Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44481
Title: สมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิบิวทิลีนซักซิเนต/ผงไม้ที่แตกสลายทางชีวภาพได้
Other Titles: PHYSICAL PROPERTIES OF BIODEGRADABLE POLY(LACTIC ACID)/POLY(BUTYLENE SUCCINATE)/WOOD FLOUR BLENDS
Authors: ชุติมา ว่องไววัฒนกุล
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ
เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: pattarapan.p@chula.ac.th
saowaroj.c@chula.ac.th
Subjects: กรดแล็กติก
โพลิเมอร์
Lactic acid
Polymers
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงความเหนียวและเสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการใส่พอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ ขั้นแรกพอลิแล็กทิกแอซิดถูกผสมแบบหลอมเหลวกับพอลิบิวทิลีนซักซิเนต 5 อัตราส่วน (ร้อยละ 10-50) ในเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ตามด้วยการอัดแบบ ซึ่งสมบัติที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณพอลิบิวทิลีนซักซิเนต ได้แก่ ความทนแรงกระแทก (ร้อยละ 30 สูงที่สุด) การยืดตัว ณ จุดขาด (ร้อยละ 30 สูงที่สุด) ระดับความเป็นผลึก (ร้อยละ 20 สูงที่สุด) และเสถียรภาพทางความร้อน (ร้อยละ 50 สูงที่สุด) เมื่อเปรียบเทียบกับพอลิแล็กทิกแอซิด แต่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส และความทนแรงดัดโค้งมีค่าลดลงตามปริมาณพอลิบิวทิลีนซักซิเนตที่เพิ่มขึ้น พอลิเมอร์ผสมพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิบิวทิลีนซักซิเนตที่อัตราส่วน 70/30 มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด จึงเลือกไปเตรียมคอมพอสิตด้วยผงไม้ 5 อัตราส่วน (5-30 ส่วนโดยน้ำหนักของพอลิเมอร์ผสม 100 ส่วน) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผงไม้ช่วยปรับปรุงยังส์มอดุลัส (เฉพาะใส่ผงไม้ 15 โดยน้ำหนักของพอลิเมอร์ผสม 100 ส่วน) และการยืดตัว ณ จุดขาด (เฉพาะใส่ผงไม้ 5 โดยน้ำหนักของพอลิเมอร์ผสม 100 ส่วน) ขณะที่ความทนแรงกระแทก ความทนแรงดึง ความทนแรงดัดโค้ง และเสถียรภาพทางความร้อนของคอมพอสิตลดลงตามปริมาณพอลิบิวทิลีนซักซิเนตที่เพิ่มขึ้น และระดับความเป็นผลึกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังนำผงไม้ที่ถูกดัดแปรด้วยสารคู่ควบไซเลนร้อยละ 1-3 โดยน้ำหนักของผงไม้ เพื่อเตรียมคอมพอสิตของพอลิแล็กทิกแอซิด/พอลิบิวทิลีนซักซิเนต/ผงไม้ที่อัตราส่วน70/30/10 และ 70/30/15 ซึ่งพบว่าการใส่ผงไม้ที่ถูกดัดแปรด้วยสารคู่ควบไซเลน (ส่วนใหญ่ที่ปริมาณร้อยละ 3 โดยน้ำหนักของผงไม้) ทำให้คอมพอสิตมีความทนแรงกระแทก ความทนแรงดึง การยืดตัว ณ จุดขาด ความทนแรงดัดโค้ง และเสถียรภาพทางความร้อนเพิ่มขิ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพอสิตที่ใส่ผงไม้ที่ไม่ถูกดัดแปรในปริมาณเท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างผงไม้และเมทริกซ์
Other Abstract: This research aimed to improve the toughness and thermal stability of poly(lactic acid) (PLA) by incorporating poly(butylene succinate) (PBS) and wood flour (WF). PLA was first melt mixed with five loadings of PBS (10-50 wt%) in a twin screw extruder, followed by compression molding. The PLA/PBS blends provided a dose-dependent increase in the impact strength (optimal at 30 wt%), elongation at break (optimal at 30 wt%), degree of crystallinity (optimal at 20 wt%) and thermal stability (optimal at 50 wt%) as compared with those of the neat PLA, but the tensile strength, Young’s modulus and flexural strength were deteriorated with increasing PBS content. Based on the optimum impact strength and elongation at break, the 70/30 PLA/PBS blend was selected for preparing composites with five loadings of WF (5-30 phr). The results showed that the composites exhibited an improvement in the Young’s modulus (only at 15 phr) and elongation at break (only at 5 phr), while the impact strength, tensile strength, flexural strength and thermal stability decreased with increasing WF content; and the degree of crystallinity was slightly increased compared to those of the neat 70/30 PLA/PBS blend. In addition, the WF was also modified with 1-3 wt% silane coupling agent to prepare the 70/30/10 and 70/30/15 PLA/PBS/WF composites. It was found that the composites filled with a modified WF (mostly at 3 wt% silane coupling agent) showed an improve in the impact strength, tensile strength, elongation at break, flexural strength and thermal stability compared to those filled with the unmodified WF at the same loading level. This was due to the increased interfacial adhesion between WF and matrix.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44481
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.504
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.504
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472233523.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.