Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4203
Title: ความสัมพันธ์ของปริมาณไวเทลโลเจนินในเลือด กับการเจริญของรังไข่ของปูทะเล Scylla serrata (Forskal, 1775) โดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวเทลลินที่เสียสภาพ
Other Titles: Relationship between haemolymph vitellogenin levels and ovarian development of mud crab Scylla serrata (Forskal, 1775) using monoclonal antibodies against denatured vitellin
Authors: ดวงใจ งามสม
Advisors: อรวรรณ สัตยาลัย
ไพศาล สิทธิกรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: orawan@c.chula.ac.th
paisan@psm.swu.ac.th
Subjects: ปูทะเล
ไวเทลโลเจนิน
โมโนโคลนอลแอนติบอดีย์
ไวเทลลิน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี (MAb) ต่อไวเทลลินและไวเทลโลเจนินที่ถูกทำให้เสียสภาพของปูทะเล โดยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหนูขาว (swiss mouse) ด้วยสารสกัดจากรังไข่ของปูทะเลที่ถูกทำให้เสียสภาพ นำเซลล์ม้ามของหนูขาวมารวมกับเซลล์ myeloma P3X และจากการคัดเลือก hybridoma clone โดยวิธี indirect immunoperoxidase ELISA โดยใช้สารสกัดจากรังไข่ของปูทะเลเป็นแอนติเจน และ dot-ELISA โดยใช้สารสกัดจากรังไข่เลือดตัวเมียที่รังไข่กำลังเจริญ เลือดตัวผู้ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ และเสียสภาพ และหน่วยย่อย 2 หน่วยของไวเทลลินจากรังไข่ที่ได้จากการแยกด้วย SDS-PAGE (ขนาด 107 และ 78 กิโลดาลตัน) เป็นแอนติเจน สามารถแยก hybridoma ได้ 14 โคลน จากการตรวจความจำเพราะของ MAb โดยวิธี dot-blot และ Western blot พบว่ามี 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สร้าง MAb ที่สามารถจับได้กับทั้งสองหน่วยย่อยของไวเทลลินจากรังไข่ (107 และ 78 กิโลดาลตัน) กลุ่มที่ 2 สร้าง MAb ที่สามารถจับได้กับหน่วยย่อยขนาด78 กิโลดาลตัน กลุ่มที่ 3 สร้าง MAb ที่สามารถจับได้กับหน่วยย่อยขนาด 107 กิโลดาลตัน กลุ่มที่ 4 สร้าง MAb ที่สามารถจับได้กับโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลสูงในรังไข่และในเลือดปูเพศเมีย แต่ไม่จับกับโปรตีนในเลือดปูเพศผู้ MAb ที่ผลิตได้เป็นอิมมูโนโกลบูลินชนิด IgG1 12 โคลน ชนิด IgG2b 1 โคลน และชนิด IgM 1 โคลน MAb ที่ผลิตได้สามารถจับกับไวเทลลินและไวเทลโลเจนนิน ที่ถูกทำให้เสียสภาพได้ดีกว่าไวเทลลินและไวเทลโลเจนิน ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ และสามารถนำมาใช้ศึกษาลักษณะโมเลกุลของ ไวเทลลินและไวเทลโลเจนินของปูชนิดนี้ได้ ซึ่งพบว่าโปรตีนไวเทลลินในรังไข่มี 2 หน่วยย่อย (107 และ 78 กิโลดาลตัน) ส่วนโปรตีนไวเทลโลเจนินในเลือดเพศเมียประกอบด้วย 3 หน่วยย่อย (190, 107 และ 78 กิโลดาลตัน) การตรวจหาปริมาณไวเทลโลเจนินในเลือดด้วยวิธี indirect immunoperoxidase competitive ELISA โดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวเทลลินและไวเทลโลเจนิน ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ (นุชนาถ เกษมวงศ์, 2542) เพื่อตรวจดูความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงไวเทลโลเจนินในเลือด ระหว่างการเจริญของรังไข่ พบว่าระดับไวเทลโลเจนินของปูแต่ละตัวที่ถูกชักนำให้รังไข่เจริญ โดยการตัดตาทั้ง 2 ข้างให้ความสัมพันธ์ในรูปแบบที่คล้ายกันคือ หลังจากตัดตาได้ 2 วัน (ระยะแรกของการเจริญของรังไข่) ปริมาณไวเทลโลเจนินเฉลี่ย ยังอยู่ในระดับต่ำและค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในวันต่อมาจนกระทั่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 10-18 วัน หลังจากตัดตาและลดลงอย่างรวดเร็วก่อนปูวางไข่ ค่าสูงสุดของปริมาณไวเทลโลเจนินของปูทั้ง 8 ตัว อยู่ระหว่าง 1-3.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
Other Abstract: Monoclonal antibodies (MAbs) specific to vitellin and vitellogenin of Scylla serrata were produced by fusion of P3X myeloma and spleen cells of a mouse immunized with denatured crude ovarian extract isolated from gravid S.serrata ovaries. Hybridoma were selected by indirect immunoperoxidase ELISA against ovarian extract, followed by dot-blot against native and denatured protein from ovarian extract, female haemolymph, male haemolymph and 2 vitellin subunits (78 and 107 kD). Fourteen hybridoma clones were selected. After dot-ELISA and Western blot analysis these hybridoma clones were divided into four groups. MAbs in the first group bind specifically with both 78 kD and 107 kD protein subunits of the ovarian extract, MAbs in the second group bind only with 78 kD subunit. MAbs in the third group bind only with 107 kD subunits and MAbs of the fourth group bind with high molecular weight protein in ovary and haemolymph. MAbs from twelve hybridoma clones belong to the IgG1 subclass and one each belongs to IgM and IgG2b subclasses. All MAbs preferentially bind to denatured vitellin and vitellogenin. These MAbs were used for molecular characterization of vitellin and vitellogenin in this crab species. Vitellin derived from ovary consists of two subunits (107 and 78 kD), while three subunits (190, 107 and 78 kd) of vitellogenin were found in the haemolymph. Indirect immunoperoxidase competitive ELISA using monoclonal antibodies specific to native vitellin and vitellogenin (Nuchanath Kasemwong, 1999) was applied for determination of vitellogenin levels in haemolymph in order to determine the alteration of vitellogenin in the haemolymph during ovarian development. From 2 days after eye-ablation (early vitellogenesis), vitellogenin was detected at low levels then gradually increased to their zenith during 10-18 days and abruptly dropped to a low level few days before spawning. The maximum vitellogenin concentration of individual crab ranged from 1 to 3.5 mg/ml.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4203
ISBN: 9743469176
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangjaing.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.