Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42649
Title: ผลของการใช้ผงบุกร่วมกับมอลโตเดกซ์ทรินต่อคุณภาพของสารสกัดจากใบหม่อนโดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย
Other Titles: EFFECTS OF USING KONJAC POWDER IN COMBINATION WITH MALTODEXTRIN ON QUALITY OF MULBERRY LEAF EXTRACT BY SPRAY DRYING
Authors: นันทนิตย์ สุรพันธุ์
Advisors: ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
เกียรติศักดิ์ ดวงมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: chaleeda.b@chula.ac.th
Kiattisak.D@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมกระบวนการผลิต
สารสกัดจากพืช
เทคโนโลยีการผลิตอาหาร
Process control
Plant extracts
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการไมโครเอนแคปซูเลชันเป็นกระบวนการที่สำคัญในผลิตไมโครแคปซูลของสารสกัดจากใบหม่อนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นของเอทานอล (50% 60% 70% และ 95% (v/v)) ที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจากใบหม่อน โดยศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกที่สกัดได้ ปริมาณรูตินและเควอซิตินด้วยวิธี HPLC และฤทธิ์การต้านออกซิเดชัน ด้วยวิธี Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) และวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบหม่อนที่ความเข้มข้นของเอทานอล 60% (v/v) ให้ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้ในปริมาณสูงทั้งในการศึกษาด้วยวิธี FRAP (51.83 ± 1.90 mmol Trolox / g wb) และ DPPH radical scavenging (10.45 ± 0.16 mmol Trolox / g wb) นอกจากนี้ที่ความเข้มข้นของเอทานอล 60% ยังสามารถสกัดสารประกอบฟีนอลิกโดยรวม (122.15 ± 5.32 mg GAE / g wb) สารรูติน (102.43 ± 1.73 ppm) และสารเควอซิติน (0.21 ± 0.00 ppm) ได้ในปริมาณสูงเช่นเดียวกัน ในกระบวนการผลิตไมโครแคปซูลด้วยวิธีการอบแห้งแบบพ่นฝอย เมื่อแปรอัตราส่วนของผงบุกและมอลโตเดกซ์ทริน (7.5%:2.5% 7.92%:2.08% และ 8.33%:1.67%) ปริมาณสารสกัดจากใบหม่อนต่อปริมาณสารเคลือบ (15% 22.5% และ 30%) และอุณหภูมิอากาศขาเข้าของการอบแห้งแบบพ่นฝอย (150 165 และ 180 องศาเซลเซียส) พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไมโครแคปซูล คือ ภาวะที่ใช้อัตราส่วนของผงบุกและมอลโตเดกซ์ทรินเท่ากับ 7.5%:2.5% ปริมาณสารสกัดจากใบหม่อนต่อปริมาณสารเคลือบเท่ากับ 30% และอุณหภูมิอากาศขาเข้าของการอบแห้งแบบพ่นฝอยเท่ากับ 180 องศาเซลเซียส และไมโครแคปซูลที่ได้มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันสูงเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี FRAP (6194.19 ± 124.98 µmol Trolox / g db) และ DPPH radical scavenging (334.16 ± 14.66 µmol Trolox / g db) เมื่อนำไมโครแคปซูลมาศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 35 45 และ 55 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าฤทธิ์การต้านออกซิเดชันลดลงเมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มมากขึ้น โดยที่อุณหภูมิในการเก็บรักษา 35 45 และ 55 องศาเซลเซียส มีค่าครึ่งชีวิตเมื่อศึกษาฤทธิ์การต้านออกซิเดชันด้วยวิธี FRAP เท่ากับ 79 50 และ 30 วันตามลำดับ และมีค่าครึ่งชีวิตเมื่อศึกษาฤทธิ์การต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH เท่ากับ 79 48 และ 35 วันตามลำดับ
Other Abstract: Microencapsulation is an important process to produce microcapsules of mulberry leaves extract containing antioxidant activity. This research is aimed to find the suitable concentration of ethanol (50%, 60%, 70% and 95%) to extract the antioxidants from mulberry leaf. The ethanolic extract of mulberry leaf was screened by Total phenolic content (TPC), amount of rutin and quercetin by HPLC, Ferric Reducing Antioxidant Potential (FRAP) method and 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay. On the basis of TPC method, amount of rutin and quercetin, FRAP method and DPPH radical scavenging assay of each concentration of ethanol in the mulberry leaf extracts, the antioxidant activity of 60% ethanolic extract of mulberry leaf was the most potent antioxidant in FRAP method (51.83 ± 1.90 mmol Trolox / g wb) and DPPH radical scavenging assay (10.45 ± 0.16 mmol Trolox / g wb) and also have high content of total phenolic content (122.15 ± 5.32 mg GAE / g wb), amount of rutin (102.43 ± 1.73 ppm) and amount of quercetin (0.21 ± 0.00 ppm). After the extraction, the mulberry leaf extract was encapsulated and transformed into powder by spray drying using coating materials namely, Konjac glucomannan (KGM) and maltodextrin (DE 20). Three parameters that were optimized are (1) ratio of konjac glucomannan/maltodextrin (7.5%:2.5%, 7.92%:2.08%, 8.33%:1.67%), (2) amount of mulberry leaves extract (15%, 22.5%, 30%) and (3) Inlet temperature (150 ºC, 165 ºC, 180 ºC). From the result, it was found that at 3:1 ratio of konjac glucomannan/maltodextrin, 30% mulberry leaf extract and Inlet air temperature of 180 ºC yielded a highest antioxidant capacity powder screened by FRAP method (6194.19 ± 124.98 µmol Trolox / g db) and DPPH radical scavenging assay (334.16 ± 14.66 µmol Trolox / g db) when compared to other conditions. Moreover, in this condition high amount of rutin (1.10 ± 0.06 ppm) was also found. In the final part, changing of properties and shelf life of microcapsules were studied. Microcapsules were kept at 35, 45 and 55 ºC for 3 months. It was found that the longer time of storage, the more reduction of antioxidant property was observed. Microcapsules had half-life of 79, 50 and 30 days at 35, 45 and 55 ºC respectively when determined by the antioxidant property with FRAP and 79, 48 and 35 days respectively when determined by the antioxidant property with DPPH.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42649
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.124
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.124
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472001223.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.