Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4524
Title: แพลงก์ตอนที่มากับน้ำอับเฉาและการประเมินผลกระทบบริเวณท่าเรือจังหวัดชลบุรี
Other Titles: Introduced plankton in ballast water and its impact assessment at Chon Buri Port
Authors: รัตนาภรณ์ อาณาประโยชน์
Advisors: สุชนา ชวนิชย์
วรณพ วิยกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: csuchana@sc.chula.ac.th, achavanich@hotmail.com
vvoranop@chula.ac.th
Subjects: น้ำอับเฉา
แพลงค์ตอน
ท่าเรือ -- ไทย -- ชลบุรี
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแพลงก์ตอนที่มากับน้ำอับเฉาโดยการเก็บตัวอย่างน้ำ 11 ตัวอย่างจากเรือเดินระหว่างประเทศ 6 ลำ ที่เข้ามาเทียบท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2545 พร้อมเก็บตัวอย่างน้ำที่บริเวณท่าเทียบเรือ B3 เพื่อการเปรียบเทียบ กรองตัวอย่างทั้งหมดด้วยตาข่ายแพลงก์ตอนขนาดตา 20 ไมครอน นอกจากนั้นได้วัดอุณหภูมิ ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ และความเป็นกรดด่างของน้ำด้วย ผลการศึกษาพบแพลงก์ตอนที่ปะปนมากับน้ำอับเฉา 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ตัวอย่างน้ำอับเฉาจากเรือ M.V. Java Bridge Panama 1 ตัวอย่าง และจากเรือ M.S. Perth Bridge Panama 2 ตัวอย่าง ซึ่งจำแนกเป็นแพลงก์ตอนพืช 3 อาณาจักร 65 สกุล และแพลงก์ตอนสัตว์ 2 อาณาจักร 5 กลุ่ม ทั้งนี้ความหนาแน่นแพลงก์ตอนพืชโดยเฉลี่ยของ 3 ตัวอย่าง คือ 3.94x10[ยกกำลัง 6], 5.69x10[ยกกำลัง 6] และ 0.22x10[ยกกำลัง 6] เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ และความหนาแน่นแพลงก์ตอนสัตว์โดยเฉลี่ยของ 3 ตัวอย่าง คือ 47.6x10[ยกกำลัง 3],84.0x10[ยกกำลัง 3] และ 5.4x10[ยกกำลัง 3] เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ ในขณะที่แพลงก์ตอนพืชและสัตว์ที่พบในบริเวณท่าเรือมีความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 0.4x10[ยกกำลัง 6] และ 26.6x10[ยกกำลัง 3] เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ แพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นในน้ำอับเฉา ได้แก่ Ceratium sp., Ulothrix sp. และ Oscillatoria sp. ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นในน้ำอับเฉาคือ ตัวอ่อนระยะ Nauplius ของ Copepod และกุ้ง, Difflugia sp., Tintinnopsis sp. และ Leptocylindus sp.
Other Abstract: Eleven ballast water samples were collected from 6 vessels at Laem Chabang port, Chonburi province during July to November 2002 to investigate the diversity and abundance of phytoplankton and zooplankton. In addition, the water sample from B3 pier was collected for comparison. All water samples were filtered through plankton net with pore size of 20 micron. Temperature, salinity, DO and pH were also measured in each sample. The results showed that phytoplankton and zooplankton were found in 3 ballast water samples; 1 sample from M.V. Java Bridge Panama and 2 samples from M.S. Perth Bridge Panama. There were 3 divisions with 65 genera of phytoplankton and 2 phyla with 5 subclasses of zooplankton in the ballast water samples. The average densities of phytoplankton were 3.94x10[subscript 6], 5.69x10[subscript 6] and 0.22x10[subscript 6] cell/l, respectively. Meanwhile, the average densities of zooplankton were 47.6x10[subscript 3], 84.0x10[subscript 3] and 5.4x10[subscript 3] cell/l, respectively. However, thewater sample from B3 pier contained 0.4x10[subscript 6] cell/l of phytoplankton and 26.6x10[subscript 3] cell/l of zooplankton. The dominant genus of phytoplankton in ballast samples were Ceratium sp., Ulothrix sp. and Oscillatoria sp. While the dominant groups of zooplankton in samples were Nauplius larvae, Difflugia sp., Tintinnopsis sp. and Leptocylindus sp.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4524
ISBN: 9741749309
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanaporn.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.