Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41826
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทร ศุภพงษ์ | |
dc.contributor.advisor | สสิธร เทพตระการพร | |
dc.contributor.author | นพวรรณ จรัสสุขประเสริฐ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2014-03-25T11:12:21Z | |
dc.date.available | 2014-03-25T11:12:21Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41826 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังของพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลระดับปฏิบัติการจำนวน 690 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง โดยมีการแจกแบบสอบถามจำนวน 712 ฉบับ มีอัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 96.7 ผลการศึกษาพบว่าอัตราความชุกของกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังของพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เท่ากับ 13.4 คน ต่อ ประชากร 100 คน โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา(CDC)ปี 1994 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ประกอบด้วย การออกกำลังกาย ค่าดัชนีมวลกาย รายได้ต่อเดือน การมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัวหรือคนรัก เวลาในการทำกิจกรรมนันทนาการหรือการพบปะสังสรรค์ งานที่ปฏิบัติไม่มีความมั่นคงและปลอดภัยกับชีวิต งานที่ปฏิบัติไม่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูง การไม่มีโอกาสเสนอความเห็นในการปฏิบัติ การไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดตารางการทำงานของตนเอง การไม่ได้รับความช่วยเหลือและคำปรึกษาจากผู้ร่วมงาน การทำงานนอกเวลา การมีปริมาณงานในความรับผิดชอบที่ไม่มีความเหมาะสม ผลกระทบจากกลุ่มอาการนี้พบว่าร้อยละ 64.3 ของกลุ่มพยาบาลที่มีกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง รายงานว่าความล้าทำให้เกิดการรบกวนการทำงานทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังหลายปัจจัยที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ เช่น การเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน การมีส่วนกำหนดตารางการทำงานของตนเอง การได้รับความช่วยเหลือ และคำปรึกษาจากผู้ร่วมงาน จึงควรที่จะมีแนวทางในการลดความล้าที่อาจสะสมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยป้องกันการเกิดการลดลงของประสิทธิภาพการทำงาน การลาป่วย และการเกิดอันตรายจากการทำงานอันเป็นผลจากกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง | |
dc.description.abstractalternative | This cross – sectional survey aimed to study the prevalence rate and associated factor of chronic fatigue syndrome(CFS) among nurses at Bhumipholadunlayadej hospital .The self- administered questionnaires were sent to 712 nurses during January – February 2006 with good response rate ( 96.7 percent). The result showed that the prevalence rate of chronic fatigue syndrome among nurses at Bhumipholadunlayadej hospital was 13.4 percent by using the criteria of CDC 1994.Factors which were statistically significant associated with chronic fatigue syndrome ( p<0.05 ) including : exercise ; BMI ; salary per month ; relationship in family ; inadequacy of social meeting ; unsafe working condition; low work responsibility ; no chance to express idea ; lack of participation to set up their work schedules ; receiving assistance from their colleagues ;over -time working and inappropriate amount of work. Sixty four percent of nurses with chronic fatigue syndrome reported that CFS affected to efficiency of their works . Some factors associated with CFS should be improved such as providing opportunity to express the idea, more participation to set up their work schedules and obtaining help and support from their colleagues. These improvement will prevent low work efficiency, sickness absent and occupational injuries resulted from CFS. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | อัตราชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังของพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช | en_US |
dc.title.alternative | Prevalence rate and associated factors of chronic fatigue syndrome among nurses at Bhumipholadunlayadej Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อาชีวเวชศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noppawan_ja_front.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppawan_ja_ch1.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppawan_ja_ch2.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppawan_ja_ch3.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppawan_ja_ch4.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppawan_ja_ch5.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Noppawan_ja_back.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.