Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43492
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | วรวรรณ เจริญอัตถะศีล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:38:49Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:38:49Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43492 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ภูมิหลัง : ปัจจุบันการรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดถือเป็นการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการเปิดเส้นเลือดได้ ยังมีผู้ป่วยบางส่วนเกิด Major adverse cardiac events (MACE) ขึ้นในภายหลัง โดยจากการศีกษาก่อนหน้านี้พบว่าปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 75 ปี, เพศหญิง, Killip’s class IV, เส้นเลือดหัวใจตีบหลายเส้น และการบีบตัวของหัวใจน้อยกว่าร้อยละ 40 ในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับการใช้ซีรั่มแลคเตทในการประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยกลุ่มนี้. วัตถุประสงค์ : เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับซีรั่มแลคเตทขณะแรกรับในโรงพยาบาลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันกับการเกิด Major adverse cardiac events (MACE) ในโรงพยาบาล ได้แก่ อัตราการเสียชีวิต, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ, ภาวะช็อค, ภาวะหัวใจล้มเหลว และอัตราการเสียชีวิตที่ 30 วันหลังจากออกจากโรงพยาบาล ภายหลังได้รับการรักษาด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจพร้อมกับการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน. วิธีการวิจัย : การวิจัยแบบไปข้างหน้าโดยเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ผู้ป่วย 72 รายในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556) โดยดูระดับซีรั่มแลคเตท, ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย, อัตราการเสียชีวิต, อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ, ภาวะช็อกภาวะหัวใจล้มเหลวขณะอยู่ในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตที่ 30 วันหลังจากออกจากโรงพยาบาล. ผลการศึกษา : ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจำนวน 55 ราย ที่เข้าเกณฑ์การศึกษา พบว่าอายุเฉลี่ย 56 ± 14 ปี โดยผู้ป่วยร้อยละ 11 มีอายุเกินกว่า 75 ปี ผู้ป่วยเกินครึ่งหนึ่งถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น มีผู้ป่วยร้อยละ 16.7 ที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าร้อยละ 40และผู้ป่วยร้อยละ 27.3 อยู่ภาวะ Killip’s class IV หลังจากได้รับการฉีดสีวินิจฉัยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบหลายเส้น และอัตราการประสบความสำเร็จหลังได้รับการรักษาด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจพร้อมกับการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนเท่ากับร้อยละ 96.4 ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 12.7 อัตราการเกิด MACE ในโรงพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 34.5 จากข้อมูลที่ได้ค่าเฉลี่ยของระดับซีรั่มแลคเตทในผู้ป่วยที่เกิด MACE และไม่เกิด MACE มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.88 vs 1.55 mmol/L, p<0.001) และผู้ป่วยรายที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าร้อยละ 40 หรือมีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบหลายเส้น มีอัตราการเกิด MACE สูงกว่าอีกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.006, p = 0.023 ตามลำดับ) ถ้าแบ่งตามอายุและเพศ พบว่าไม่มีความแตกต่างของอัตราการเกิด MACE (p = 0.947, p = 0.73 ตามลำดับ) นอกจากนี้อัตราการเสียชีวิตที่ 30วันหลังจากออกจากโรงพยาบาลอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ซึ่งไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของระดับซีรั่มแลคเตทในทั้งสองกลุ่ม (p = 0.841). หลังจากนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วย multivariate logistic regression analysis โดยควบคุมปัจจัยอื่นแล้วระดับซีรั่มแลคเตทและ Killip's class มีผลต่อการเกิด MACE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted OR = 9.9; 95%CI = [1.4-69.4] และ 11.4; 95%CI = [2.5-51.6]). เมื่อนำข้อมูลค่าระดับซีรั่มแลคเตทมาดูความสัมพันธ์กับอัตราการเกิด MACE โดยใช้ ROC curve พบว่าค่า Cut Point ของระดับซีรั่มแลคเตทที่ 1.85 mmol/L โดยมีพื้นที่ใต้เส้นโค้งร้อยละ 88.9 (95%CI, 0.82-0.95, p value < 0.001) จะมีค่า Sensitivity, Specificity, PPV และ NPV อยู่ที่ร้อยละ 100, 77.8, 70.4% และร้อยละ 100 ตามลำดับ. สรุป : ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ระดับซีรั่มแลคเตทที่สูงจะสัมพันธ์กับอัตราการเกิด MACE ในโรงพยาบาลแต่ไม่สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่ 30 วัน การใช้ระดับซีรั่มแลคเตทในขณะแรกรับที่โรงพยาบาลสามารถช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิด MACE ผู้ป่วยกลุ่มนี้เบื้องต้นได้ดีขึ้น. | en_US |
dc.description.abstractalternative | BACKGROUND: Primary percutaneous coronary intervention (PCI) appears to be the preferred reperfusion method for patients with ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) but after successful reperfusion there are some patients had poor outcomes. From previous study, the risk factors were old age, female, Killip’s class IV, multivessel disease and LVEF < 40%. Little is known about the clinical correlates of arterial serum lactate in patients with ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI). OBJECTIVE: To determine the arterial serum lactate was a predictor for in-hospital major adverse cardiac events (MACE); death, re-infarction, shock, heart failure and 30 day mortality in acute myocardial infarction patients who treated with primary percutaneous coronary intervention (PCI). METHODS: The prospective cohort single-center study at King Chulalongkorn Memorial Hospital enrolled 72 STEMI patients who treated with primary percutaneous coronary intervention (PCI) between 1 January 2013 and 31 October 2013 (10 months) analyses arterial serum lactate, clinical characteristics, angiographic feature, in-hospital outcomes and 30 day mortality. RESULTS: Fifty-five consecutive patients with STEMI were included in the study. The baseline characteristic the mean age was 56 ± 14 years and 11% were older than 75 years old. Fifty-eight percent of patients were referred from non-PCI capable hospital. There were 16.7 % of patients with left ventricular ejection fraction less than 40% and 27.3% of patients with Killip’s class IV. About half of the patients had multi-vessels disease. The overall angiographic success rate was 96.4%. During hospitalization, in-hospital mortality rate was 12.7% and MACE rate (death, re-infarction, cardiogenic shock and heart failure) was 34.5 %. The mean arterial serum lactate at admission was significant different in MACE group compare with no MACE group (5.88 vs 1.55 mmol/L, p<0.001). Patients who had LVEF below 40% or multi-vessels disease were significant factors that effect in-hospital MACE (p = 0.006, p = 0.023, respectively). There were no significant different in in-hospital MACE after classified by age and sex (p = 0.947, p = 0.73, respectively). After adjusted by Age, Gender, LVEF < 40% and Multi-vessels disease, Lactate and Killip’s class were the predictors for in-hospital MACE (adjusted OR = 9.9; 95%CI = [1.4-69.4] and 11.4 ; 95%CI = [2.5 - 51.6], respectively). The 30 days mortality rate after discharge was 3.9%, there was no significant different of mean arterial serum lactate in both groups (p = 0.841). By ROC curve, a cutoff value of arterial serum lactate 1.85 mmol/L to in-hospital MACE, the sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value were 100%, 77.8%, 70.4% and 100% respectively. CONCLUSIONS: In STEMI patients, higher lactate levels was related with in-hospital MACE but not related with 30 day mortality. Point-of-care measurement of arterial lactate at admission in patients with STEMI has the potential to improve immediate risk stratification in these patients. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.972 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กล้ามเนื้อหัวใจตาย | |
dc.subject | หัวใจ -- โรค -- การรักษา | |
dc.subject | Myocardial infarction | |
dc.subject | Heart -- Diseases -- Treatment | |
dc.title | การใช้ซีรั่มแลคเตทจากเลือดแดงขณะแรกรับในโรงพยาบาลเป็นตัวทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจพร้อมกับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน | en_US |
dc.title.alternative | ARTERIAL SERUM LACTATE AT ADMISSION AS A PREDICTOR OF IN-HOSPITAL MAJOR ADVERSE CARDIAC EVENTS (MACE) IN ACUTE MYOCARDIAL INFARCTION WHO TREATED WITH PRIMARY PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION (PCI) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | cjarkarp@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.972 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574156330.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.