Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42336
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุมนทิพย์ จิตสว่าง | - |
dc.contributor.author | พศกร โยธินนีรนาท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2014-05-12T14:03:51Z | - |
dc.date.available | 2014-05-12T14:03:51Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42336 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ด้านคือ ด้านนโยบาย ด้านกระบวนการคุ้มครองและปัญหา อุปสรรค สำหรับในแง่ระเบียบวิธีวิจัยได้เก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารด้านกฎหมาย ระเบียบราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 4 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับสูง สังกัดสำนักงานกองทุนเงินทดแทน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติแรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ผู้อำนวยการมูลนิธิสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนา และสัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติซึ่งได้รับผลกระทบในเรื่องนี้อีก 11 ราย โดยจากผลการศึกษามีดังนี้ ด้านนโยบายการจัดการด้านสิทธิเงินทดแทนกรณีบาดเจ็บจากการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าเป็นปัญหาด้านกระบวนนโยบาย ที่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดนโยบายระดับชาติ กับการกำหนดนโยบายระดับหน่วยงาน จึงส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านการจัดการสิทธิฯ ต่อแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า กัมพูชาและลาว ด้านกระบวนการคุ้มครองสิทธิเงินทดแทนของแรงงานฯ ที่เน้นกรณีการจ่ายค่าทดแทนเมื่อแรงงานฯ ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน พบว่า กลไกหลักที่ใช้คุ้มครองสิทธิดังกล่าวที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ยึดถือคือ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 พ.ร.บ. ดังกล่าวเน้นความเสมอภาคเท่าเทียมไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามหลักการแต่ตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริง เพราะจากผลการศึกษาพบว่ามีแรงงานฯ บางส่วนไม่ได้รับเงินทดแทนที่เที่ยงธรรมตามที่กฎหมายเงินทดแทนกำหนด สุดท้าย ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดการเชิงนโยบาย (รส 0711/ว751) ในการจ่ายเงินทดแทนที่พบว่า ปัญหาหลักคือ เอกสารประจำตัวของแรงงานฯ 3 สัญชาติ อันเป็นผลมาจากการตีความของทาง สปส. ซึ่งไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ทางกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองแรงงานทั้งหมด โดยไม่ได้บัญญัติถึงเงื่อนไขด้านเอกสารของผู้มีสิทธิในเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน สิ่งนี้นำไปสู่ปัญหาการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนของแรงงานฯ อันกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aims to study 3 aspects which are policy, workforce protection, and related problems and obstacles. The data was collected by an in-depth study of laws and government-related regulations and the interview of the 4 key informant workforce officers and 11 migrant labours that were impacted by this issue. The findings revealed that there was no correlation in setting the workmen’s compensation policy between national-level sector and organization-level sector. As a result, problems in managing the migrant labour’s compensation occurred with migrant labour of the 3 countries which are Myanmar, Cambodia, and Laos. Secondly, the workforce protection process that indicates the necessity that workers getting injuries from a workplace need to be compensated have been the contrary. Regarding the Workmen’s Compensation Act B.E. 2537 that the Social Security Office (SSO) abides, which focuses on the equality and equity of the people, some of the migrant labours did not received the compensation. Lastly, problems, obstacles and limitations with the policy (รส 0711/ว751), the findings showed that there were some complications in the compensation payment process due to the misinterpretation of the Social Security Office (SSO). While the workforce protection laws did not indicate the need of presenting certain documents from the migrant labours, the Social Security Office (SSO) did ask to see them. This has led to problems in accessing compensation fund which will affect the image of the country in regard to the violation of labours’ human rights. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.976 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นโยบายแรงงาน -- ไทย | en_US |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว -- ไทย | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 | en_US |
dc.subject | กฎหมายแรงงาน | en_US |
dc.subject | Labor policy -- Thailand | en_US |
dc.subject | Foreign workers -- Thailand | en_US |
dc.subject | Workmen's Compensation Act B.E. 2537 | en_US |
dc.subject | Labor laws and legislation | en_US |
dc.title | นโยบายรัฐบาลและการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 | en_US |
dc.title.alternative | Government policies and approaches towards migrant labours in regard to Workmen's Compensation Act B.E. 2537 (1994) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sumonthip.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.976 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
podsakorn_sa.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.