Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4269
Title: ประสิทธิภาพการกำจัดโลหะหนักบางชนิดในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ด้วยตัวกลางเศษคอนกรีต
Other Titles: Efficientcy of some heavy metal removal from printed circuit boards industrail waste water by concrete rubbish media
Authors: ทศพร ภู่ระหงษ์
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.S@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนัก 5 ชนิดในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ด้วยตัวกลางเศษคอนกรีต การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ขั้นแรกเป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเศษคอนกรีตที่เตรียมไว้สำหรับทำการทดลองพบว่า เศษคอนกรีตขนาด 0.5-1.0 มิลลิเมตร มีพื้นที่ผิว 10.5057 sq.m./g และมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุ 30.1 cmole/Kg concrete เศษคอนกรีตที่เตรียมได้มี ขนาด 0.5-0.6 มม. 15.00% ขนาด 0.6-0.8 มม. 46.67% และ ขนาด 0.8-1.0 มม. 27.67% ตามลำดับ ขั้นตอนที่สองคือการทำการทดลองแบบไม่ต่อเนื่องหรือแบบแบตช์เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดูดติดผิวโลหะได้แก่ ค่าพีเอช เวลาสัมผัส และปริมาณเศษคอนกรีต เพื่อทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดิช พบว่าที่ค่าพีเอชเริ่มต้นต่างกัน ประสิทธิภาพการกำจัดโลหะในน้ำเสียสังเคราะห์ไม่ต่างกัน สำหรับโลหะทั้ง 5 ชนิด และไอโซเทอมการดูดติดผิวสำหรับโลหะทั้ง 5 ชนิดด้วยเศษคอนกรีต เป็นไปดังสมการ y = 0.1348X[superscript 0.4525], y = 0.7724X[superscript 0.2531], y = 0.7416X[superscript 0.3410], y = 0.1034X[superscript 1.8844] และ y = 0.7398X[superscript 0.4458] สำหรับ โครเมียม, ทองแดง,นิกเกิล, ตะกั่ว และ สังกะสี ตามลำดับ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของโลหะ 10 mg/L และขั้นตอนสุดท้ายคือการทดลองแบบต่อเนื่องโดยใช้ถังดูดติดผิวแบบคอลัมน์ความลึก 180 เซนติเมตร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของเศษคอนกรีตในการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียจริงที่มีความเข้มข้นของ ทองแดง นิกเกิล ตะกั่ว และสังกะสีเป็น 0.75, 0.17, 0.61 และ 0.15 mg/L ตามลำดับ พบว่าเศษคอนกรีตสามารถลดความเข้มข้นของโลหะทั้ง 4 ชนิดในน้ำเสียลงได้มากที่สุด 50% ที่อัตราการไหล 2.4 ลิตร/ชั่วโมง และมีอายุการใช้งานของถังดูดติดผิวแบบคอลัมน์ 30 ชั่วโมง.
Other Abstract: This is a laboratory scale experiment to study the efficiency of concrete rubbish to remove 5 metals in waste water from printed circuit boards industrial. The experiment was divided into 3 parts. First was physical study of concrete rubbish properties which found that concrete rubbish has 10.5057 sq.m./g surface area. For concrete rubbish size distribution there are 15.00%, 46.67% and 27.67%by weigh for 0.5-0.6mm.,0.6-0.8 mm. and 0.8-1.0 mm. respectively and cation exchange capacity is 30.1 cmole/Kg concrete. The second was batch experiment to determine contact time, suitable pH and adsorption isotherm for removes Cr[superscript 3+] Cu[superscript 2+] Ni[superscript 2+] Pb[superscript 2+] and Zn[superscript 2+] from 10 mg/L synthetic waste water. From batch study found that Freundich isotherm can use to describe the adsorption process. Freundlich isotherm for each metal are y = 0.1348X[superscript 0.4525], y = 0.7724X[superscript 0.2531], y = 0.7416X[superscript 0.3410], y = 0.1034X[superscript 1.8844] andy = 0.7398X[superscript 0.4458] for Cr, Cu, Ci, Pb, and Zn respectively. The third was 1.80-m. depth adsorption column which found that concrete rubbish has maximum 50% removal efficiency for Cu, Ni, Pb and Zn in waste water form printed circuit boards with in 30 hr. operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4269
ISBN: 9741717199
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thossaporn.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.