Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4294
Title: สารระงับกลิ่นจากเห็ดฟาง
Other Titles: Deodorant from Volvariella volvacea extract
Authors: ฐิตา ฟูเผ่า
Advisors: อมร เพชรสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amorn.P@Chula.ac.th
Subjects: เห็ดฟาง
สารสกัดจากพืช
กลิ่น
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสารระงับกลิ่นจากเห็ดฟาง โดยศึกษาถึงสภาวะของเวลา, อุณหภูมิ และตัวทำละลายที่มีผลต่อการสกัดสารจากเห็ดฟาง ซึ่งทำการสกัดสารจากเห็ดฟางโดยใช้ 30%เอทานอล, 0.5%สารละลายกรดซิตริก (pH 3.2) ที่อุณหภูมิ 60-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-6 ชั่วโมง และนำสารสกัดที่ได้มาทำการดูดซับกลิ่นแอมโมเนียและกลิ่นทุเรียนสังเคราะห์ แล้วเปรียบเทียบกับสารสกัดจากเห็ดแชมปิญอง (แชมแพกซ์) สารสกัดจากเห็ดฟางที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส โดยใช้ 0.5%สารละลายกรดซิตริกเป็นตัวทำละลาย เวลา 6 ชั่วโมง ให้เปอร์เซนต์ผลผลิตที่มากที่สุดคือ 3.7 +- 0.1% ในขณะที่สารสกัดที่ใช้ 30% เอทานอลเป็นตัวทำละลาย อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เวลา 6 ชั่วโมง ให้เปอร์เซนต์ผลผลิตเท่ากับ 3.1 +- 0.1% และสารสกัดที่ใช้ 30%เอทานอลในการสกัด อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เวลา 6 ชั่วโมง จะมีเปอร์เซนต์การดูดซับกลิ่นแอมโมเนียความเข้มข้น 0.1176 โมลาร์ มากที่สุดคือ 53.2 +- 2.0% ซึ่งดูดซับกลิ่นแอมโมเนียได้ดีกว่าแชมแพกซ์ที่สกัดจากเอทานอล (p<=0.05) ส่วนสารสกัดที่ใช้ 0.5%สารละลายกรดซิตริกเป็นตัวสกัด อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เวลา 6 ชั่วโมง สามารถดูดซับกลิ่นแอมโมเนียได้ 73.5 +- 1.2% ซึ่งดูดซับกลิ่นได้ต่ำกว่าแชมแพกซ์ (p>=0.05) และเมื่อนำสารสกัดจากเห็ดฟางที่สกัดด้วย 30%เอทานอล มา 10 มิลลิกรัมมาดูดซับกลิ่นทุเรียนสังเคราะห์ความเข้มข้น 3.4 ไมโครโมลาร์ จะสามารถดูดซับกลิ่นได้ 30-42% และเมื่อเพิ่มปริมาณสารสกัดเป็น 20 มิลลิกรัมก็สามารถดูดซับได้ถึง 52-69% ซึ่งการดูดซับที่ได้นี้จะดีกว่าการดูดซับของแชมแพกซ์ แต่สารสกัดจากเห็ดฟางที่สกัดด้วย 0.5%สารละลายกรดซิตริก เมื่อนำมา 10 มิลลิกรัมสามารถดูดซับกลิ่นทุเรียนสังเคราะห์ได้เพียง 27%และเมื่อเพิ่มปริมาณเป็น 20 มิลลิกรัมก็สามารถดูดซับได้เพียง 33-48% ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับกลิ่นได้น้อยกว่าแชมแพกซ์
Other Abstract: This research aims at the investigation of deodorant from straw mushroom. The effects of time, temperature and solvents on the extraction of straw mushroom (Volvariella volvacea) were investigated. The mushroom was extracted with 30% ethanol in water or 0.5% aqueous citric acid solution (pH 3.2) at temperature ranging from 60 ํC to 90 ํC for 2 to 6 hours. The extract was tested for the absorption of ammonia and synthetic durian odor and the results were compared to those of champignon mushroom extract (Champex). The extraction at 80 ํC using 0.5% aqueous citric acid for 6 hour gave the highest yield at 3.7 +- 0.1%, while the extraction using 30% ethanol at 70 ํC for 6 hour gave 3.1 +- 0.1%. The ethanol extract at 70 ํC for 6 hour showed the highest %absorption of 0.1176 molar ammonia at 53.2 +- 2.0%. The absorption is better than that of champex in ethanol (p<=0.05). The citric acid extract at 90 ํC for 6 hour showed 73.5+-1.2% adsorption which was lower than that of champex (p>=0.05). The 10 mg ethanol extract absorped 30-42% of 3.4 micromolar of durian odor while the 20 mg ethanol extract could absorp 52-69%. The absorption was better than that of champex. However, the 10 mg of citric acid extract absorped only 27% and 20mg absorped only 33-48% which were lower than those of champex
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4294
ISBN: 9741716222
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tita.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.