Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43794
Title: วิเคราะห์เดี่ยวซอสามสายเพลงพญาโศก พญาครวญ พญารำพึง สามชั้น กรณีศึกษา อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน
Other Titles: THE MUSICAL ANALYSIS OF PHYASOK, PHYAKHRUAN AND PHYARUMPHUENG FOR SAWSAMSAI SOLO: A CASE STUDY OF CHARERNJAI SUNDARAVADIN
Authors: ประชากร ศรีสาคร
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pornprapit.p@chula.ac.th
Subjects: ซอสามสาย
เพลง -- การวิเคราะห์
ดุริยางควิทยา
Songs -- Analysis
Musicology
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องวิเคราะห์เดี่ยวซอสามสายเพลงพญาโศก พญาครวญ พญารำพึง สามชั้น กรณีศึกษาอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติของบทเพลงทั้ง 3 เพื่อวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ การเคลื่อนที่ของทำนอง และกลวิธีพิเศษ เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางเดี่ยว ทั้ง 3 เพลง การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยได้รวบรวมข้อมูลเอกสาร และสัมภาษณ์ศิษย์ของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน จากการวิเคราะห์เดี่ยวซอสามสายเพลงพญาโศก พญาครวญ พญารำพึง สามชั้น พบว่าทั้ง 3 เพลงนั้นเป็นเพลงที่อยู่ในเพลงเรื่องพญาโศก การนำเพลงทั้ง 3 เพลงมาประพันธ์เป็นทางเดี่ยวซอสามสาย มีโครงสร้างการประพันธ์เหมือนกันทั้ง 3 เพลง เนื่องจากทั้ง 3 เพลงนี้เป็นเพลงท่อนเดียว ผู้ประพันธ์จึงวางทำนองเป็นทางโอด และทางพัน ครบเป็น 3 เที่ยวกลับ โดยในทางโอดพบว่ามีลีลาของท่วงทำนองที่ช้า ใช้น้ำหนักเสียงที่ดัง และค่อย เพื่อให้เกิดอารมณ์ตามบทเพลงโดยแทรกกลวิธีพิเศษ 10 ประเภท คือ พรมจาก สะบัด สะอึก รูดสาย ทดนิ้ว นิ้วชั่ง กระทบเสียง นิ้วนาคสะดุ้ง ยักจังหวะ และผันเสียง ส่วนในทางพันพบสำนวนกลอนที่นำมาจากสำนวนปี่ในเพลงพญาโศก พญาครวญ พญารำพึง สามชั้น ร่วมกับทำนองเดี่ยวซอสามสาย เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของทำนองหลักกับทางเดี่ยวพบว่าการเคลื่อนที่ของทำนองเดี่ยวส่วนใหญ่มีทิศทางเดียวกับทำนองหลัก แต่บางช่วงมีสำนวนสวนทางกับทำนองหลักเนื่องจากการวางสำนวนของผู้ประพันธ์ ทางเสียงของทั้ง 3 เพลงนี้มีการเปลี่ยนทางเสียงตลอดทั้งเพลง โดยทั้ง 3 เพลงจะเริ่มต้นด้วยทางเพียงออบน โดยนำส่วนท้ายเพลงมาเป็นส่วนขึ้นทำนอง เมื่อลงจบเพลงมีการเปลี่ยนทางเสียงจากทางนอกเป็นทางเพียงออบนก่อนจะจบเพลงเหมือนกันทั้ง 3 เพลง ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงพญาโศก พญาครวญ พญารำพึง สามชั้น กรณีศึกษาอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน เป็นบทเพลงที่มี ความไพเราะ น่าฟัง และรวมเอากลวิธีพิเศษการบรรเลงเดี่ยวไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นผลงานแสดงความสามารถทางด้านดุริยางคศิลป์ได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: The study reveals that the three solo pieces has their origin in Pleng Rueng Phyasok and are written in the similar compositional structure. Furthermore, since the three songs are of unitary form, they are composed with the musical variative techniques: Thaang Oad and Thaang Punn. In the first-half of the melodies the melody is in played along with the use of crescendo to express emotion according to that of the songs as well as with the embedding of advanced techniques including “Prom Jark,” “Sa Bad,” “Sa Euk,” “Rood Sai,” “Tod New,” “New Chang,” “Kratop Seiang,” “New Nak Sadoong,” “Yak Jangwa,” and “Phan Seiang.” In the second-half known as “Thaang Punn,” the melodic lines resemble those in Phyasok, Phyakhruan and Phyarumphueng which are imitated from Phee and Sawsamsai itself. By analysing the skeleton melody in correspondence with the solo one, the movement of the solo melody is performed in the similar way to that of the skeleton melody. Still, some parts of the melodies are played in reverse according to the composer’s intention. The melodic scales are constantly changed through out the pieces: All songs have the “Thaang Pieng Or Bon” as their starting scale which is played in reverse. In the final stage of performing, the melodic scales are shifted from “Thaang Nork” to “Thaang Pieng Or Bon” in all three songs. The Sawsamsai solo of Phyasok, Phyakhruan and Phyarumphueng by Charernjai Sundaravadin proves itself to be euphonious, pleasant and accompanied by various advanced solo techniques. Its wholeness is a fair proof to her musical performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43794
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1262
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1262
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386612035.pdf9.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.