Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42345
Title: การจำแนกสายพันธุ์เชิงชีวโมเลกุลของเชื้อฮิวแมนเรสไพราทอรีซินไซเทียลไวรัสกลุ่ม A และ B ในประเทศไทย
Other Titles: Molecular Characterization of Human Respiratory Syncytial Virus group A and B in Thailand
Authors: วิชธวัช อักษรกิตติ์
Advisors: ยง ภู่วรวรรณ
รุจิภัตต์ สำราญสำรวจกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Yong.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ระบาดวิทยา
ไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเทียล
Epidemiology
Respiratory syncytial virus
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษานี้ได้รายงานถึงระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลและลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อฮิวแมนเรสไพราทอรีซินไซเทียลไวรัส (RSV) ที่พบในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2009 ถึงเดือนธันวาคม 2011 จากตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 1,481 ตัวอย่างซึ่งทำการเก็บจากโรงพยาบาลในกรุงเทพและขอนแก่น พบว่ามีจำนวนตัวอย่าง 148 ตัวอย่าง คิดเป็น 10% ที่ให้ผลบวกต่อเชื้อ RSV เมื่อทำการตรวจโดยวิธี semi-nested PCR โดยได้ทำการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ของเชื้อจำนวน 124 ตัวอย่าง และเมื่อนำมาสร้าง phylogenetic tree พบว่า 101 ตัวอย่างของ RSV-A สามารถจำแนกได้เป็น 2 จีโนไทป์คือ NA1 และ ON1 โดย ON1 นั้นเป็นจีโนไทป์ใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานนี้ ลักษณะเด่นของจีโนไทป์นี้คือมีการจำลองตัวเองของนิวคลีโอไทด์เพิ่มเข้าไปถึง 72 คู่เบสในบริเวณ second hypervariable region ของ G โปรตีน นอกจากนี้เมื่อนำตัวอย่างที่ผ่านการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ของ RSV-B จำนวน 23 ตัวอย่างมาทำการสร้าง phylogenetic tree พบว่าสามารถจำแนกได้เป็น 4 จีโนไทป์ คือ BA4, BA9, BA10 และ THB โดย THB นั้นเป็นถือเป็นจีโนไทป์ใหม่ที่ถูกอธิบายถึงรายละเอียดในการศึกษานี้เป็นครั้งแรก จีโนไทป์ NA1 นั้นถูกพบตลอดช่วง 3 ปีที่ทำการศึกษา โดยในปี 2009 นั้นพบในจำนวนใกล้เคียงกับ BA9 ก่อนจะกลายเป็นจีโนไทป์ที่พบมากที่สุดในปี 2010 และ 2011 สำหรับ ON1 ในการศึกษานี้พบครั้งแรกในปี 2011 อย่างไรก็ตามลักษณะทางพันธุกรรมของ ON1 ที่พบในประเทศไทยนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากที่พบในประเทศอื่นมากนัก สำหรับ THB ในการศึกษานี้พบครั้งแรกในปี 2010 โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับจีโนไทป์ GB2 โดยสรุปแล้วการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลและลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อ RSV ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาหรือวัคซีนในอนาคตได้
Other Abstract: This study reports the molecular epidemiology and genetic characterization of human respiratory syncytial virus (RSV) samples collected in Thailand from July 2009 to December 2011. In total, 1,481 clinical samples were collected from Bangkok and Khon kean provinces and were screened by semi-nested PCR for RSV infection. We found 148 samples (10%) to be RSV positive and sequenced 124 of these samples. Phylogenetic analysis revealed that 101 of the RSV-A positive samples clustered into either genotype NA1 or the recently discovered genotype ON1 strain, which has a 72-nucleotide duplication in the second variable region of its G protein. Moreover, 23 of RSV-B positive samples clustered into four genotypes; BA4, BA9, BA10 and the novel genotype THB, first described here. The NA1 genotype was found during all three years of the study: In 2009, it was as common as BA9, while it was found to be the predominant strain in 2010 and 2011. The ON1 strain detected in this study first emerged in 2011 and is genetically similar to ON1 strains characterized in other countries. We also describe the novel genotype THB which first emerged in 2010 and is genetically similar to the GB2 genotype. In conclusion, this study indicates the importance of molecular epidemiology and characterization of RSV in Thailand in order to better understand this virus. Further studies should be conducted to bolster the development of anti-viral agents and a vaccine.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42345
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.978
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.978
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vichtavat _Au.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.