Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45405
Title: การพัฒนากระบวนการสรรหาและเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี
Other Titles: DEVELOPMENT OF A RECRUITMENT AND SELECTION PROCESS OF ASSISTANT TEACHERS UNDER OF BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION USING MULTIPLE APPROACHES
Authors: หทัยรัตน์ เจียรากร
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,ssiridej@chula.ac.th
Aimorn.J@chula.ac.th
Subjects: ครูช่วยสอน -- การคัดเลือกและสรรหา -- ไทย -- กรุงเทพ
Teachers' assistants -- Recruiting -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากระบวนการสรรหาและเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี (2) พัฒนาชุดเครื่องมือตามกระบวนการเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี (3) ตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการสรรหาและเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินความต้องการจำเป็นด้วยแบบสอบถามกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ข้าราชการในสังกัดกลุ่มงานประเมินบุคคลการสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพ กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ท่าน 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 ท่าน ระยะที่ 2 พัฒนาชุดเครื่องมือตามกระบวนการเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี ผู้วิจัยสร้างแบบวัดสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ชุด จากการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับสมรรถนะ หน้าที่และความรับผิดชอบของครูผู้ช่วย การศึกษาดูงานแบบปฏิบัติที่ดี 4 แห่ง การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสมรรถนะด้วยประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน และตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือทุกชุดด้วยการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการพัฒนาในการสรรหาและเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความชัดเจน ด้วยการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านและการตรวจสอบเชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการสรรหาและเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1.1 วิธีการที่ใช้ในการสรรหาครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี ได้แก่ การวิเคราะห์อัตรากำลังโดยใช้สูตรคำนวณจากสถิติปริมาณงาน การบรรยายลักษณะงาน การกำหนดลักษณะเฉพาะของงาน การประเมินค่างาน การใช้กลยุทธ์ในการสรรหาด้วยโปรแกรม GYO วิธีการที่เกี่ยวข้องกับ E-recruitment และการรับสมัครด้วยวิธีการออนไลน์ผ่านระบบอิเล็คทรอนิคส์ 1.2 วิธีการที่ใช้ในขั้นตอนการเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยพหุวิธี ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะจากองค์ประกอบครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้จากงานวิจัย การทดลองปฏิบัติงาน 3 เดือนแรก ใช้เทคนิค 360 องศา การทดลองปฏิบัติงาน 3 เดือนหลัง ใช้การประเมินแบบ E-portfolio และการเก็บบันทึกข้อมูลของผู้สมัครงานทุกรายทั้งที่สอบผ่านและสอบไม่ผ่าน 2. ชุดเครื่องมือคือแบบวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ชุด ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และนำชุดเครื่องมือเฉพาะชุดที่ 1 (ข้อสอบภาคความรู้สมรรถนะหลัก) และชุดที่ 3 (การทดสอบภาคเตรียมความพร้อมโดยการปฏิบัติ) ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3.กระบวนการสรรหาและเลือกสรรครูผู้ช่วยในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ได้คะแนนสูงสุด และด้านความชัดเจนได้คะแนนน้อยที่สุด ผลการตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่ากลุ่มสูงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มต่ำอยู่ 18.90
Other Abstract: This research aimed to 1) develop recruitment and selection processes for teachers under the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) using multiple approaches; 2) develop toolkits for recruiting assistant teachers under the Bangkok Metropolitan Administration using multiple approaches and 3) examine the quality of recruitment and selection processes for assistant teachers under the Bangkok Metropolitan Administration using multiple approaches. The procedures were separated into three phases as follows: Phase 1 – needs assessment was carried out by questionnaire with stakeholders. The samples are composed of the following; i.e., 1) Eight civil servants involved in recruitment and selection processes under the BMA; 2) 437 school directors under the BMA. Phase 2: Development of instruments in the selection process for assistant teachers in the BMA using multiple approaches. The researcher created four competency tests for assistant teachers under the BMA by analyzing documents on competency, assistant teacher function and responsibilities with observation of the four Best Practices. The quality of the competency tests was examined by group discussions consisted of reviews by eight experts. All of the instruments were tested by an analysis of expert index congruency. Phase 3: The researcher tested the quality of the recruitment and selection processes of assistant teachers under the BMA by using multiple approaches in terms of the following five dimensions: propriety, feasibility, accuracy, utility and clarity by analyzing the index of item objective congruence (IOC) with five expert reviews and empirical reviews by the known-group method. The findings can be summarized as follows: 1) The recruitment and selection processes for assistant teachers under the BMA consisted of the following; i.e., 1.1) recruitment method for assistant teachers under the BMA with multiple approaches: manpower analysis calculated using workload statistics, job description, job specifications, job evaluation, strategies employed in recruitment by the GYO program, E-recruitment and electronic online recruitment; 1.2) selection method for assistant teachers under the BMA with multiple approaches: competency testing for assistant teachers under the BMA by research in which the first probation period of three months used the 360-degree feedback technique. The second 3-month probation period used E-portfolio and recorded every resume with pass or fail grades for all recruitment steps; 2) 4 competency tests were set for assistant teachers under the BMA with multiple approaches, and quality was checked. Only the first test (core competency test) and the third test (practical examination) were tested in the sample group. 3. The recruitment and selection processes for assistant teachers under the BMA that passed quality checks found utility to earn the highest score and clarity to earn the lowest score. According to the empirical data reviewed by the known-group method, the high-scoring group scored a higher mean than the low-scoring group by 18.90.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45405
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.904
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.904
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384269027.pdf19.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.