Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45239
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี | - |
dc.contributor.author | ธนพร นิธิพฤทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-12T03:11:14Z | - |
dc.date.available | 2015-09-12T03:11:14Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45239 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครใต้เปรียบเทียบกับทฤษฎี กรอบแนวคิดที่ได้ทบทวนวรรณกรรม เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครใต้ในปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติดังกล่าว อีกทั้งยังเพื่อศึกษาถึงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้านคุมประพฤติกับผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรของตนเองในด้านดังกล่าว และยังศึกษาถึงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับการเตรียมความพร้อมที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักกับผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรของตนเองในด้านดังกล่าว ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครใต้ ซึ่งได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และ ลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครใต้ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบ ค่าที ค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 1 “แนวทางการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครใต้ในปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติดังกล่าว ประกอบด้วย การศึกษาที่เป็นทางการ (Formal Education), การประเมิน (Assessment), ประสบการณ์การทำงาน (Job Experience), ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship) และ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)” ข้อที่ 2 “ระดับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้านคุมประพฤติกับผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรของตนเองในด้านดังกล่าวมีความแตกต่างกัน โดยระดับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้านคุมประพฤติจะสูงกว่าผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรของตนเองในด้านดังกล่าว” และข้อที่ 3 “ระดับการเตรียมความพร้อมที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักอันได้แก่ เสาหลัก 1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC) , เสาหลัก 2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC) , เสาหลัก 3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC) กับผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรของตนเองในด้านดังกล่าวมีความแตกต่างกัน โดยระดับการเตรียมความพร้อมที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักจะสูงกว่าผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรของตนเองในด้านดังกล่าว” จึงยอมรับสมมติฐาน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to investigate level of staff development of Probation Office of the Southern Bangkok District Court compared to theories and reviewed conceptual framework, and examine resolutions towards staff development of Probation Office of the Southern Bangkok District Court relating to staff development of such bureau. Moreover, this paper also compared difference between levels of knowledge, skill, and competency for probation and parole tasks and evaluation results of staff development in these aspects. Besides, the difference of preparation to get ready for 3 pillars of ASEAN and evaluation results of staff development was assessed as well. Quantitative analysis was applied in this research and the samples consisted of 50 personnel of Probation Office of the Southern Bangkok District Court consisting of government officers, full-time employees, government employees, and temporary staffs of Probation Office of the Southern Bangkok District Court. Several statistics were conducted for data analysis such as percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Pearson product-moment correlation with a 0.05 level of statistical significance. According to the first hypothesis testing on “resolutions towards current staff development of Probation Office of the Southern Bangkok District Court relating to staff development of such bureau”, it comprised of Formal Education, Assessment, Job Experience, Interpersonal Relationship, and E-learning. Furthermore, the second hypothesis testing found that the “levels of knowledge, skill, and competency for probation and parole tasks and evaluation results of staff development in these aspects were different because the levels of knowledge, skill, and competency for probation and parole tasks were higher than the evaluation results of staff development in the above aspects”. Additionally, the third hypothesis testing revealed that the “level of readiness preparation for the 3 pillars of ASEAN; 1st pillar - ASEAN Political and Security Community or APSC, 2nd pillar - ASEAN Economic Community or AEC, and 3rd pillar - ASEAN Socio-Cultural Community or ASCC, and the evaluation results were different because the level of readiness preparation for the 3 pillars of ASEAN was higher than the evaluation results of staff development”. Therefore, the above hypotheses were accepted. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1434 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สำนักงานคุมประพฤติศาลแขวงพระนครใต้ -- การพัฒนาบุคลากร | en_US |
dc.subject | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาบุคลากร | en_US |
dc.subject | Office of The Southern Bangkok District Court | en_US |
dc.subject | Human resources development | en_US |
dc.title | การพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลแขวงพระนครใต้ กรมคุมประพฤติ | en_US |
dc.title.alternative | Staff development of probation Office of The Southern Bangkok District Court | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1434 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tanaporn_ni.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.