Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44559
Title: การลดต้นทุนในกระบวนการชุบสีด้วยไฟฟ้าบนผิวรถบรรทุก
Other Titles: COST REDUCTION IN THE PROCESS OF ELECTRO DEPOSITION PAINTING ON A TRUCK SURFACE
Authors: ศศิธร ขำกรณ์
Advisors: นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: napassavong.o@chula.ac.th
Subjects: ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
Six sigma (Quality control standard)
Electrophoretic deposition -- Cost control
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้วิถีทางแห่งซิกซ์ซิกมา เพื่อปรับปรุงกระบวนการชุบสีด้วยระบบไฟฟ้าในอุตสาหกรรมรถยนต์ งานวิจัยนี้ดำเนินงานตามขั้นตอน DMAIC ขั้นแรกของการปรับปรุงเริ่มจากระยะนิยามปัญหา ซึ่งเป้าหมายคือความหนาสีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20 ไมครอน และต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด ในระยะการวัด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ระบบการวัดพบว่ามีความผันแปรของระบบการวัดเทียบกับความผันแปรของกระบวนการเท่ากับร้อยละ 27.05 และวัดดัชนีความสามารถของกระบวนการ (Cpk) ได้เท่ากับ 0.49 จากนั้นระดมสมองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่อาจส่งผลต่อค่าความหนาสีและต้นทุนทางการผลิต และจัดลำดับความสำคัญด้วยวิธีการให้คะแนนโดยทีมงาน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความหนาสีที่ได้เลือกศึกษาต่อไปได้แก่ ความเข้มข้นของสี เวลาและแรงดันไฟฟ้า ในระยะวิเคราะห์สาเหตุ ได้ออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเพื่อทดสอบหาปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความหนาสี พบว่าทุกปัจจัยมีผลต่อความหนาสี ส่วนต้นทุนการผลิตคิดมาจากความเข้มข้นของสีและแรงดันไฟฟ้าเท่านั้นที่มีผลต่อต้นทุนที่เกี่ยวข้องต่อคัน ถัดมาในระยะปรับปรุงมีการประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลาง เพื่อหาการปรับตั้งค่าปัจจัยนำเข้าเพื่อให้ค่าตอบสนองมีค่าความหนาสีที่ค่า 20 ไมครอนและต้นทุนทางการผลิตที่ต่ำที่สุด โดยตั้งค่าต่อไปนี้คือ ค่าความเข้มข้นสีชุบ17.5 เปอร์เซ็นต์ เวลาในการชุบ 5.5 นาที และแรงดันไฟฟ้าในการชุบ 329 โวลต์ ในระยะการควบคุมได้มีการปรับแผนควบคุมการตั้งค่าเครื่องจักรและวิธีการตรวจสอบความเข้มข้นของสีโดยใช้แบบฟอร์มในการตรวจสอบ และแผนภูมิ X-MR ในการติดตามตรวจสอบความคงที่ของค่าความหนาสี หลังจากการปรับปรุง ค่าความหนาสีเฉลี่ยของกระบวนการชุบสีด้วยไฟฟ้าข้อมูลเพิ่มขึ้นจาก 18.32 ไมครอน เป็น 19.76 ไมครอน และดัชนีความสามารถของกระบวนการ Cpk เพิ่มขึ้นจาก 0.49 เป็น 1.47 และสามารถลดต้นทุนทางการผลิตได้ร้อยละ 4 หรือเท่ากับ 2,599,400 บาทต่อปี
Other Abstract: This research presents the application of Six sigma method to improve Electro Deposition Painting (EDP) process in Automotive industry. This research followed the DMAIC steps. In the define phase, the project goal to have the mean EDP thickness at 20 microns with the minimal production cost was set up. In the measure phase, the measuring system was analyzed. It was found that the precision to total variation ratio was at 27.05 % and the process capability index (Cpk) of thickness was at 0.49. Then, the possible causes of thickness were brainstormed and prioritized using the criteria of the scored rank. The factors, which were selected to be studied further, were the concentration of pigment, the dipping time and the dipping voltage. In the analyze phase, the full factorial design was applied. It was found that all factors significantly affect the thickness. The production cost per unit calculation from concentration of pigment and the dipping voltages. Next, in the improve phase, the response surface design with central composite design type was conducted to specify the optimal levels of factors that offer the thickness at 20 microns and the minimal production cost. It was found that the optimal setting was at the concentration of pigment of 17.5 %solid, the dipping time of 5.5 minutes and the dipping voltage of 329 volt. In the control phase, the control plan was updated to control the setting of these three factors at the optimal levels using check sheets. Moreover, the X-MR charts were set up to monitor the stability of the thickness value. After the improvement, the mean thickness increased from 18.32 microns to 19.76 microns, the process capability index Cpk increased from 0.49 to 1.47, and it is expected to reduce the production cost by 4 % or 2,599,400 THB per year.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44559
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.514
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.514
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570947721.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.