Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4396
Title: ระบาดวิทยาของรายงานคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกที่จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2542
Other Titles: Epidemiology of police's case reports of road traffic accidents in Mahasarakham province, 1999
Authors: พชรวรรณ คูสกุลรัตน์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
บดี ธนะมั่น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th, fmedpss@md2.md.chula.ac.th
fmedbdm@md.chula.ac.th
Subjects: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อุบัติเหตุทางถนน -- ไทย -- มหาสารคาม
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร โดยศึกษาระบาดวิทยาของคดีอุบัติเหตุจราจรทางบก จากสถานีตำรวจ 18 แห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2542 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากแบบรายงานคดีจราจรทางบก ที่เกิดคดีระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2542-31 ธันวาคม 2542 จำนวน 527 คดี ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประสบอันตรายส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอัตรา 2.98:1 พบมากในช่วงอายุ 18-25 ปี (25.8%) ส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสาร (45.9%) ผู้ขับขี่ (45.8%) ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มีใบอนุญาตขับขี่ (67.5%) ถูกจับกุม (83.5%) และไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย (83.0%) รถที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ (48.8%) มีลักษณะการเกิดเหตุแบบรถชนกัน (69.8%) อัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดในเดือนธันวาคม (14.6%) พบมากในวันเสาร์และวันอังคาร (16.3%) ช่วงเวลา 18.01-21.00 น. (23.4%) ส่วนใหญ่เกิดเหตุบนทางหลวงแผ่นดิน (80.3%) พบมากที่ทางหลวงแผ่นดินสายโกสุมพิสัย-โสกขุ่น (อัตราการเกิดอุบัติเหตุ = 314.34/100 ล้านยานพาหนะ-กิโลเมตร) และสี่แยกตลาดเชียงยืนเป็นทางร่วมทางแยกที่เกิดคดีมากที่สุด คดีส่วนใหญ่มีความรุนแรงระดับเสียชีวิต (39.3%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของคดีอุบัติเหตุจราจร ที่จังหวัดมหาสารคามเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ สาเหตุจากสภาพแวดล้อม (p-value<0.001) ลักษณะการชนกัน (p-value = 0.001) ลักษณะการชนกันตามประเภทของรถ (p-value = 0.011) บริเวณที่เกิดเหตุ (p-value = 0.014) เวลาที่เกิดเหตุ (p-value = 0.021) การจับกุมผู้กระทำผิด (p-value = 0.021) การจับกุมผู้กระทำผิด (p-value = 0.023) เพศ (p-value = 0.026) สาเหตุจากอุปกรณ์ (p-value = 0.029) และสถานที่เกิดเหตุ (p-value = 0.047) ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุจราจร เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนแก้ไขสาเหตุของอุบัติเหตุ ส่งผลให้สามารถลดอุบัติเหตุจราจรลงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Other Abstract: To explore the factors associated with traffic accident. Data were collected retrospectively from police's cases of traffic accident during 1 January 1999-31 December 1999 from 18 police stations in Mahasarakham province. The results revealed that majority of cases were male. The ratio of injured men to women was 2.98:1. Most of them were between 18-25 years old (25.8%), were passenger and driver (45.9%, 45.8%). Most of the drivers had driving license (67.5%) were arrested (83.5%) and were not wearing safety devices (83.0%). Motorcycles were the most frequently involved vehicles (48.9%). Most accidents occurred in December (14.6%), on Saturday and Tuesday (16.3%) between (18.01-21.00 pm) (23.4%) and on highway (80.3%). Kosumpisi-Sokkhun Highway (Accidental Rate = 314.34 HMVK) and Chiangyuen intersection were the most hazardous high way and hazardous intersection. Most cases resulted in mortality (39.3%). Factors related to severity of police's case report at Mahasarakham police stations were, in decending order, environmental causes (p-value<0.001), collision type (p-value = 0.001), collision type by type of vehicle (p-value = 0.011), setting (p-value = 0.014), time(p-value = 0.021) being arrested (p-value = 0.023), sex of the driver (p-value = 0.026), material cause (p-value = 0.029) and place (p-value = 0.047). The results should be useful for concerned bodies to reduce road traffic accidents
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4396
ISBN: 9741309023
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pacharawan.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.