Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45031
Title: การดำเนินงานดูแลบำรุงรักษาระบบประกอบอาคารประเภทอาคารศูนย์การค้า : กรณีศึกษา 4 อาคาร
Other Titles: Operation and maintenance of the building systems for shopping centers : case study of four buildings
Authors: พิสิฐพงศ์ บรรจงศิริ
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: ศูนย์การค้า -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
ศูนย์การค้า -- มาตรการความปลอดภัย
การบริหารความเสี่ยง
Shopping centers -- Maintenance and repair
Shopping centers -- Safety measures
Risk management
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินงานดูแลบำรุงรักษาระบบประกอบอาคารในศูนย์การค้าเป็นส่วนทีช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการของศูนย์การค้า เนื่องจากระบบประกอบอาคารมีการใช้งานทุกวันหากขาดการดูแลบำรุงรักษาที่เหมาะสมครบถ้วนตามรอบระยะเวลา อาจส่งผลทำให้การดำเนินกิจการของศูนย์การค้าติดขัดหรือหยุดชะงักได้อีกทั้งยังอาจจะมีค่าใช้เพิ่มสูงขึ้นจากที่ควรจะเป็น การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาการทำงานของชุดช่างประจำศูนย์การค้าว่ามีแนวทางการทำงานอย่างไรและสัมพันธ์กับการดำเนินกิจการของศูนย์การค้าอย่างไร โดยวิธี สำรวจ เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษา ดำเนินการศึกษาศูนย์การค้าที่เป็นกรณีศึกษา 4 ศูนย์การค้า ภายใต้กรอบแนวคิดการบำรุงรักษาระบบประกอบอาคาร จากการศึกษาประเภทและลักษณะระบบประกอบอาคาร พบว่ามีการแบ่งไว้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ระบบไฟฟ้ากำลังและไฟฟ้าสื่อสาร ระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ด้านลักษณะระบบประกอบอาคารพบมีลักษณะร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีอุปกรณ์หลักที่มีลักษณะร่วมกันทุกกรณีศึกษา ได้แก่ หมวดงานระบบไฟฟ้ากำลังและไฟฟ้าสื่อสาร RMU : SF6 , หม้อแปลงไฟฟ้า : DRY TYPE , ลิฟต์ : TRACTION MACHINE , MATV : เสาอากาศ หมวดงานระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง PUMP : CENTRIFUGAL , ระบบบำบัดน้ำเสีย : ACTIVATED SLUDGE, FHC : AUTOMATIC FIRE HOSE REEL , SPRINKLER : AUTOMATIC หมวดงานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ CHILLER : WATER COOL , PUMP : CENTRIFUGAL , EXHAUST FAN & FRESH AIR FAN : CENTRIFUGAL การใช้งานระบบประกอบอาคาร ด้านการเปิด-ปิดระบบพบว่า การเปิด-ปิดระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ มีการเปิดเครื่องทำน้ำเย็นทีละชุด ตามภาระโหลดที่ใช้จริง ในวันจันทร์-ศุกร์จะมีการเปิดเครื่องทำน้ำเย็นเร็วกว่าวันเสาร์-อาทิตย์ เนื่องจากทุกอาคารมีสำนักงานรวมอยู่ด้วย และยังพบว่า ช่วงเวลาการใช้งานเปิด-เปิด จำแนกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) เปิดใช้ระบบก่อนเวลาเปิดทำการศูนย์การค้า 2) เปิดใช้ระบบพร้อมเวลาเปิดทำการศูนย์การค้า 3) เปิดใช้ระบบระหว่างเวลาเปิดทำการศูนย์การค้า 4) เปิดใช้งานตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ด้านระดับการทำงาน (Set Point) พบว่าระบบไฟฟ้ามีการตั้ง Set Point ของ CAP BANK เพื่อควบคุมค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า ระบบปรับอากาศพบว่ามีการตั้ง Set Point ที่อุณหภูมิเครื่องทำน้ำเย็น เพื่อความสบายของผู้ใช้อาคารควบคู่ไปกับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลักษณะการทำงานชุดช่างประจำอาคาร พบว่ามีการจัดชุดช่างครอบคลุม 24 ชม. โดยในช่วงเช้าจะเป็นงานเปิดระบบเพื่อเตรียมก่อนเปิดศูนย์การค้า หลังเปิดศูนย์การค้าจะเป็นงานตรวจสอบและจดบันทึกค่าอุปกรณ์ต่างๆ จนกระทั่งศูนย์การค้าปิดทำการ ก็จะเป็นงานบำรุงรักษา ประสานงานและควบคุมการทำงานของผู้รับเหมา รับจ้างบำรุงรักษาเครื่องส่งลมเย็นให้กับร้านค้าหรือผู้เช่าพื้นที่ แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการจากภายนอก ก็จะทำการประสานงานผู้เกี่ยวข้อง พร้อมกับดูแลควบคุมงานอีกชั้นหนึ่ง ด้านการจัดโครงสร้างหน่วยงานบำรุงรักษาพบว่ามี 2 รูปแบบ คือแบ่งตามประเภทงาน และแบ่งตามประเภทระบบประกอบอาคาร การจัดรอบการทำงานก็จะมีช่วงเวลาที่ทับซ้อนกันเพื่อให้มีการรับส่งมอบงานในแต่ละวัน จากการศึกษาสรุปได้ว่าลักษณะระบบประกอบอาคารมีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ ประเภทระบบประกอบอาคารมีการแบ่งไว้เป็น 3 ประเภทหลัก การใช้งานระบบประกอบอาคารจะดำเนินงานสอดรับกับการดำเนินกิจการของศูนย์การค้าทั้งด้านช่วงเวลาการเปิดปิดระบบและการอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้มาใช้บริการ ลักษณะการทำงานชุดช่างจะมีการจัดรอบการทำงานที่ก็จะสอดรับกับเวลาการให้บริการของศูนย์การค้าและจะมีช่างทำงานหมุนเวียน 24 ชั่วโมง เพื่อทำงานตามช่วงเวลาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ระบบประกอบอาคารพร้อมใช้งานอยู่เสมอและสนับสนุนการดำเนินกิจการของศูนย์การค้า
Other Abstract: Building system maintenance is necessary for the operations of a shopping center because the building system is used daily. Without proper and complete maintenance at set intervals, shopping center operations may be adversely affected. This could also push operation costs higher than they should be. This research was conducted of a team of engineers working at shopping centers to identify the team’s approaches to work and how they relate to the centers’ operations. Research methods included survey, data collection, and interviews of those involved with maintenance work. A case study was conducted of four shopping centers with building system maintenance as the conceptual framework. The research results revealed that the building systems classify as 3 main systems such as electrical system, sanitary and fire fighting system and HVAC system. Electrical system consists RMU is SF6, Transformer is dry type, Elevator is traction machine type, sanitary and fire fighting system consists centrifugal type pump, The building system’s operation able to classify operation time as 4 types, namely, 1)start before shopping center open 2) start with opening of shopping center 3)start during shopping center business hours 4)run system 24 hrs. By the central air conditioner system is started the chiller each set as actual load, on weekday will start earlier than weekend for office area. After shopping center opened and configure set point of the cold water’s temperature control the temperature in comfort zone. Cap Bank is configure to control the highest demand for energy saving The characteristics of technician organizing found that 2 models, the first model is delegated according to sort of work and the second model is delegated according to type of building systems. The scheduling of working hour, need the technician to standby 24 hours and plan to overlap working shift for job handling during the day, Before opening the shopping center, technician work is run start the machine, after opened will check monitoring and record the machine working until shopping center is closed, work involves maintenance the system. Based on the research results, the characteristics of the shopping centers’ building systems are similar is classified as 3 main systems, The usage of the building systems that are related to business operations are as follows: the machine’s operation time, working shift is organized providing 24 hours technician, and related to shopping center business hours, aim to available serve and support the business of shopping center.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45031
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1769
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1769
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pisitpong_ba.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.