัจจุบันเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดมีการค้าระหว่างประเทศเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ การขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียงจึงมีการพัฒนาขึ้นเช่นกัน 40 ปีที่มานั้นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียงซึ่งมีผู้ประกอบการที่เรียกว่า Lighter เริ่มต้นจากการรวมตัวกันผูกขาดตามยุคสมัยของผู้มีอำนาจทางการเมืองในอดีตและมีการแตกสลายของกลุ่มผูกขาดจนกระทั่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียงในปัจจุบัน ที่มีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศกับภาคการนำเข้าและส่งออกสินค้าของไทย แต่กลับไม่ได้รับการพัฒนาจากภาครัฐเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้าทางบกหรือทางอากาศ ทั้งนี้พิจารณาได้จากนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งสินค้าหรือระบบโลจิสติกส์ของไทยนับแต่อดีตนั้น รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาเส้นทางถนนเป็นหลัก เนื่องจากกลุ่มผลประโยชน์ซึ่งผลักดันนโยบายของรัฐส่วนใหญ่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาสร้างถนน มากกว่าการพัฒนาเส้นทางทางน้ำ รวมทั้งรัฐบาลมิได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนที่แท้จริงที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าทางบกกับการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียง กล่าวคือการขนส่งสินค้าทางบกมีต้นทุนในการบำรุงดูแลรักษาถนนจำนวนมากเมื่อเทียบกับต้นทุนในการดูแลเส้นทางน้ำ การขนส่งสินค้าทางบกก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในปริมาณสูง สร้างปัญหาการจราจรในเขตเมือง อีกทั้งยังมีต้นทุนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์อีกเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียงที่เป็นการขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมากมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการขนส่งนานกว่าการขนส่งสินค้าทางบกเท่านั้น ทั้งนี้หากรัฐขยายเส้นทางลำน้ำภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางน้ำมากขึ้น จะเป็นการลดต้นทุนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ และลดปัญหาการจราจร และอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังเพิ่มการจ้างงานมากขึ้น เพิ่มปริมาณสำรองน้ำและแหล่งทรัพยากรทางน้ำมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากรัฐหันมาส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางน้ำโดยเรือลำเลียงอย่างจริงจัง จะช่วยพัฒนาระบบการคมนาคมสินค้าภายในประเทศให้ต้นทุนที่ลดลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
dc.description.abstractalternativeThis study, ‘Policy of Thai Marine: Case Study of Lighter’, aims to emphasize the importance of water transportation to National Economy and the import and export business in Thailand. It explains the lack of attention to the water transportation from the Government when compared to Land and Air Transportation and describes the way in which the overall transportation system could improve from the development of the policy of Thai Marine. In the past, water transportation was only for local transportation by using ‘Chalorm’ boat which could carry small quantity of goods. Once the Thai Economy has become more open and international business and transactions have become essential, water transportation has developed from ‘Chalorm’ boat to ‘Lighter’ boat. This has caused high competition in the water transportation business. Despite the development and the increasing competitiveness, water transportation system has not been the focus of the Thai Government. Land transportation has been given much emphasis, particularly on improving the main roads. The Thai Government overlooks that fact that by expanding the waterways for transportation, it would lead to better efficiency and performance and reduce cost in air environmental control, traffic and accidents control. If the Government develops the water transportation seriously, it would lead to a total development of the whole transportation system both in cost reduction and performance.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleนโยบายการขนส่งทางน้ำของไทย กรณีศึกษาเรือลำเลียงen_US
dc.title.alternativeThe Policy on Thailand's Water Transportation case study of Devivery Boatsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonmee_ch_front.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ch_ch1.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ch_ch2.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ch_ch3.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ch_ch4.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ch_ch5.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_ch_back.pdf896.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.