Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42799
Title: ผลของอาร์กอนพลาสมาที่เกิดจากระบบพลาสมากระแสสลับ 50 เฮิรตซ์ ต่อความเข้ากันได้ทางชีวภาพของฟิล์มเจลาติน
Other Titles: EFFECTS OF ARGON PLASMA GENERATED FROM AC 50 Hz PLASMA SYSTEM ON THE BIOCOMPATIBILITY OF GELATIN FILM
Authors: จุฑาทิพย์ แซ่ลี้
Advisors: ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล
รัฐชาติ มงคลนาวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: siriporn.d@chula.ac.th
rmongkolnavin@gmail.com
Subjects: สัณฐานวิทยา
วิศวกรรมเคมี
Morphology
Chemical engineering
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอาร์กอนพลาสมาที่มีต่อสัณฐานวิทยา องค์ประกอบทางเคมีและความเข้ากันได้ทางชีวภาพของฟิล์มเจลาติน โดยฟิล์มเจลาตินที่ผ่านการเชื่อมขวางด้วยวิธีทางความร้อน (dehydrothermal treatment) จะถูกดัดแปรพื้นผิวด้วยอาร์กอนพลาสมาที่เกิดจากอุปกรณ์กำเนิดพลาสมาโดยระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC 50 Hz plasma) ซึ่งเป็นระบบพลาสมาความดันต่ำที่มีราคาไม่แพง จากการปรับความดันของระบบในชุดอุปกรณ์กำเนิดพลาสมาในช่วง 0.11-0.22 มิลลิบาร์ พบว่า อาร์กอนพลาสมาที่เกิดขึ้นมีค่าอุณหภูมิอิเล็กตรอนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.0-2.2 อิเล็กตรอนโวลต์ และความหนาแน่นของอิเล็กตรอนเฉลี่ย 1012-1018 อนุภาคต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อศึกษาสัณฐานพื้นผิวของฟิล์มเจลาตินที่ผ่านการดัดแปรด้วยอาร์กอนพลาสมาเป็นเวลา 0-6 นาที พบว่า อาร์กอนพลาสมาสามารถดัดแปรฟิล์มเจลาตินที่มีพื้นผิวเรียบ (Rms 0.49 นาโนเมตร) ให้มีความขรุขระเพิ่มขึ้นโดยมี Rms สูงสุดถึง 9.2 นาโนเมตร ลักษณะของฟิล์มภายหลังการดัดแปรพบว่า ฟิล์มบางส่วนบวมขึ้นในขณะที่พื้นผิวบางส่วนถูกกัดกร่อนหายไป นอกจากนี้ ฟิล์มเจลาตินภายหลังการดัดแปรด้วยอาร์กอนพลาสมาจะมีความชอบน้ำมากขึ้น โดยค่ามุมสัมผัสของน้ำลดลงจาก 60 องศาเหลือ 27-28 องศา ภายใน 2 นาทีแรกของการดัดแปร เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของฟิล์มเจลาตินก่อนและหลังการดัดแปรด้วยอาร์กอนพลาสมาที่มีค่า Rms แตกต่างกัน 3 ค่า ได้แก่ ฟิล์มที่มีค่า Rms 0.73, 5.45 และ 9.2 นาโนเมตร พบว่า โครงสร้างหลักของฟิล์มเจลาตินก่อนการดัดแปรประกอบด้วย คาร์บอน 69.90%, ออกซิเจน 17.98% และไนโตรเจน 12.12% ภายหลังการดัดแปรฟิล์มเจลาตินด้วยอาร์กอนพลาสมาพบว่า ปริมาณคาร์บอนลดลง ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณไนโตรเจนลดลง เมื่อพิจารณาปริมาณพันธะของคาร์บอนกับออกซิเจนและไนโตรเจนในโครงสร้างฟิล์มเจลาติน พบว่าฟิล์มเจลาตินมีปริมาณพันธะ C-C/C-H ซึ่งเป็นหมู่อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน 45.79%, พันธะ C-N/C-O และพันธะ N-C=O มีปริมาณ 30.88% และ 23.33% ตามลำดับ ภายหลังการดัดแปรพื้นผิวจะส่งผลให้เกิดอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้นถึง 80% ส่วนพันธะ C-N/C-O ลดลงเหลือ 5-11% และพันธะ N-C=O ซึ่งแสดงหมู่เอไมด์ลดลงเหลือ 11-15% จากการศึกษาความเข้ากันได้ทางชีวภาพของฟิล์มเจลาติน พบว่า การดัดแปรฟิล์มเจลาตินด้วยอาร์กอนพลาสมาช่วยส่งเสริมให้เซลล์ผิวหนังของหนูยึดเกาะและเจริญเติบโตได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับฟิล์มเจลาตินก่อนการดัดแปร โดยสังเกตุจาก F-actin cytoskeleton ที่มีลักษณะแผ่มากกว่าและปริมาณเซลล์ที่มีมากกว่าภายหลัง 3 วันของการเพาะเลี้ยง ทั้งนี้น่าจะเป็นผลร่วมทั้งด้านสัณฐานวิทยาและสมบัติทางเคมีของฟิล์มเจลาตินที่เปลี่ยนไปจากการดัดแปรด้วยอาร์กอนพลาสมา
Other Abstract: This research aimed to investigate the effects of argon plasma treatment on the topology, the chemical composition and the response of L929 mouse fibroblast cells on the treated gelatin film. Gelatin film was prepared by solution casting and crosslinked by dehydrothermal (DHT) treatment. The surface of gelatin film was treated by AC 50 Hz plasma which is a low pressure and inexpensive plasma. The operating pressure and treatment time were key parameters to be investigated. The electron temperature and electron density of argon plasma generated when varying operating pressure from 0.11 to 0.22 mbar were at 1.0 - 2.2 eV and 1012-1018 cm-3 respectively. The surface topology of untreated gelatin film was relatively smooth with the root mean square (Rms) of 0.49 nm. After treated with argon plasma, the surface of gelatin film became rougher and the Rms of the treated film was increased up to 9.2 nm. The treated film was found to be partly swollen and partly etched. The contact angle of gelatin film was significantly decreased from 60 degree for untreated gelatin to 27-28 degree in treated gelatin film after 2 min of treatment, indicating increased surface hydrophilicity. Considering the chemical structure of untreated and treated gelatin films with three different Rms values (0.73, 5.45 and 9.2 nm), the atomic composition of untreated gelatin film is C 69.90%, O 17.98% and N 12.12%. After Ar plasma treatment, the carbon and nitrogen atomic concentrations were decreased while oxygen concentration was increased. The functionality of C/C-H (aliphatic hydrocarbon) on gelatin surface was 45.79%, while C-N/C-O and N-C=O were 30.88% and 23.33%, respectively. Argon plasma could introduce higher aliphatic hydrocarbon up to 80% and lower C-N/C-O and N-C=O to 5-11% and to 11-15%. The effects of argon plasma modification on the mouse fibroblasts attachment and proliferation on gelatin film were tested and found that argon plasma improved the initial attachment as observed from spreading F-actin cytoskeleton and more proliferated L929 cells after 72 h of culture on treated gelatin film. This could be the results from the changes of topology and chemical composition of gelatin film by argon treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42799
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.246
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.246
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5370592321.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.