Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45428
Title: การพัฒนาอนุภาคไมโครจากเจลาตินและไฟโบรอินไหมไทยสำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบสามมิติ
Other Titles: DEVELOPMENT OF GELATIN/THAI SILK FIBROIN MICROSPHERES FOR THREE DIMENTIONAL CELL CULTURE
Authors: สวรรยา สินธพ
Advisors: โศรดา กนกพานนท์
นายแพทย์สมชาย แสงกิจพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sorada.K@Chula.ac.th,Sorada.K@Chula.ac.th
somchai.sa@dmsc.mail.go.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาอนุภาคไมโครที่ผลิตจากเจลาตินชนิดเอและไฟโบรอินไหมไทย เพื่อพัฒนาต้นแบบของการทดสอบยารักษามะเร็งในระดับห้องปฏิบัติการ ทำโดยเตรียมอนุภาคไมโครเจลาตินและไฟโบรอินไหมไทยที่อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนัก ได้แก่ 100/0, 90/10, 70/30 และ 50/50 โดยวิธีอิมัลชั่นน้ำในน้ำมัน และเชื่อมขวางด้วยกลูตารัลดีไฮด์หรือด้วยความร้อนที่สภาวะสุญญากาศ ขนาดของอนุภาคเกิดจากการปั่นกวนให้ได้อนุภาค 3 ขนาดคือ S (316.78±13.23 ไมโครเมตร) ใช้ความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที, M (555.66±23.58 ไมโครเมตร) ใช้ความเร็วรอบ 130 รอบต่อนาที และ L (736.64±17.51 ไมโครเมตร) ใช้ความเร็วรอบ 110 รอบต่อนาที โครงสร้างสัณฐานของอนุภาคมีลักษณะรูปร่างทรงกลม พื้นผิวเรียบ เมื่อเพิ่มปริมาณไฟโบรอินในอนุภาคไมโคร ทำให้ระดับการเชื่อมขวางสูงขึ้น โดยวิเคราะห์จากปริมาณหมู่อะมิโนอิสระที่ลดลง ความสามารถในการดูดซับน้ำมากขึ้น และอัตราการย่อยสลายด้วยเอนไซม์คอลลาจีเนสต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคไมโครที่มีเจลาตินอย่างเดียว ผลการทดสอบการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกของหนู (Rat bone marrow derived stem cells, MSC) และเซลล์ไลน์มะเร็งเต้านม (Breast cancer cell line, MCF-7) บนอนุภาคไมโคร พบว่าเซลล์ทั้งสองชนิดสามารถยึดเกาะบนอนุภาคไมโครเจลาตินได้ดีที่สุด ประมาณร้อยละ 42-51 เมื่อเพาะเลี้ยงเซลล์เริ่มต้น 8.35x104 เซลล์ต่อมิลลิกรัม โดยเพาะเลี้ยงด้วยวิธี Agitation seeding อนุภาคไมโครเจลาตินขนาด S ที่ถูกเชื่อมขวางด้วยกลูตารัลดีไฮด์ มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะและเวลาการแบ่งตัวทวีคูณสูงที่สุดเท่ากับ 6.4x10-3 ต่อชั่วโมง และ 108.3±0.4 ชั่วโมง ตามลำดับ เมื่อนำต้นแบบอนุภาคไมโครเจลาตินขนาด S ที่ถูกเชื่อมขวางด้วยกลูตารัลดีไฮด์ไปทำการทดสอบความไวต่อยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) พบว่าการเพาะเลี้ยงแบบสองมิติ มีค่าความเข้มข้นของยาที่ทำให้เซลล์ตายร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 0.12 ไมโครโมลาร์ เมื่อเพาะเลี้ยงแบบสามมิติบนอนุภาคไมโครด้วยความหนาแน่นเซลล์สูงสุด 23.0x104 และ 19.6x104 เซลล์ต่อมิลลิกรัม มีค่า IC50 เท่ากับ 0.92 และ 0.70 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ อนุภาคไมโครจากเจลาตินและไฟโบรอินไหมไทยที่พัฒนาขึ้นนี้แสดงถึงศักยภาพในการนำมาประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงเซลล์และเป็นต้นแบบวัสดุสำหรับทดสอบความไวต่อยารักษามะเร็ง
Other Abstract: Development of microspheres from gelatin and Thai silk fibroin for in vitro chemosensitivity of breast cancer cells. Gelatin (G) and silk fibroin (SF) were blended at different weight ratios of 100/0, 90/10, 70/30, and 50/50 water in oil emulsion technique and were crosslinked glutaraldehyde (GA) or dehydrothermal (DHT). Average size of microspheres obtained were at S size (316.78±13.23 µm), M size (555.66±23.58 µm) and L size (736.64±17.51 µm). The morphology of microspheres were round shape and smooth surface. Blending SF into microspheres increases the crosslinking degree and extends degradation rate of the G/SF microspheres, comparing to the gelatin microspheres. In vitro attachment and proliferation of MCF-7 and MSC cultured, the 100/0 had showed the highest potential to promote the cell attachment (42-51%). Cell seeding densities at 8.35x104 cells/mg were used on the S size of GA crosslinked microspheres, highest specific growth rate (µ) of 6.4x10-3 h-1 and population doubling time (PDT) of 108.3±0.4 hours. For in vitro chemosensitivity test, the IC50 on two dimensional culture was at 0.12 µM. At cell densities 23.0 x104 and 19.6x104 cells/mg, IC50 on 3D microspheres were at 0.92 and 0.70 µM. The data from experiments showed potential of microspheres for in vitro chemosensitivity test.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45428
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470411521.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.