Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42803
Title: การวางแผนการจัดส่งสารเคมีบำบัดน้ำด้วยรูปแบบการบริหารคลังโดยผู้ขาย
Other Titles: DELIVERY PLANNING OF WATER-TREATMENT CHEMICALS IN VENDOR MANAGED INVENTORY CONTEXT
Authors: ปองพล สุทธิพงษ์เกษตร
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: paveena.c@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมสินค้าคงคลัง
การขนส่งสินค้า
Inventory control
Commercial products -- Transportation, Shipment of goods
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายการบริหารสารเคมีคงคลังและกำหนดนโยบายการจัดส่งสารเคมีให้กับลูกค้าของบริษัทกรณีศึกษา ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคงคลังและการจัดส่งสารเคมี บริษัทกรณีศึกษาดำเนินการโดยการจัดส่งทีมวิศวกรภาคสนามเข้าไปตรวจสอบคุณภาพน้ำและปริมาณสารเคมีคงคลังของลูกค้า พร้อมทั้งคำนวณปริมาณสารเคมีที่ต้องจัดส่งแล้วทำแผนจัดส่งให้กับลูกค้า การดำเนินการในปัจจุบันนั้นในส่วนของการบริหารคงคลังให้กับลูกค้าไม่ได้คำนึงถึงการวางแผนการจัดส่งควบคู่ไปด้วย จึงทำให้การจัดส่งปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ และวิศวกรภาคสนามยังไม่มีแนวทางในการบริหารคงคลัง จึงทำให้เกิดการจัดส่งเร่งด่วนซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อค่าการจัดส่งและค่าการจัดเก็บคงคลังของบริษัท การดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาพการทำงานในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา และวิเคราะห์หาช่องว่างเพื่อหาจุดที่สามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มประเภทลูกค้าเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการเก็บค่าใช้จ่ายระหว่างบริษัทกับลูกค้า เพื่อจำแนกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องสำหรับการบริหารคลังสารเคมีให้กับลูกค้าของบริษัท การกำหนดนโนยบายสำหรับการบริหารคลังสารเคมีจะเลือกใช้นโยบายที่สอดคล้องกับลักษณะการทำงานของบริษัท ซึ่งบริษัทจะรู้ระดับปริมาณสารเคมีคงคลังของลูกค้าต่อเมื่อวิศวกรบริการภาคสนามเข้าไปทำงานที่หน้างานลูกค้า ดังนั้นนโยบายบริหารคงคลังที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานของบริษัทคือระบบรอบการสั่งซื้อคงที่โดยที่มีความต้องการไม่แน่นอน ซึ่งจะกำหนดระดับคงคลังเป้าหมาย (OUL) การจัดส่งสารเคมีสำหรับลูกค้าทั้ง 5 รายจะเป็นรูปแบบรวมเที่ยวกันทั้ง 5 รายโดยจัดส่งสารเคมี 1 ครั้งต่อเดือน ซึ่งพิจารณาจากข้อจำกัดของลูกค้าและบริษัทกรณีศึกษา เช่น พื้นที่การจัดเก็บสารเคมีของลูกค้าแต่ละราย ปริมาณการสั่งซื้อรายปีของลูกค้า เป็นต้น การทดสอบประสิทธิภาพของนโยบายรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นกระทำโดยการเปรียบเทียบนโยบายใหม่กับผลการดำเนินการจริงปี 2556 ซึ่งพบว่านโยบายรูปแบบใหม่สามารถทำให้บริษัทมีต้นทุนรวมของการบริหารคลังและค่าการจัดส่งรวมกันต่ำกว่ารูปแบบเดิม 33% และผลจากการวิเคราะห์ความไวของนโยบายใหม่ต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเบิกใช้สารเคมีของลูกค้า พบว่าเมื่ออัตราการเบิกใช้สารเคมีของลูกค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% นโยบายรูปแบบใหม่จะเกิดเหตุการณ์สารเคมีขาดสต็อค (Shortage) ดังนั้นจึงต้องกำหนดนโยบายใหม่เมื่ออัตราการเบิกใช้สารเคมีของลูกค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 20%
Other Abstract: This research aims to determine the chemicals inventory management and delivery planning policies for company’s customers in the case study which benefits for cost reduction in terms of inventory management and delivery. The company operates by sending their field engineers to monitor water quality and chemicals inventory, to calculate delivery quantity and to plan chemicals delivery for customers. The current chemicals inventory management does not concern delivery planning. Neither field engineers have inventory management guideline. Resulting in urgent delivery, this costs more. The research begins with performing the current operation analysis of the case study company and finding for gaps for improvement. The customers are first divided into two groups by payment contract terms between the company and customers. The purpose for dividing groups of customers is to indicate the relevant inventory management costs. Determining inventory management policy has to be consistent with the company operations. Inventory levels can be reviewed only the date that field engineer visits customers’ sites. Therefore the suitable inventory policy in this case study is the periodic review system which demand is uncertain. Thus order up to level (OUL) inventory policy is proposed. Chemicals delivery frequency for five customers is determined for once a month, based on constraints from both of customers and the company such as storage area, purchasing order volume etc. The new policy effectiveness is tested by comparing the new policy to actual operation in 2013. The results show that the new policy can reduce inventory management and delivery costs by 33%. The Sensitivity analysis result of the new policy shows that when chemicals demand rate increase more than 20%, shortage will occur. So, the company has to redetermine new policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42803
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.278
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.278
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5371507221.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.