Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43962
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพุทธกาล รัชธรen_US
dc.contributor.advisorกิตติ ลิ่มสกุลen_US
dc.contributor.authorธงชาติ บวรธำรงชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:59Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:59Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43962
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย รัฐบาลกำหนดให้ควบคุมราคาขายต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ตั้งแต่พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน และเป็นภาระทางการคลังรวมกันมากกว่า100,000 ล้านบาท รัฐบาลมีแผนที่จะปรับลดการอุดหนุนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวภาคครัวเรือนทีละน้อย และวางแผนการลอยตัวราคาก๊าซให้เป็นไปตามกลไกตลาดในที่สุด การศึกษาผลกระทบจากการปรับลดการอุดหนุนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวต่อระบบเศรษฐกิจใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเชิงพลวัต (Computable General Equilibrium Model) และฐานข้อมูลตารางบัญชีเมตริกซ์สังคม ปี 2553 เพื่อประเมินผลกระทบต่อ การผลิต-การใช้พลังงาน และสวัสดิการสังคมของ ครัวเรือนตามชั้นรายได้ ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่หนึ่ง เมื่อลดการอุดหนุนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือนโดยเพิ่มราคาอีก 6 บาทต่อกิโลกรัม ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลง 0.06% และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มสูงขึ้น 0.03% เมื่อเทียบกับกรณีฐาน กรณีที่สอง หากลอยตัวราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวทุกชนิดให้เท่ากับราคาตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่ากรณีแรก เพราะ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ใช้เป็นวัตถุดิบขั้นกลางในการผลิต GDP ลดลง 0.37% ระดับราคาสูงขึ้น 0.11% การบริโภคภาคเอกชนลดลง 0.46% สวัสดิการสังคมของครัวเรือนที่มีรายได้สูงได้รับผลกระทบมากกว่าครัวเรือนรายได้ปานกลาง-รายได้น้อย กรณีที่สาม เมื่อขึ้นราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้เท่ากับ ต้นทุนเฉลี่ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลวจาก 3 แหล่ง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปารกลางกล่าวคือ GDP ขยายตัวลดลง 0.15% ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้น 0.04% การบริโภคภาคครัวเรือนลดลง 0.18% สวัสดิการผู้บริโภคลดลงประมาณ 0.17% เมื่อเทียบกับกรณีฐาน การลดการอุดหนุนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในทุกกรณีลดภาระทางการคลัง ขณะเดียวกัน ลดสวัสดิการสังคมของครัวเรือนเช่นกัน การขี้นราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือนอีก 6 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลสุทธิต่อการลดสวัสดิการสังคมของครัวเรือนเท่ากับ -2.07 พันล้านบาท ในขณะที่การทยอยปรับราคาขึ้นให้เท่ากับต้นทุนการนำเข้าที่แท้จริงตามราคาตลาดโลก ส่งผลสุทธิเท่ากับ -49.01 ล้านบาท การปรับราคาให้เท่ากับต้นทุนเฉลี่ย ของ 3 แหล่งผลิต ส่งผลสุทธิต่อการลดลงของสวัสดิการสังคมเท่ากับ -16.06 ล้านบาท และเป็นข้อเสนอในทางนโยบายที่น่ายอมรับได้ในระยะสั้น การศึกษาไม่ได้นำผลการเพิ่มประสิทธิการจัดสรรทรัพยากรสังคม (Deadweight Loss) มาพิจารณา และควรเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษาต่อไปในอนาคตหากต้องทำการลอยตัวราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในระยะยาวต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeLiquefied Petroleum Gas has been subsidized by the government since 1991. It has caused a fiscal burden approximately 100,000 million Baht. As a result, government has intention to reduce the price subsidy of LPG for household. She has planned to abolish price subsidy in the near future. The objective of this study is to analyze the macro-economic impact of hypothetical reform of LPG price subsidy applying a Dynamic General Equilibrium model with a social accounting matrix 2010. In addition, we will estimate the welfare effect of households by income class. The results show that if LPG price used by household increase 6 baht per kilogram from its base price, the GDP decreases 0.06% while CPI increases 0.026% as compared with its base case ‘without reform’. Hypothetically setting the price of LPG which is faced by household and industry equal to the world price will cause adverse impact on the macro economy. The impact is as follows: GDP fell by 0.37%, CPI rose 0.11%, private consumption fell by 0.46% and welfare lost 0.42% respectively. Interestingly, poor household has been affected less than rich household. If government sets the price at the weight-average cost of LPG from three supplying sources, the impact will be mild. GDP fell by 0.15%, CPI rose 0.04%, private consumption fell by 0.46% and welfare lost about 0.17% The analysis on subsidy reform show that subsidy reduction although has positive impact on fiscal burden but still leads to welfare reduction of households. Subsidy reduction of LPG price for household six baht per kilogram incurred net welfare reduction of -2.07 million baht. Setting the price of all LPG equal to the world price and setting the price at the weight-average cost of LPG from three sources incurred net welfare reduction of -49.01 million baht and -16.06 million baht respectively. The policy reform will also bring about reduction in ‘Dead weight loss’ or social cost of the LPG price subsidy. This was not considered here and would be interesting topic for further research.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1415-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
dc.subjectก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว
dc.subjectเงินอุดหนุน -- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
dc.subjectEconomic impact analysis
dc.subjectLiquefied petroleum gas
dc.subjectGrants-in-aid -- Subsidies -- Economic impact
dc.titleผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการปรับลดการอุดหนุนราคา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeTHE ECONOMIC IMPACT OF LPG SUBSIDY REFORM IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBuddhagarn.R@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorkitti.l@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1415-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585158429.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.