Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43800
Title: วิถีปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมและปัจจัยสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพระสงฆ์ในแหล่งพัฒนาอุตสาหกรรม
Other Titles: PRACTICE OF BUDDHIST DHARMA AND SOCIAL FACTORS INFLUENCING HEALTH IMPACT OF MONKS IN INDUSTRIAL DEVELOPMENT AREA
Authors: วัชรินทร์ ออละออ
Advisors: พินิจ ลาภธนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: plapthananon@hotmail.com
Subjects: พฤติกรรมสุขภาพ
สงฆ์
โภชนาการ
Health behavior
Priests, Buddhist
Nutrition
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพ ตลอดจนปัจจัยสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งวิถีปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมเพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พระภิกษุที่อาศัยอยู่ในวัดในเขตใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ วัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ จำนวน 10 รูป วัดหัวลำภูทอง จำนวน 17 รูป และวัดน้อยสุวรรณาราม จำนวน 15 รูป และ 2) ญาติโยมที่ใส่บาตรพระสงฆ์ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา ได้แก่ หมู่บ้านคลองคอต่อ หมู่บ้านหัวลำภู และหมู่บ้านคลองเก้า หมู่บ้านละ 20 ราย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ปัญหาสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ระบบทางเดินหายใจ กระเพาะอาหารอักเสบ เบาหวาน โรคผิวหนัง โรคเกี่ยวกับเลือด โรคหัวใจ โรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ และความเสื่อมในระบบสายตา ซึ่งเป็นผลมาจากการฉันของบริโภค และมลภาวะในชุมชน ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของพระภิกษุประกอบด้วย 1) ปัจจัยระดับปัจเจก คือ พฤติกรรมการฉันภัตตาหาร พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย ข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์แต่ละวัด พฤติกรรมการใส่บาตรของญาติโยม ชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกกับการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของวัด 2) ปัจจัยทางสังคม คือ ลักษณะทางครอบครัว อาชีพ ความสำนึกต่อความเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน และ 3) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม คือ ความเหมาะสมของตำแหน่งหรือสถานที่ตั้งวัด โครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมภายในวัด วิถีปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมในการอยู่ร่วมกับปัญหาสุขภาพของพระภิกษุนั้น ประการสำคัญคือ ต้องยึดหลักศีลสิกขาในการเลือกฉันของบริโภคที่เป็นประโยชน์และถูกสุขลักษณะ แม้ว่าพระภิกษุจะไม่สามารถแสดงความต้องการในการฉันอาหารได้ก็ตาม อีกทั้งยังต้องใช้หลักสัปปายะ 4 มาใช้ในการจัดการปัญหามลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ และการปล่อยวางจากความเครียดและฟื้นฟูจิตใจด้วยการนั่งสมาธิเพื่อแก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะควรจะเผยแผ่และนำเสนอวิธีการดูแลด้านโภชนาการของพระสงฆ์ให้ทราบอย่างกว้างขวาง เช่น การจัดทำป้ายแนะนำการรับประทานอาหารที่เหมาะสม วิธีการสังเกตอาการของโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในพระภิกษุ การป้องกันหรือการดูแลรักษาสุขภาพหากมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ รวมทั้งการออกกำลังกายที่เหมาะสม เป็นต้น ทั้งนี้สามารถดำเนินการได้โดยพระภิกษุในวัด หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงก็ได้
Other Abstract: This research study aims to study on health problems and social factors that result on the health problems of the monks in the industrial development area of Samutprakan province. This also includes the ways to act according to Buddhist principles to suggest as the health improving guideline for the monks. This study applies qualitative method searching through the sources of document, observation, and in-depth interviews with the two vital groups of information sharing which are; 1) the monks live in the temples in the areas near to Bangpu industrial district, Samutprakan province for example, 10 from Wat Srichanpradit, 17 from Wat Hualumpootong, 15 from Wat Noisuwanaram. 2) People who give food to the monks in the study area such as Klongkortor village, Hualumpoo village, and Klongkaow village; for 20 samples from each village. The study result shows that the health problems of the monks in the industrial development area of Samutprakan province are for example High blood pressure, respiratory system, gastritis, Diabetes, skin disease, blood disease, heart disease, cancer in any organs, degenerate in eyes system in which resulted from the food consumption and community pollution. Factors that have the impacts on the monk’s health are consisting of 1) individual factors; the food consumption behavior, exercising behavior, and the religion principle acts of the monks in each temple; the food giving habits of the people, community or the external units that take part in the temples’ activities. 2) Social factor refers to the characteristics of family, occupations, awareness as the mutual owner of the community; and 3) Environmental factor refers to the suitable location of the temples, infrastructure, and the temple environment. The act of Buddhist rule to stay together with the health problems of the monks; the key is to seize on the religious rite by selecting to consume the food with good nutrition and hygiene though the monk cannot present the need to consume. Moreover, Sappaya 4 principle must be used to solve the air and water pollution; plus to relieve from stress and improve the mind with concentration to guard away the noise pollution that creates annoyance. Therefore, suggestion is made that there shall be the widely presentation of the methods to take care on the nutrition for the monk such as making the poster to suggest the proper food consuming, the methods to notice the symptoms of the diseases usually found among the monks, prevention of health problems or health caring if there is a risk for any diseases; as well as the suitable exercise. Thus, these can be done by the monks in the temple or the National Buddhism office can propagate the campaign thoroughly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43800
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1266
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1266
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387215720.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.