Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43042
Title: โครงสร้างต้นทุนรถตู้โดยสารร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
Other Titles: COST STRUCTURE OF BANGKOK MASS TRANSIT AUTHORITY JOINT SERVICE PASSENGER VANS
Authors: สุรเดช สุจริตกุล
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saksith.C@chula.ac.th
Subjects: รถตู้โดยสาร -- ต้นทุน
ต้นทุนและประสิทธิผล
Cost effectiveness
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้นถูกกำกับดูแลโดยกรมการขนส่งทางบก ซึ่งควบคุมอัตราค่าโดยสารโดยใช้อาศัยข้อมูลต้นทุนการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลต้นทุนที่ใช้กำหนดอัตราค่าโดยสารนั้นมีการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2548 ในปัจจุบันปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้วิเคราะห์ต้นทุนได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้อัตราค่าโดยสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจไม่เหมาะสม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาต้นทุนการดำเนินการของรถตู้โดยสาร โดยทำการวิเคราะห์ต้นทุนตามลักษณะของเส้นทาง แบ่งเป็นกลุ่มเส้นทางระหว่างเขตพื้นที่ศูนย์กลางเมืองและพื้นที่นอกเมือง, กลุ่มเส้นทางระหว่างพื้นที่นอกเมืองและพื้นที่นอกเมือง และกลุ่มเส้นทางบนทางด่วน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจต้นทุนจากผู้ประกอบการรถตู้ในภาคสนามพบว่าการดำเนินรถตู้โดยสารในปัจจุบันมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากเดิมที่กรมการขนส่งทางบกได้วิเคราะห์ไว้ และแต่ละกลุ่มเส้นทางมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ เมื่อทำการศึกษาโครงสร้างต้นทุนในเชิงลึกพบต้นทุนค่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกวินรถตู้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องจ่ายให้กับเจ้าของวิน มีค่าสูงถึงประมาณร้อยละ 10 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนนี้เป็นต้นทุนนอกระบบที่มีมาตั้งแต่ก่อนการอนุญาตให้นำรถตู้โดยสารมาบริการสาธารณะอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งการอนุญาตให้รถตู้เข้ามาวิ่งร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพนั้น มีวัตถุประสงค์หนึ่งก็เพื่อลดต้นทุนนอกระบบดังกล่าว แต่ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าระบบในการจัดระเบียบรถตู้ที่ใช้ควบคุมอยู่ในปัจจุบันว่ามีส่วนทำให้ต้นทุนการดำเนินการเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นระบบกำกับดูแลรถตู้จึงควรได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: Operations of passenger van services in Bangkok Metropolitan Region are regulated by the Department of Land Transport, which controls fare schedules, based on van operating costs. However, the cost data that are used to determine the fare was last updated in 2005, and therefore the fare regulation based on them is outdated. The objective of this thesis is to analyze the operating costs of passenger vans in three categories of van routes, including CBD-to-suburban, suburban-to-suburban, and expressway routes. The analysis of costs data collected by field survey of van operators shows that the operating cost of passenger vans have increased significantly since 2005. The cost structures also differ among route categories. Moreover, the results show that the route association membership payment represents approximately 10 percent of the total operating costs. These informal payments were common prior to the legalization of passenger van services, and one of the objectives of allowing the vans to operate jointly with Bangkok Mass Transit Authority is to eliminate these costs. The finding of this research shows that the current regulatory system of passenger vans imposed unnecessary costs on van operations, and reforms of the van regulation are needed to address the problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43042
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.512
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.512
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570427721.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.