Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44009
Title: การเตรียมเมมเบรนเคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงประกอบ โดยการถ่ายโอนรูปลอกขั้วไฟฟ้าที่พิมพ์อิงก์เจ็ตสำหรับความทนคาร์บอนมอนอกไซด์ในเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม
Other Titles: Preparation of co-tolerant composite catalyst-coated membrane by inkjet printing for pem fuel cell
Authors: สุชาติ พงษ์ชัยผล
Advisors: คุณากร ภู่จินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kunakorn.P@Chula.ac.th
Subjects: เมมเบรน (เทคโนโลยี)
คาร์บอนมอนอกไซด์
เซลล์เชื้อเพลิง
Membranes (Technology)
Carbon monoxide
Fuel cells
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมเมมเบรนประกอบขั้วไฟฟ้าด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมและแพลทินัมรูทิเนียมบนตัวรองรับคาร์บอนสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม โดยวิธีการถ่ายโอนรูปลอกขั้วไฟฟ้าหลังจากการพิมพ์อิงก์เจ็ตสำหรับความทนคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์อิงก์เจ็ตของหมึกตัวเร่งปฏิกิริยาและการถ่ายโอนรูปลอกของชั้นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงประกอบ พบว่าเมมเบรนประกอบขั้วไฟฟ้าที่เตรียมจากการถ่ายโอนรูปลอกขั้วไฟฟ้าที่ได้จากการพิมพ์อิงก์เจ็ตให้สมรรถนะที่ดีกว่าเมมเบรนประกอบขั้วไฟฟ้าที่เตรียมโดยการพิมพ์อิงก์เจ็ตของหมึกตัวเร่งปฏิกิริยาลงบนชั้นแพร่แก๊สโดยมีความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าที่ 0.6 โวลต์เท่ากับ 421.4 และ 385.3 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตรตามลำดับ จากการทดสอบความทนคาร์บอนมอนอกไซด์ เมมเบรนประกอบขั้วไฟฟ้าที่มีแอโนด 2 ชั้น โดยมีแพลทินัมรูทิเนียม/คาร์บอนเป็นชั้นนอก และแพลทินัม/คาร์บอนอยู่ชั้นใน สามารถฟื้นฟูสมรรถนะภายหลังการสัมผัสคาร์บอนมอนอกไซด์ใกล้เคียงกับเมมเบรนประกอบขั้วไฟฟ้าที่มีแอโนดเป็นแพลทินัมรูทิเนียม/คาร์บอนเพียงชั้นเดียวที่ความเข้มข้นสูงถึง 60 พีพีเอ็ม โดยมีความหนาแน่นกระแสสัมพัทธ์ที่ 0.6 โวลต์ที่ฟื้นฟูได้เท่ากับ 85.63% และ 86.49% ตามลำดับ
Other Abstract: This research studied the preparation of catalyst-coated membrane (MEA) for PEM fuel cell, using carbon-supported platinum and platinum ruthenium as the catalysts, by decal transfer of inkjet-printed electrode and its carbon monoxide-tolerance. The optimum conditions for inkjet printing of catalyst ink and decal transfer of composite catalyst layers were investigated. It was found that the MEAs prepared by decal transfer of inkjet-printed electrodes gave a better performance than MEAs prepared by inkjet printing of catalyst ink onto gas diffusion layers. The current density at 0.6 V were found to be 421.4 and 385.3 mA/cm2, respectively. From carbon monoxide-tolerance test, the MEAs with a bilayer of anode catalyst, PtRu/C as the outer layer and Pt/C as the inner layer, showed a comparable performance recovery as MEAs with single PtRu/C layer, after carbon monoxide exposure up to 60 ppm. The recovered relative current density at 0.6 V was 85.63% and 86.49% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44009
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.377
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.377
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchat_po.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.