Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนาen_US
dc.contributor.advisorภัทรพล มหาขันธ์en_US
dc.contributor.authorขนิษฐา วิทยานนท์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:28:12Z-
dc.date.available2015-08-21T09:28:12Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44384-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการเรียนรู้การจัดการการเงินส่วนบุคคลของผู้ใหญ่วัยกลางคน 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดการการเงินส่วนบุคคลสำหรับผู้ใหญ่วัยกลางคน 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดการการเงินส่วนบุคคลสำหรับผู้ใหญ่วัยกลางคน และ 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคต่อการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยออกแบบเป็นการทดสอบก่อน-หลังสำหรับกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม การวิจัยใช้การสัมภาษณ์ครูและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการสอนหัวข้อการเงินส่วนบุคคล จำนวน 6 ราย และใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากนักศึกษากศน. วัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 374 คน เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการการเรียนรู้ในการจัดการการเงินส่วนบุคคลของผู้ใหญ่วัยกลางคน และนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการการเงินส่วนบุคคลสำหรับผู้ใหญ่วัยกลางคน โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นจากการบูรณาการรูปแบบการสอนตามแนวคิด Gagne (1985) เข้ากับการสอนโดยการสร้างความแตกต่างขั้นสูงของ Cash (2011) และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษากศน. วัยกลางคนจากเขตคลองเตย จำนวน 25 คน ผลการทดลองประกอบด้วยการวิเคราะห์คะแนนจากแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนของผู้เข้าร่วมทดลองเรียนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นมา และการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ อาทิ ปัจจัยส่งเสริม อุปสรรค และปัญหา เป็นต้น ผลของการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน มีปัญหามีเงินไม่พอออมและไม่เคยจดบันทึกค่าใช้จ่าย ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างจึงไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาการเงินของตนเองได้และขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เครื่องมือในการวางแผนการเงิน กลุ่มตัวอย่างต้องการการเรียนรู้เนื้อหาในด้านการจัดการเงินสดไม่ให้ขาดมือในระดับมากที่สุด และเรื่องการวางแผนการเงินในระดับมาก และมีความต้องการกิจกรรมการเรียนรู้ในส่วนของการจัดการเงินสดไม่ขาดมือมากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนรู้ที่กลุ่มตัวอย่างต้องการ 2. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมี 11 หน่วยเรียนรู้คือ 1) ปฐมบท 2) บัญชีครัวเรือน 3) การสร้างวินัยทางการเงิน 4) งบประมาณครัวเรือน 5) การใช้จ่ายให้คุ้มค่าเงิน 6) การจัดทำงบกระแสเงินสด 7) ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน: สินเชื่อ เงินออม เงินลงทุนการประกัน และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างเหมาะสม 8) เป้าหมายทางการเงิน 9) การตรวจสุขภาพการเงิน 10) การจัดทำแผนการเงินส่วนบุคคล และ 11) การบูรณาการวางแผนการเงินส่วนบุคคล โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นดำเนินกิจกรรมด้วยกระบวนการ ”จี้จุด-ฉุดโยงใย-เร้าใจ-ใส่คุณค่า” โปรแกรมประกอบด้วยกิจกรรมเรียนรู้ในชั้นเรียน 49 ชั่วโมง และกิจกรรมนอกชั้นเรียน 51 ชั่วโมง รวมเป็น 100 ชั่วโมง และกิจกรรมคั่นระหว่างบทเรียน 4 กิจกรรม 3. ผลการทดลองพบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ส่งเสริมให้ผู้ใหญ่วัยกลางคนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการจัดการการเงินส่วนบุคคลได้จริง คะแนนการทดสอบของผู้เรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าคะแนนก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในทั้งสี่ด้านของการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล และกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกด้านของจัดการการเงินส่วนบุคคล 4. ผลวิจัยพบปัจจัยส่งเสริมในการนำโปรแกรมฯที่พัฒนาขึ้นไปใช้ คือ 1) กลุ่มผู้เรียนมีประสบการณ์อันมีคุณค่า 2) การสร้างความแตกต่างด้านการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน 3) กิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ “จี้จุด-ฉุดโยงใย-เร้าใจ-ใส่คุณค่า” 4) กิจกรรมคั่นระหว่างบทเรียนที่ส่งเสริมความทรงจำระยะยาว และ 5) สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ 1) ข้อจำกัดด้านความสามารถในการคำนวณของผู้เรียน 2) ความพร้อมของผู้เรียนด้านความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เอื้อต่อการร่วมกิจกรรมคั่นระหว่างบทเรียนบางกิจกรรม 3) ข้อจำกัดด้านเวลาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study the stage, problem, and learning needs in personal financial management for middle-aged adults; 2) develop a non-formal education program that will enhance knowledge, understanding and skills of personal financial management for middle-aged adults; 3) study the results and effects of the non-formal education program that will enhance knowledge, understanding and skills of personal financial management for middle-aged adults; and 4) analyze the success factors and obstacles that will affect the use of developed program. This study used quasi-experimental research with one group pretest-posttest design. The interviews were conducted with 6 instructors and experts of personal finance management topics. Self-administered questionnaires were also used with 374 middle-aged NFE students in Bangkok. The data were collected to study the state, problems, and learning needs of middle-aged NFE students and used them to develop a non-formal education program that will enhance knowledge, understanding and skills of personal financial management for middle-aged adults. The non-formal educational program was developed by integrating Gagne’s instruction model and advancing differentiation model by Cash (2011). The developed program was experimented with 25 middle-aged NFE students at Klongtuey NFE School. The experimental results were analyzed from the pretest-posttest scores of program participants and the analysis of various factors related to the NFE program implementation, including supporting factors, obstacles, and problems. The findings of this study were as follows: 1. The majority of the samples had low income with less than 15,000 baht per month. They had no saving and had never recorded their expenditures. Therefore, almost all of them could not analyze their financial problems and they lacked knowledge, understanding and skills in using financial planning tools. In term of learning needs, the topic that the samples wanted to learn the most was sufficient cash management. They rated personal financial planning topic at high level. Also, they wanted learning activities that were in line with their needed contents, especially the sufficient cash management topic more than any others. 2. The developed program contained 11 learning units as follows: 1) introduction, 2) personal household accounting, 3) personal financial disciplinary, 4) personal household budgeting, 5) value-for-the money spending, 6) cash flow statement preparation, 7) financial products: loan, saving, insurance investment, and appropriate financial product selection, 8) personal financial target, 9) personal financial health examination, 10) personal financial planning, and 11) integrative financial planning. The developed program was operated under the ”Jeejud-Chudyongyai-Roajai-Saikunkha” process that comprised 49 hours of in-class activities and 51 hours outside-classroom activities for a total of 100 hours. There were also 4 additional brain-break activities. 3. The experimental results showed that the developed program was able to enhance the knowledge, understanding, and skills in personal financial management for middle-aged adults. Subjects’ posttest scores were significantly higher than the pretest scores at .05 level of significance in all four areas of personal financial management. Experimental group attained learning outcomes in all areas of personal financial management. 4. The factors affecting successful implementation of the developed program consisted of: 1) Valuable experiences of student group; 2) Making differential instruction to respond to learner diversity; 3) Learning activities according to the ”Jeejud-Chudyongyai-Roajai-Saikunkha” process; 4) Brain-break activities that enhance long-term memory; and 5) Supportive learning environment. However, the obstacles of program implementation included: 1) Limitation of students’ mathematical ability; 2) Readiness of students on certain beliefs and their unsupportive attitudes towards some brain-break activities; and 3) Time constraint influencing the leaning outcomes of students.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดการการเงินส่วนบุคคลสำหรับผู้ใหญ่วัยกลางคนen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF A NON-FORMAL EDUCATION PROGRAM TO ENHANCE KNOWLEDGE, UNDERSTANDING AND SKILLS OF PERSONAL FINANCIAL MANAGEMENT FOR MIDDLE-AGED ADULTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWorarat.A@Chula.ac.th,aeworarat@yahoo.comen_US
dc.email.advisorakkaroo@gmail.comen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184458127.pdf16.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.