Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44813
Title: มโนทัศน์และการสร้างความกลัวในสื่อบันเทิงคดีสยองขวัญไทย
Other Titles: Concept and creation of fear in Thai horror entertainment
Authors: ธนัท อนุรักษ์
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jirayudh.S@Chula.ac.th
Subjects: ความกลัวในวรรณกรรม
ความกลัวในภาพยนตร์
ความน่ากลัวในวรรณกรรม
ภาพยนตร์สยองขวัญ
วรรณกรรมไทย
ภาพยนตร์ -- ไทย
Fear in literature
Fear in motion pictures
Horror in literature
Horror films
Thai literature
Motion pictures -- Thailand
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายมโนทัศน์เกี่ยวกับความกลัวและกลวิธีสร้างความกลัวของผู้สร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอยู่ในสื่อบันเทิงคดีสยองขวัญแต่ละประเภทของไทย ผ่านการศึกษากลุ่มตัวอย่างสื่อบันเทิงคดีสยองขวัญไทยประเภทต่าง ๆ ในช่วง พ.ศ. 2550-2555 อันได้แก่ นวนิยายสยองขวัญจำนวน 3 ชุด ละครเวทีสยองขวัญจำนวน 1 เรื่อง ภาพยนตร์สยองขวัญจำนวน 7 เรื่อง และละครโทรทัศน์สยองขวัญจำนวน 8 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า มโนทัศน์เกี่ยวกับความกลัวที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานนำมาใช้ในสื่อบันเทิงคดีสยองขวัญไทย แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ ได้แก่ มโนทัศน์ว่าด้วยการถ่ายทอดอารมณ์ มโนทัศน์ว่าด้วยการอุปาทาน มโนทัศน์แบบคติชน มโนทัศน์แบบสากล มโนทัศน์ว่าด้วยอิทธิพลจากเอเชียบูรพา และมโนทัศน์ว่าด้วยอิทธิพลจากโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังพบว่ามโนทัศน์ว่าด้วยการถ่ายทอดอารมณ์และมโนทัศน์ว่าด้วยการอุปาทาน จะเป็นมโนทัศน์ที่มีลักษณะคู่ขนาน ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกัน เนื่องจากมโนทัศน์ว่าด้วยการถ่ายทอดอารมณ์จะเกิดขึ้นเมื่อตัวละครมนุษย์กำลังแสดงความหวาดกลัว ในขณะที่มโนทัศน์ว่าด้วยการอุปาทานจะเกิดในช่วงที่ตัวละครมนุษย์ไม่ได้อยู่ในฉาก ส่วนวิธีการสร้างความกลัวนั้น พบว่าสูตรสำเร็จที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานนำมาใช้ในสื่อบันเทิงคดีสยองขวัญไทยทุกเรื่องมีด้วยกันทั้งสิ้น 5 ประการ ได้แก่ การวางโครงเรื่อง ตัวละครผี ตัวละครมนุษย์ ฉากและบรรยากาศ และจังหวะและโอกาส นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหัวใจสำคัญของการสร้างความกลัวในสื่อนวนิยายสยองขวัญอยู่ที่การวางโครงเรื่องและการใช้สำนวนภาษา ในขณะที่สื่อละครเวทีสยองขวัญจะเน้นการสร้างความกลัวผ่านการแสดงออกของตัวละครมนุษย์ รวมถึงจังหวะการปรากฏตัวของตัวละครผีที่ทำให้ผู้ชมตกใจ ส่วนในสื่อภาพยนตร์สยองขวัญจะโดดเด่นในเรื่องการนำเสนอความกลัวผ่านรูปลักษณ์ของตัวละครผีและปฏิกิริยาหวาดกลัวของตัวละครมนุษย์ที่มีต่อตัวละครผี และสุดท้ายในสื่อละครโทรทัศน์สยองขวัญจะใช้รูปลักษณ์ของตัวละครผีและคติความเชื่อในสังคมไทยเป็นหลักในการสร้างความกลัว
Other Abstract: The objective of this research paper is to explain the concept and creation of fear in Thai horror entertainment through an analysis of 3 sets of horror novel, 1 horror stage play, 7 horror films and 8 horror TV serials popularized between 2007-2012. The research found out that the concept of the fear in Thai horror entertainment can be classified into 6 groups: Emotional transferring concept, Preconceived concept, Traditional concept, International concept, Eastern-Asia-influential concept and Western-influential concept. The emotional transferring concept and the preconceived concept are the parallel concept that cannot appear simultaneously. The emotional transferring concept must be occurred when human presents his fear, but the preconceived concept must be occurred while human is not in the setting. It also found out that the creation of fear in Thai horror entertainment consist of 5 factors: 1) Plot 2) Ghost character 3) Human Character 4) Setting and Atmosphere 5) Opportunity and awed moment. The research also found out that the essential elements of the creation of fear in the horror novel are the plot and the language using. In the horror stage play, there are the action of human and the awed moment. In the horror films, there are the ghost’s appearance and the human’s reaction. And in the horror TV serial, there are the ghost’s appearance and Thai belief as the essential elements of the creation of fear.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44813
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1633
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1633
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanut_an.pdf9.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.