Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44575
Title: การพัฒนาและการประยุกต์ฟิล์มบางไคโทซานเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4
Other Titles: Development and Application of Chitosan Thin Film to Prolong Shelf Life of 'Nam Dok Mai No. 4' Mango
Authors: ภานุพงศ์ อำไพชัยโชค
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
ปราณี โรจน์สิทธิศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kanogwan.K@Chula.ac.th,kanogwan.k@chula.ac.th
pranee.l@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาสมบัติของสารละลายเคลือบผิวและฟิล์มบางไคโทซานที่เตรียมจากไคโทซานน้ำหนักโมเลกุล 65,000 ดาลตัน (LM-CTS) 240,000 ดาลตัน (MM-CTS) และ 410,000 ดาลตัน (HM-CTS) พบว่าความหนืดของสารละลายไคโทซานและความหนาของฟิล์มบางไคโทซานเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำหนักโมเลกุลของไคโทซานเพิ่มขึ้น ความหยาบของพื้นผิวฟิล์มบางไม่ขึ้นกับน้ำหนักโมเลกุลของไคโทซาน กล่าวคือ พื้นผิวฟิล์มบางไคโทซานชนิด MM-CTS มีความหยาบมากที่สุด รองลงมาคือ HM-CTS และ LM-CTS ตามลำดับ การเคลือบผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ด้วยสารละลายไคโทซานที่เตรียมสดใหม่และสารละลายไคโทซานที่ผ่านการเก็บรักษาเป็นเวลา 14 วัน เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 °C เป็นเวลา 15 วัน พบว่าสารละลายไคโทซานที่เตรียมสดใหม่สามารถลดการเกิดโรค และสามารถรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงน้ำดอกไม้ได้ดีกว่าสารละลายไคโทซานที่ผ่านการเก็บรักษาเป็นเวลา 14 วัน การใช้สารละลายไคโทซานที่เตรียมสดใหม่ร่วมกับการเก็บรักษาผลมะม่วงน้ำดอกไม้ที่อุณหภูมิ 13 °C เป็นเวลา 14 วัน ตามด้วยการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 °C เป็นเวลา 9 วันพบว่าชุดการทดลอง MM-CTS ให้ผลการทดลองที่ดีที่สุดเนื่องจากผลมะม่วงน้ำดอกไม้มีการสูญเสียน้ำหนักสดน้อยกว่า ความแน่นเนื้อมากกว่า การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของเปลือกผลที่เป็นปกติ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำสูงกว่า ปริมาณกรดที่ต่ำกว่า และการเกิดโรคน้อยกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ การใช้สารละลาย MM-CTS กระตุ้นกระบวนการป้องกันตัวเองของผลมะม่วงน้ำดอกไม้โดยเพิ่มการผลิต H2O2 และยังกระตุ้นทำงานของเอนไซม์ catalase และ ascorbate peroxidase ดังนั้น ไคโทซานน้ำหนักโมเลกุล 240,000 ดาลตันจึงมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวและคงไว้ซึ่งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4
Other Abstract: Properties of chitosan solution and chitosan thin film prepared from various molecular weights of chitosan; 65,000 Da (LM-CTS) 240,000 Da (MM-CTS) and 410,000 Da (HM-CTS), were investigated. Both viscosity of chitosan solution and thickness of chitosan thin film increased when MW of chitosan increased. However, film roughness didn’t depend on increasing of MW. MM-CTS film was the roughest followed by HM-CTS and LM-CTS films respectively. ‘Nam Dok Mai No. 4’ mango fruits, coated with freshly prepared and 14-days stored chitosan solutions were stored at 25 °C for 15 days. The result showed that freshly prepared chitosan solutions could reduce disease and maintain postharvest quality of mango fruits better than 14-days stored solutions. The use of freshly prepared chitosan solutions in combination with storage at 13 °C for 14 days followed by storage at 25 °C for 9 days showed that MM-CTS treatment performed the best. Mango fruits of MM-CTS had lower weight lost, higher fruit firmness, normal peel appearance changes, more total soluble solids content, lower titratable acidity and lower disease incidence than others. MM-CTS induced defense system of mango fruit by increasing H2O2 production and inducing activities of catalase and ascorbate peroxidase. In conclusion, 240,000 Da chitosan was the most appropriate coating solution for prolonging shelf life and maintaining acceptable attributes of ‘Nam Dok Mai No. 4’ mango.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44575
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572072923.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.