Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41808
Title: การติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและกฎหมายไทย
Other Titles: Fair debt collection practices : a comparative study between the united states of america and thai laws
Authors: ปองทิพย์ สามัตถิยากร
Advisors: สำเรียง เมฆเกรียงไกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกฎหมายเกี่ยวกับการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์และสาระสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ค.ศ.1978 ของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งศึกษาถึงกฎหมายไทยที่มีผลใช้บังคับในเรื่องของการติดตามทวงหนี้ในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ค.ศ.1978 ของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดหลักเกณฑ์, ข้อควรปฏิบัติ ตลอดจนข้อห้ามปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้บังคับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างติดตามทวงหนี้ที่เป็นบุคคลภายนอกไว้เป็นการเฉพาะ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มีผลใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างติดตามทวงหนี้ในเรื่องวิธีการติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรมไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด, ประมวลกฎหมายอาญา, ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย, พระราชบัญญัติทนายความ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ซึ่งออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย บังคับกับวิธีการติดตามทวงหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างติดตามทวงหนี้แล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว และบทบัญญัติมีลักษณะที่ให้ความคุ้มครองเป็นการทั่วไป มิได้จำเพาะเจาะจงในเรื่องการติดตามทวงหนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงไม่มีความทันสมัยและกลไกการบังคับใช้กฎหมายไม่เอื้อประโยชน์ต่อลูกหนี้ในฐานะที่เป็นผู้บริโภค ทำให้ไม่อาจให้ความคุ้มครองและเยียวยาลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากการติดตามทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรมเท่าใดนัก นอกจากนี้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องติดตามทวงหนี้ก็มีขอบเขตการบังคับใช้เพียงแค่ผู้ติดตามทวงหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้เท่านั้น มิได้รวมไปถึงผู้ติดตามทวงหนี้ที่เป็นบุคคลภายนอกด้วย และถึงแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้จัดทำแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ใช้บังคับในเบื้องต้นแล้ว แต่แนวปฏิบัติดังกล่าวยังมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพบังคับ หลักเกณฑ์ในส่วนเนื้อหาบางประการ ตลอดจนมาตรการกำหนดโทษ ด้วยเหตุนี้ ผู้ติดตามทวงหนี้ที่เป็นบุคคลภายนอกจึงอาจไม่ต้องรับผิดได้ในบางกรณี และยังคงใช้วิธีการที่ไม่เป็นธรรมในการติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้ได้อยู่ต่อไป ทำให้ลูกหนี้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบอย่างมาก ดังนั้นปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าวนี้จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้จากการใช้วิธีการติดตามทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้นำหลักการของกฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ค.ศ.1978 ของสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกกฎหมายเฉพาะสำหรับประเทศไทยเท่าที่เหมาะสม เพื่อใช้บังคับกับวิธีการติดตามทวงหนี้โดยบุคคลภายนอกอย่างเป็นธรรมในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายสามารถคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ที่สุจริตได้อย่างแท้จริงด้วย
Other Abstract: This thesis intends to study about fair debt collection practice laws especially rules and main ideas of the United States of America Fair Debt Collection Practice Act of 1978 and the present applicable law regarding debt collection practice in Thailand. The study reveals that the United States of America Fair Debt Collection Practice Act of 1978 particularly prescribes rules, guideline including prohibition governing debt collector who is a third party while there is no specific law in Thailand. Consequently, for the issue about debt collection in Thailand, it is subject to the Wrongful Acts Title in the Civil and Commercial Code, the Panel Code, the Notification of Bank of Thailand, the Lawyers Act as well as the guideline for the debt collection issued by the Bank of Thailand as the case may be. However, the provisions in the Civil and Commercial Code and the Panel Code are outdated and applied in general case only. In other words, they are not updated. Their enforcements are not able to well protect a debtor as a consumer from unfair debt collection practices. Furthermore, the Notification of Bank of Thailand concerning debt collection governs only the debt collector who is the creditor himself not the third party. Even though the Bank of Thailand publishes the guideline, such guideline has the problems regarding the enforceability, some criteria and the penalty. Hence, the third party debt collector may not be liable in some circumstances as well as can continue his/her unfair practices. Regrettably, debtor is still taken advantages on. It is undeniable that the limitation of law in Thailand is a main obstacle for protection debtor from unfair debt collection practices. The author, therefore, suggests that it should appropriately apply the principles of laws in the United States of America Fair Debt Collection Practice Act of 1978 to the legislation in relation to the fair debt collection practice by the third party in Thailand in order to not only fully protect the right of debtor as consumer but also give fair treatment to the bona fide debtor.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41808
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongpihtaya_sa_front.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Pongpihtaya_sa_ch1.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Pongpihtaya_sa_ch2.pdf15.05 MBAdobe PDFView/Open
Pongpihtaya_sa_ch3.pdf20.13 MBAdobe PDFView/Open
Pongpihtaya_sa_ch4.pdf10.71 MBAdobe PDFView/Open
Pongpihtaya_sa_ch5.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Pongpihtaya_sa_back.pdf10.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.