Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44030
Title: บทบาทของอิมมูโนฮีสโตเคมีต่อการวินิจฉัยชนิดย่อยของมะเร็งไต
Other Titles: The role of immunohistochemistry in diagnosis of renal cell carcinoma subtypes
Authors: สุทธิพร นามนาค
Advisors: วิภาวี กิตติโกวิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wipawee.K@Chula.ac.th
Subjects: ไต -- มะเร็ง
อิมมูโนฮีสโตเคมี
Kidneys -- Cancer
Immunohistochemistry
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและปัญหา: การวินิจฉัยแยกชนิดย่อยของมะเร็งไตนั้นมีความสำคัญสำหรับแนวทางในการรักษาหากมีการระบุชนิดของมะเร็งไตได้เร็ว และถูกต้องจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่มีโอกาสในการรักษามากยิ่งขึ้น และในปัจจุบันการวินิจฉัยแยกชนิดย่อยของมะเร็งไตจะแยกโดยดูจากลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาเป็นส่วนใหญ่ จะมีเพียงบางรายเท่านั้นที่มีลักษณะทางพยาธิวิทยาที่ก้ำกึ่งไม่สามารถแยกชนิดได้ชัดเจนที่จะได้รับการวินิจฉัยโดยอาศัยเทคนิคทางอิมมูโนฮีสโตเคมีร่วมด้วย ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดว่าหากมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการวินิจฉัยด้วยจุลพยาธิวิทยาอย่างเดียว กับการศึกษาโดยอาศัยอิมมูโนฮีสโตเคมี เพื่อศึกษาบทบาทของอิมมูโนฮีสโตเคมีต่อการวินิจฉัยชนิดย่อยของมะเร็งไตว่าเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอิมมูโนฮีสโตเคมีมีบทบาทในการวินิจฉัยชนิดย่อยของมะเร็งไตมากน้อยเพียงใดและเพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์ของมะเร็งไตชนิดเอ็กพีวันวัน ทรานสโลเคชั่น รีนอลเซลล์ คาร์ซิโนมา วิธีการทดลอง: รวบรวมตัวอย่างของชิ้นเนื้อที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งไตชนิด รีนอลเซลล์ คาร์ซิโนม่า (RCC) 83 ราย โดยพยาธิแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในรูปของ บล็อกพาราฟิน ระหว่างปี 2547-2552 ของภาควิชาพยาธิวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วยการทำเป็น ทิชชู ไมโคร อาร์เร (TMA) และศึกษาด้วยการใช้แอนติบอดี้ 7 ชนิด คือ Vimentin, CK7, CD10, P504s, Parvalbumin, TFE3 และ CD117 เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยเดิม ผลการทดลอง: ตัวอย่างทั้งหมด 83 ราย มี 5 รายที่การวินิจฉัยแตกต่างจากการวินิจฉัยเดิม ส่วนอีก 78 ราย ผลการแสดงออกของแอนติบอดี้ชนิดต่างๆคือ Vimentin มีการแสดงออกต่อ เครียร์เซลล์ รีนอล เซลล์ คาซิโนม่า (CRCC) และ แป๊บปิลลารี่ รีนอลเซลล์ คาร์ซิโนม่า (PRCC), CD10 มีการแสดงออกกับ CRCC ร้อยละ 82, PRCC ร้อยละ 77 และ โครโมโฟบ รีนอลเซลล์ คาร์ซิโนม่า (CHRCC) ร้อยละ 50 ตามลำดับ CK7 มีผลเป็นบวก ต่อ CHRCC ในทุกราย ส่วนCRCC ผลเป็นลบร้อยละ 93, P504s มีการแสดงออกร้อยละ 88 ของ PRCC และเป็นลบร้อยละ 84 ของ CHRCC ส่วน CRCC มีผลเป็นลบร้อยละ 96, ต่อมาผลของ Parvalbumin จะมีการแสดงออกร้อยละ 32 ใน CHRCC และผลเป็นลบในทุกรายของ CRCC และ PRCC เช่นเดียวกับ CD117 มีการแสดงออกต่อ CHRCC และ ให้ผลลบใน CRCC และ PRCCส่วนTFE3 ไม่มีการแสดงออกในการศึกษาครั้งนี้ สรุปผลการทดลอง: จากการศึกษาพบรูปแบบของการแสดงออกของ อิมมูโนฮีสโตเคมี มาร์คเกอร์ ที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยชนิดย่อยของมะเร็งไต โดยแนะนำให้ Vimentin, CD10 และ CK7 เป็นแอนติบอดี้ขั้นแรกที่ช่วยในการแยกชนิดย่อยของมะเร็งไต และใช้ CD117, Parvalbumin และ P504s เป็นแอนติบอดี้ที่ใช้สำหรับยืนยันผลการวินิจฉัย
Other Abstract: Background: Conventionally, renal cell carcinoma (RCC) are classified into subtypes by using morphological features. Nowaday, immunohistochemical (IHC) techniques plays an increasingly important role in the diagnosis of Renal cell carcinoma subtypes. Objectives: To determine the validity of immunohistochemistry in classifying Renal cell carcinoma (RCC) subtypes. Methods: Eighty-three cases of RCC were retrieved. Immunohistochemical staining of Vimentin, CD10, CK7, P504s, Parvalbumin, TFE3, and CD117 was done by using tissue microarray blocks. RCC subtypes were placed and compared with the previous diagnosis Results: Seventy-eight of 83 cases showed agreement with the original diagnosis. Vimentin expressions were observed in Clear cell RCC (CRCC) and Papillary RCC (PRCC). Positive CD10 staining was detected in CRCC (82%) and in PRCC (77%) and Chromophobe RCC (CHRCC) (50%). CK7 was positive in 5 cases of CHRCC, and negative in 93% of CRCC. P504s was expressed in 88% of PRCC and negative in 96% of CRCC and 84% of CHRCC. Parvalbumin was expressed in 32% of CHRCC, and negative in all CRCC and PRCC. CD117 was positive in all CHRCC and negative in CRCC and PRCC. TFE3 was negative in all cases. Conclusion: The expression patterns of the IHC markers in RCC subtypes were concluded. Vimentin, CD10 and CK7 were suggested as the first-stepped IHC markers. CD117, Parvalbumin, and P504s were suggested as the second stepped IHC markers to confirm the diagnosis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44030
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.400
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.400
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sutthiporn_na.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.