Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43270
Title: ผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมอง
Other Titles: EFFECT OF INFORMATION AND EMOTIONAL SUPPORT ON ANXIETY AMONG CAREGIVERS OF BRAIN TUMOR PATIENTS
Authors: วิจิตรา บูรณศรีกุล
Advisors: ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: doctorpuchong@yahoo.com
Subjects: ผู้ป่วย -- การดูแล
ผู้ดูแล -- สุขภาพจิต
Care of the sick
Caregivers -- Mental health
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื้องอกสมองเป็นโรคเรื้อรังและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและทุพพลภาพ ผลกระทบดังกล่าวไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเท่านั้นแต่ส่งผลถึงผู้ดูแลผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมอง เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมองที่มาเยี่ยมและดูแลผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยธนาคารกรุงเทพ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท 1 และ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท 2ธนาคารกรุงเทพ จำนวน 24 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 ราย และกลุ่มควบคุม 12 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ประเมินระดับความวิตกกังวลกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ แบบวัดความวิตกกังวล State - Trait Anxiety Inventory form Y ตัวอย่างทั้งหมดตอบแบบวัดความวิตกกังวล 2 ครั้ง ครั้งแรกก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลในกลุ่มทดลองและก่อนได้รับการพยาบาลปกติ ในกลุ่มควบคุม และ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 ภายหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ หรือการพยาบาลปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติเชิงบรรยาย ทดสอบความแตกต่างของความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มโดยใช้ Non-Parametric Mann- Whitney test ทดสอบความแตกต่างของความวิตกกังวลภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้ Non - Parametric แบบ Wilcoxon วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้ ANCOVA ผลการศึกษานี้พบว่า คะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) แต่ค่าคะแนนความวิตกกังวลแฝงในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ สามารถลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยเนื้องอกสมองได้ ซึ่งการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลและการทำวิจัยในครั้งต่อไป
Other Abstract: The purposes of this study were to study of Effect of Information and Emotional Support on Anxiety among Caregivers of Brain Tumor Patients Hospital and were recuited by Random sampling. State-trait Anxiety Inventory used to measure anxiety before and after participation stay in the hospital. The data were analyzed by Chi square and the statistic used to analyzed Non-Parametric Mann- Whitney test and Non-Parametric Wilcoxon by SPSS. This study, the evaluate between the experimental group and control group from STAI-Y on 1 st and 3 rd day before receiving the information and emotional support from both groups, there are no significants. Also the 1 st and 3 rd after receiving the information and emotional supported of the caregivers of brain tumor patient. The experimental group after receiving the information and emotional support program was the state anxiety significantly lower than that of the control group phase(p<0.05) and the trait anxiety the both group was no significantly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43270
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.678
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.678
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374655030.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.