Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4389
Title: ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในเด็กอ้วน
Other Titles: Prevalence and risk factors of hypercholesterolemia in obese children
Authors: ภารวี หิรัญรัตน์
Advisors: ไพโรจน์ โชติวิทยธารากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โคเลสเตอรอล
โรคอ้วนในเด็ก
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในเด็กอ้วน รูปแบบการศึกษา: เป็นการทำวิจัยแบบวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ศึกษา: โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ประชากรที่ศึกษา: เด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน อายุระหว่าง 12-15 ปี ที่มีน้ำหนัก ต่อ น้ำหนักต่อความสูง มากกว่าร้อยละ 120 โดยไม่มีโรคของต่อมไร้ท่อ หรือโรคทางโครโมโซม และไม่ได้รับประทานยาตัวหนึ่งตัวใดในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา วิธีการศึกษา: เด็กที่เข้าร่วมการศึกษาทุกรายจะได้รับการซักประวัติครอบครัวเกี่ยวกับการมีโรคหัวใจขาดเลือดและภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ และตรวจระดับโคเลสเตอรอลโดยวิธีการเจาะเลือดจากปลายนิ้วและตรวจโดยใช้แผ่นตรวจเลือด ด้วยวิธีของ Reflotron dry chemistry โดยไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด ผลการศึกษา: เด็กอ้วนที่เข้าร่วมการศึกษา 89 ราย มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 170 มก/ดล จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.8 พบว่าระดับความอ้วน และประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ (p>0.05) ส่วนการมีประวัติภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงของบิดาและ/หรือมารดา มีความสัมพันธ์กับการมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.02) สรุป: เด็กอ้วนมีความชุกของภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงร้อยละ 34.8 การใช้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงของบิดาและ/หรือมารดา เป็นปัจจัยร่วมในการเลือกตรวจระดับโคเลสเตอรอลในเลือดในเด็กอ้วนจะทำให้สามารถตรวจพบภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงในเด็กอ้วนได้มากขึ้น
Other Abstract: To determine the prevalence and identify the risk factors of hypercholesterolemia in obese children. Design : Cross sectional analytic study. Setting : Bangkok Christian College. Target populations : Students grade 7-9, age between 12-15 years, who had body weight greater than 120% of percent weight for height, and did not have any endocrine diseases, chromosomal abnormalities or take any drugs, were included in this study. Interventions : All subjects were taken parentaly history of hypercholesterolemia and coronary heart disease. Non-fasting capillary blood cholesterol level was measured by reflotron dry chemistry method and hypercholesterolemia was determined when total blood cholesterol level > 170 mg/dl. Results : Thirty-one from 89 obese children (34.8%) had non-fasting capillary blood cholesterol level > 170 mg/dl. There were no significant associations between severity of obesity, family history of coronary heart disease and hypercholesterolemia. (p>0.05) but there was a significant association between parental hypercholesterolemia and hypercholesterolemia. (p = 0.02) Conclusions : Obese children had high prevalence of hypercholesterolemia. But adding the criterion of parental hypercholesterolemia to obesity would increase the yield of cholesterol screening.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4389
ISBN: 9741301081
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ParaveeHi.pdf932.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.