Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43325
Title: การให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อนิติบุคคลและผู้ถือหุ้น : ศึกษาคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระหว่างปี ค.ศ. 1970 - 2010
Other Titles: DIPLOMATIC PROTECTION FOR JURISTIC PERSONS AND THEIR SHAREHOLDERS : A STUDY ON THE JUDGMENTS OF THE INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE BETWEEN 1970 - 2010
Authors: ปริยาภา ลาภอนันต์
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: chum_phorn@hotmail.com
Subjects: ความคุ้มครองทางการทูต
ศาลโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Diplomatic protection
International relations
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การให้ความคุ้มครองทางการทูตเป็นวิธีการเรียกร้องโดยรัฐแทนคนชาติซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ บุคคลธรรมดาสามารถได้รับความคุ้มครองทางการทูตฉันใด นิติบุคคลและผู้ถือหุ้นก็สมควรได้รับความคุ้มครองทางการทูตฉันนั้น ทว่าประเด็นปัญหาประการแรกคือรัฐใดควรเป็นรัฐที่มีสิทธิให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อนิติบุคคล ประการที่สองคือการให้ความคุ้มครองทางการทูตโดยรัฐเจ้าของสัญชาติผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นกลไกทางเงินทุนหลักของบริษัท หากเป็นกรณีที่สิทธิโดยตรงของผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย รัฐเจ้าของสัญชาติผู้ถือหุ้นย่อมมีสิทธิให้ความคุ้มครองทางการทูตได้ทันที อย่างไรก็ดีหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือเมื่อความเสียหายเกิดแก่บริษัท ความเสียหายเช่นว่าอาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือผลประโยชน์ต่างๆที่ผู้ถือหุ้นพึงมีจึงเกิดคำถามว่าในทางกฎหมายระหว่างประเทศนั้น รัฐเจ้าของสัญชาติผู้ถือหุ้นจะสามารถให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนชาติของตนในกรณีเช่นนี้ได้หรือไม่ ความไม่ชัดเจนในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อนิติบุคคลและผู้ถือหุ้นนั้นกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้นเมื่อคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจำนวน 3 คดี ได้แก่ คดี Barcelona Traction คดี ELSI และคดี Diallo รวมถึงร่างข้อบทว่าด้วยการให้ความคุ้มครองทางการทูตได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการนำหลักกฎหมายมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นปัญหาดังข้างต้น โดยคำพิพากษาศาลทั้งสามคดีแสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิเท่านั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้อง ฉะนั้นในกรณีที่บริษัทได้รับความเสียหาย รัฐเจ้าของสัญชาติบริษัทเท่านั้นที่มีสิทธิให้ความคุ้มครองทางการทูต แต่ก็มีเงื่อนไขบางประการที่ส่งผลให้รัฐเจ้าของสัญชาติผู้ถือหุ้นมีสิทธิให้ความคุ้มครองทางการทูตแม้สิทธิที่ถูกละเมิดจะเป็นสิทธิของบริษัทก็ตามที เมื่อหลักการให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อนิติบุคคลและผู้ถือหุ้นมีกรอบและเงื่อนไขที่ชัดเจน รัฐต่างๆย่อมสามารถประเมินข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของตนได้ล่วงหน้าก่อนการอ้างสิทธิเพื่อให้ความคุ้มครองทางการทูต
Other Abstract: Diplomatic Protection, one of the channels of claims by a State on behalf of its nationals, has been accepted as International Customary Law. Juristic persons and their shareholders shall also be diplomatically protected as natural persons. There was, however, no resolution at some points. Firstly, which State would be qualified to protect those injured corporations? Secondly, diplomatic protection by the national State of shareholders when the corporation is directly injured, such injury may also affect the rights and interests of those who hold shares. A question has arisen under ‘International law’ whether the shareholders’ national State can exercise diplomatic protection to its own nationals or not. After Barcelona Traction Case, ELSI Case and Diallo Case as well as Draft Articles on Diplomatic Protection, rules relating to diplomatic protection to juristic persons and their shareholders have been clarified in details with some newly established legal conditions. The decisions of the courts in these three cases confirm that only violated persons can enjoy the right to claim; therefore, when the corporation is directly injured, only its national State can exercise diplomatic protection by claiming on its behalf according to general rules. Only under certain limited conditions, the national State of shareholders can also exercise diplomatic protection, even though the corporation is directly injured. When the principles of diplomatic protection for juristic persons and their shareholders have been clarified, States can estimate advantages and disadvantages prior to the exercise of diplomatic protection.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43325
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.773
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.773
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386012434.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.