Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4465
Title: การรู้จำภาพเอกสารอักษรเบรลล์
Other Titles: Optical braille recognition
Authors: ศรัณย์ เกตุศรีเมฆ
Advisors: นงลักษณ์ โควาวิสารัช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: nongluk.c@chula.ac.th
Subjects: หนังสือเบรลล์
การรู้จำภาพ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาตำแหน่งตัวอักษรเบรลล์บนภาพกระดาษอักษรเบรลล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดรอยนูนเรียงตัวกันเป็นกลุ่มตัวอักษร เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาใช้นิ้วมือสัมผัสเพื่ออ่านข้อความที่บันทึก เอกสารอักษรเบรลล์ที่นำมาใช้เป็นเอกสารที่บันทึกด้วยสเลท-สไตลัส เครื่องพิมพ์ดีด อักษรเบรลล์ และพิมพ์จากเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ ซึ่งพิมพ์บนกระดาษทั้งแบบด้านเดียวและสองด้าน ภาพที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้ได้มาจากเครื่องสแกนภาพแบบแบนราบ โดยสแกนภาพเอกสารเพียงด้านเดียวสำหรับเอกสารทุกประเภท โดยงานวิจัยนี้ทำการหามุมเอียงของเอกสาร และหาตำแหน่งของจุดรอยนูนที่ปรากฏในภาพเอกสาร เพื่อจัดกลุ่มเป็นตัวอักษรที่สามารถนำไปใช้แปลงเป็นตัวอักษรปกติ การแสดงผลตัวอักษรใช้การแปลจากเซลล์ตัวอักษรเบรลล์ เป็นตัวอักษรปกติแบบตัวต่อตัว สามารถเลือกการแปลได้ 3 รูปแบบคือ แปลเป็นตัวอักษรไทย แปลเป็นตัวอักษรอังกฤษ และแปลเป็นตัวอักษรคอมพิวเตอร์เบรลล์ ความถูกต้องของการแปลตัวอักษรปกติ ในภาพเอกสารอักษรเบรลล์แบบพิมพ์ด้านเดียวเท่ากับ 96.3% 97.1% และ 98.9% สำหรับเอกสารที่บันทึกด้วยสเลท-สไตลัส เอกสารที่บันทึกด้วยเครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์ และเอกสารที่บันทึกด้วยเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ตามลำดับ และความถูกต้องของการแสดงตัวอักษรปกติ ในภาพเอกสารอักษรเบรลล์แบบพิมพ์สองด้าน ซึ่งบันทึกด้วยเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์เท่ากับ 95.7%
Other Abstract: To position Braille Characters in a Braille scanned-document image, which is composed of sets of raised dots so that visual-impaired people can read by touching. The Braille documents used in this research were printed by slates and styluses, Braille typewriters, or Braille printers in both single-sided and double-sided printing types. However, the Braille document images were scanned on only one side by a flat-bed scanner. This research proposes algorithms to find the rotated angle of each scanned-document image, the positions of all raised dots to be grouped as a character and represent a typical character laer on. In this study, decoding can be divided into 3 types including Thai character, English character and Braille computer character decoding. The experimental results show that the accuracies of character decoding from Braille document images with single-sided printing are 96.3%, 97.1% and 98.9% for documents made by slates and styluses, Braille typewriters, and Braille printers, respectively. The accuracies of character decoding from Braille document images with double-sided printing by Braille printers are 95.7%
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4465
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1087
ISBN: 9745325201
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1087
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarun.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.