Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43851
Title: ผลของปัสสาวะจากผู้ป่วยโรคนิ่วไตก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยสูตรมะนาวผงเป็นเวลา 6 เดือน ต่อการกระตุ้นภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการอักเสบในเซลล์บุผิวท่อไต
Other Titles: EFFECTS OF URINES FROM NEPHROLITHIASIS PATIENTS BEFORE AND AFTER 6-MONTHS TREATMENT WITH LIME POWDER REGIMEN ON OXIDATIVE STRESS AND INFLAMMATION IN RENAL TUBULAR CELLS
Authors: เกียรติศักดิ์ วณิชาชีวะ
Advisors: ชาญชัย บุญหล้า
ฐสิณัส ดิษยบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: chanchai.b@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สารสกัดจากพืช
นิ่วไต
ภาวะเครียดออกซิเดชัน
Plant extracts
Kidneys -- Calculi
Oxidative stress
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาก่อนหน้านี้รายงานว่าภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการอักเสบเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยโรคนิ่วไต และเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยสูตรมะนาวผง (LPR) เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าสามารถลดภาวะเครียดจากออกซิเดชันได้อย่างมีนัยสำคัญ และมีการรายงานว่า sialic acid บนผิวเซลล์ทำหน้าที่เป็นตัวรับจับกับผลึกแคลเซียมได้ ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัสสาวะจากผู้ป่วยโรคนิ่วไตก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยสูตรมะนาวผงหรือยาหลอก (placebo) ต่อการกระตุ้นภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการอักเสบ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระดับ sialic acid ในเซลล์บุผิวท่อไต (HK-2 cells) เก็บสารตัวอย่างปัสสาวะ 24 ชั่วโมงจากผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับสูตรมะนาวผงจำนวน 5 ราย และผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาหลอกจำนวน 5 ราย ทดสอบผลของปัสสาวะที่ได้จากผู้ป่วยโรคนิ่วไตแต่ละรายกับเซลล์บุผิวท่อไต ใช้ H2O2 และ TNF-α เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชันและการอักเสบตามลำดับ วิเคราะห์การมีชีวิตรอดของเซลล์ ตรวจวัดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน ซึ่งใช้ตัวบ่งชี้ protein carbonyl, intracellular reactive oxygen species (ROS) production, total antioxidant status (TAS) และ catalase activity ตรวจวัดการอักเสบของเซลล์ท่อบุไต โดยอาศัยการวัดการกระตุ้น NF-kB และวัดระดับ sialic acid ในเซลล์บุผิวท่อไต ผลการศึกษาพบว่า ปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตความเข้มข้น 20% (v/v), 50 µM H2O2 และ 10 ng/mL TNF-α ไม่เป็นพิษต่อเซลล์บุผิวท่อไต ระดับ protein carbonyl และการสร้าง ROS เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ TAS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในเซลล์ที่ได้รับ H2O2 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และในเซลล์ที่ได้รับปัสสาวะของกลุ่มผู้ป่วยโรคนิ่วไตหลังได้รับ LPR มีระดับ protein carbonyl การสร้าง ROS และระดับ sialic acid ลดลง และระดับ TAS เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มก่อนได้รับ LRR ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการกระตุ้น NF-kB ในเซลล์ที่ได้รับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตก่อนและหลังได้รับการรักษา ทั้งในกลุ่ม LPR และ placebo จึงสรุปได้ว่าปัสสาวะจากผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับการรักษาด้วย LPR สามารถลดภาวะเครียดจากออกซิเดชันและระดับ sialic acid ในเซลล์บุผิวท่อไตได้ ขณะที่ปัสสาวะจากผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับการรักษาด้วย placebo ไม่สามารถทำได้ ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลระดับเซลล์ที่สนับสนุนว่าการรักษาด้วยสูตรมะนาวผงน่าจะสามารถป้องกันหรือความเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วซ้ำได้
Other Abstract: We previously reported increases in oxidative damage and inflammation in stone-containing kidneys of nephrolithiasis patients, and the patients 6-months-treated with lime powder regimen (LPR) showed significantly decrease in oxidative stress. Sialic acid has been proposed as a cell surface binding molecule for calcium crystals. In this study, we investigated the effect of urine from nephrolithiasis patients before and after treatment with LPR or placebo on oxidative stress induction, inflammatory activation and change of sialic acid content in human renal proximal tubular (HK-2) cells. Pre- and post-treatment 24-hr urine samples were collected from 5 LPR-treated patients and 5 placebo-treated patients. HK-2 cells were challenged with urine from each subject. H2O2 and TNF-α treatments were used as positive controls for inductions of oxidative stress and inflammation, respectively. Protein carbonyl, intracellular reactive oxygen species (ROS), total antioxidant status (TAS), catalase activity, NF-kB activation and sialic acid content in the urine-challenged cells were measured. Viability of HK-2 cells exposed to 20% (v/v) urine, 50 µM H2O2 and 10 ng/mL TNF-α did not significantly alter. Protein carbonyl content and intracellular ROS generation were significantly increased, while TAS was significantly decreased in H2O2-treated cells compared with the untreated cells. Post-LPR-treated urine significantly caused decreases in protein carbonyl and intracellular ROS, and increase in TAS compared with the pre-LPR-treated urine. Sialic acid content was significantly decreased in cells exposed to the post-LPR-treated urine. Change of NF-kB activation was not found in cells exposed to pre- vs. post-treatment urine in both PLR and placebo groups. Conclusion, urine from LPR-treated patients, but not from placebo-treated patients, was capable of reducing oxidative stress and sialic acid content in renal tubular cells. This cellular evidence supports a beneficial effect of LPR treatment for preventing recurrent formation of kidney calculi.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43851
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1308
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1308
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474178030.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.