Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43811
Title: แนวทางจัดการของเสียอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
Other Titles: WASTE MANAGEMENT GUIDELINE FOR ELECTRICAL AND ELECTRONICS INDUSTRY IN AMATA NAKHORN INDUSTRIAL ESTATE
Authors: ธิดารัตน์ กรึมกระโทก
Advisors: มนัสกร ราชากรกิจ
ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: manaskorn@gmail.com
pthantip@gmail.com
Subjects: ของเสียจากเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า -- การจัดการ
โรงงาน -- การกำจัดของเสีย
การกำจัดของเสีย
Waste electric apparatus and appliances -- Management
Factories -- Waste disposal
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตด้านการผลิตอย่างรวดเร็วที่สุด โดยมีร้อยละ 11.20 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ ศึกษาประเภทและจำนวนของของเสียจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และทราบถึงระบบการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ข้อมูลของเสียได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้แบบสำรวจและฐานข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรมระหว่างปีพ.ศ. 2551-2555 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อมูลจาก 36 บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีของเสียปริมาณ 39,702.38 ตัน ของเสียจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยโลหะ (49.69%) บรรจุภัณฑ์ (22.50%) น้ำมัน (11.13%) น้ำเสีย (4.18%) พลาสติก (3.95%) วัสดุดูดซับ ผ้าสำหรับเช็ด และชุดป้องกัน (2.84%) ของเสียอิเล็กทรอนิกส์ (2.27%) ตะกอนบำบัดน้ำเสีย (1.67%) ตัวทำละลายที่ใช้แล้ว (1.56%)และของเสียอื่นๆ (0.22%) การจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัทใช้คือ หลัก 3Rs (73.00%) การฝังกลบ (23.33) การเผาทำลาย (3.15%) และอื่นๆ (0.53%) แนวทางการเลือกวิธีการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาเฉพาะของเสียที่จัดการโดยวิธีฝังกลบ วิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multi criteria analysis; MCA) ปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จากการวิเคราะห์พบว่า ของเสียประเภทโลหะ พลาสติก บรรจุภัณฑ์ และวัสดุดูดซับหรือวัสดุปนเปื้อนชนิดซิลิกอน มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ในรูปของวัตถุดิบทดแทน ควรจัดการโดยการคัดแยกชนิดของของเสียและรวบรวมเพื่อจำหน่ายหรือผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ของเสียประเภทของเสียอิเล็กทรอนิกส์ ชนิดเศษแผ่นวงจรพิมพ์และของเสียประเภทตะกอนบำบัดน้ำเสียมีโลหะปนเปื้อนควรจัดการโดยการแยกโลหะโดยใช้สารละลาย (Hydrometallurgy) เป็นต้น
Other Abstract: Electrical and Electronics (E&E) Industry is the world’s fastest growing manufacturing industry. E&E Industry is industrial cluster of Amata Nakorn Industrial Estate, which account for 14.02% (69 companies). The research objectives are to study of types and quantities of E&E wastes and to understand current E&E waste management system in Amata Nakorn Industrial Estate. Waste data were collected through interviews of related person by questionnaires and waste database between 2008 and 2012 from Department of Industrial Works. The waste data from 36 companies indicated that the estimated volume waste of E&E industry in this estate was about 39,702.38 tons. The E&E wastes contained metal (49.69%), waste packaging (22.50%), oily waste (11.13%), waste water (4.18%), plastics (3.95%), absorbents, wiping cloths and protective clothing (2.84%), waste from electrical and electronic equipment (2.27%), waste water sludge (1.67%), used solvent (1.56% )and other wastes (0.53%). E&E waste management options chosen by companies were recycling (73.00%), landfill disposal (23.33%), incineration (3.15%) and other (0.53%). The alternative management for wastes from E&E Industry was studied for wastes that had been disposed of in landfills and analyzed using Multi Criteria Analysis (MCA), Criteria included technological, economic and environmental considerations. Results indicated that metal, waste packaging and silica gel had the potential to be recycled or used as alternative raw materials. Printed circuit boards and metals wastewater sludge had great potential for metal recovery by Hydrometallurgy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43811
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1232
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1232
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470229721.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.