Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4526
Title: การพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่าง สารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนและฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร บริเวณริมถนนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development of relation model between polycyclic aromatic hydrocarbons and particle size less than 10 micrometers near roadside in Bongkok
Authors: กมลนารี ลายคราม
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
ทรรศนีย์ เจตน์วิทยาชาญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: bsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th
ctassane@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน
ฝุ่น
อนุภาค
แบบจำลอง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่าง สารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) และ ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) บริเวณริมถนน ในเขต กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้มข้นของ สารpPAHs (PAHsที่เกาะบนอนุภาคฝุ่น) และ PM10 ในพื้นที่ทั่วไป คือ คลองจั่น และรามคำแหง พื้นที่ริมถนนคือ ดินแดง โชคชัย4 และ ห้วยขวาง ซึ่งเป็นจุดตรวจวัดเดียวกับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และพื้นที่ริมถนน จุฬาฯ โดยตรวจวัด และเก็บตัวอย่าง ในช่วง ชุกฝน ตั้งแต่วันที่ 3 8 ธันวาคม 2545 และในช่วงแล้งฝน ตั้งแต่วันที่ 4 - 9 กุมภาพันธ์ 2546 ศึกษาข้อมูลความเข้มข้นของ PM10 เฉลี่ยรายชั่วโมงจากจุดเก็บซึ่งเป็นจุดเดียวกับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และตรวจวัด PM10 ราย 6 ชั่วโมง โดยเครื่องเก็บฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ชนิดไฮโวลุม ในจุดเก็บ จุฬาฯ และตรวจวัดความเข้มข้นของ สารpPAHsโดยเครื่อง Realtime PAHs Monitor PAS2000CE ซึ่งสามารถตรวจวัดความเข้มข้นของ สารpPAHsโดยรวม เลือกตรวจวัด ทุกๆ 2 นาที และศึกษาข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาคือ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็ว และทิศทางของลม (เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์) จากจุดตรวจวัดซึ่งเป็นจุดเดียวกับสถานีตรวจวัดอากาศของกรมควบคุมมลพิษ นำข้อมูลที่ได้หาค่า เฉลี่ยราย 6 ชั่วโมง และศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้น ของสารทั้งสองโดยใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ ทดสอบความน่าจะเป็นของสัมพันธ์เชิงเส้นของสารทั้งสองโดยสถิติชนิด ที (T Test) พบว่าที่ความเชื่อมั่น 95% ยอบรับความสัมพันธ์เชิงเส้นของ สาร pPAHs และ PM10 ในทุกจุดตรวจวัด ยกเว้นพื้นที่คลองจั่นช่วงชุกฝน และพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ในพื้นที่ทั่วไป สูงสุดคือ จุดตรวจวัดพื้นที่ คลองจั่น ช่วงแล้งฝนโดยมีค่า 0.836 และ ในพื้นที่ริมถนน คือจุดตรวจวัดพื้นที่ จุฬา ช่วงแล้งฝน มีค่า 0.824 ทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์ โดย หาความเข้มข้นของ PM10 จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ CALINE4 ในพื้นที่จุฬา และใต้สถานีรถไฟฟ้าพระโขนงแบบถนนธรรมดาและ ถนนด้านข้างปิดทึบ ทำการตรวจวัดความเข้มข้นจริงของ สารpPAHs ณ จุดทดสอบดังกล่าว และใช้แบบจำลองความสัมพันธ์คำนวณ ความเข้มข้น ของ สาร pPAHs จาก ความเข้มข้นของ PM10 ที่ได้ พบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ สารPAHs ที่ได้จากการตรวจวัดจริงและ จากแบบจำลอง ในพื้นที่จุฬา เป็น 0.8037 และ ใต้สถานีรถไฟฟ้าพระโขนงแบบถนนธรรมดา และถนนด้านข้างปิดทึบ มีค่า 0.009และ 0.168 ตามลำดับ
Other Abstract: Development of relation model between particle-bound polycyclic aromatic hydrocarbons (pPAHs) and particle size less than 10 (PM10) were studied. Two urban sites were measured at Klongjan and Ramkamhang and three road sites were measured at Dindaeng, Chokechai 4 and Huaykhaung (same station which were operated by Pollution Control Department) and a road site at faculty of science, Chulalongkorn university (Chula site). Wet period were measured in 3-8 December 2001 and dry period were measured in 4-11 February 2002. A photoelectric aerosol sensor (PAS), which provides continuous signal in relation to the total pPAHs concentration, was used to measure real-time total pPAHs concentration. PM10 were measured by High volume air sampler at Chula site and collected data from Pollution Control Department at the others sites.The relationship between pPAHs and PM10 were shown the most value of correlation coefficient in urban sites is Klongjan in the dry period, 0.836.And in the road sites is Chula site, 0.824. The relation model were used to calculating pPAHs from PM10 (which were calculated from CALINE4 model) at Chula site and two types of Phrakanong site(street and street canyon). The correlation coefficient between pPAHs from relation model and from measurement were shown 0.8037 at Chula site and in Phrakanong sites street type is 0.009 and street canyon type is 0.168.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4526
ISBN: 9741748418
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gamolnaree.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.