Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45509
Title: นวัตกรรมเครื่องสำอางสมุนไพรผลฟักข้าวเพื่อการพาณิชย์
Other Titles: INNOVATION OF “GAC” HERBAL COSMETIC FOR COMMERCIALIZATION
Authors: ภคพรรณ ลีวุฒินันท์
Advisors: อมร เพชรสม
อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: amorn.p@chula.ac.th
achandrachai@gmail.com
Subjects: ผลิตภัณฑ์ใหม่
ฟักข้าว
พฤติกรรมผู้บริโภค
การตัดสินใจ
เครื่องสำอางสมุนไพร
การบริหารโครงการ
New products
Momordica cochinchinensis
Consumer behavior
Decision making
Herbal cosmetics
Project management
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีเป้าหมายเพื่อให้การพัฒนาสินค้าจากผลฟักข้าวประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ โดยรวบรวมและวิเคราะห์จากส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วน ได้แก่ การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค การทดสอบประสิทธิภาพผลฟักข้าวเพื่อพัฒนาเป็นครีมเครื่องสำอาง การทดสอบประสิทธิภาพครีม และการพัฒนาเครื่องสำอางสมุนไพรเชิงพาณิชย์ ผลการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องสำอางของผู้บริโภค จากการสำรวจ 432 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้านการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก วัดผลตัวแปรค่านัยสำคัญน้อยกว่า 0.05 พบว่า ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี การมีโอกาสทดลองผลิตภัณฑ์ สถานที่ในห้างสรรพสินค้า การกำหนดราคาสูงกว่า 1,000 บาท คุณสมบัติลดเลือนริ้วรอย ประสิทธิภาพสารต้านอนุมูลอิสระ และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นจากการวัดค่าสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนสของสารสกัดผลฟักข้าว และการทดสอบทางคลินิกของครีมลดเลือนริ้วรอยที่มีสารสกัดผลฟักข้าวเป็นส่วนผสม จากการทดลองพบว่าสารสกัดผลฟักข้าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่า 5.85 เท่า และ 11.75 เท่าเมื่อเทียบกับวิตามินอี โดยวิธีการ DPPH และ ABTS ตามลำดับ และมากกว่าวิตามินซี 2.91 เท่า โดยวิธีการ FRAP ความสามารถในการยับยั้งสีผิวของสารสกัดผลฟักข้าวมากกว่า 1.51 เท่า และ 2.06 เท่าของวิตามินซี และวิตามินอี ตามลำดับ ดังนั้นผลฟักข้าวจึงมีประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระและประสิทธิภาพการยับยั้งสีผิวได้ดีกว่าวิตามินซี และอี ด้านการทดสอบความปลอดภัยของสารสกัดผลฟักข้าวไม่พบการระคายเคืองจากการทดสอบ และเมื่อพัฒนาสารสกัดเป็นครีมบำรุงผิวผลฟักข้าว ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของครีม โดยทำการทดสอบกับอาสาสมัคร 22 คน ระยะเวลา 56 วัน พบว่าครีมผสมสารสกัดผลฟักข้าวมีคุณสมบัติฟื้นฟูริ้วรอย 75% คุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว 75% และทำให้ผิวขาวขึ้น 45% สรุปได้ว่าผลฟักข้าวมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เป็นการนำผลสรุปทางสถิติเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค วิเคราะห์ร่วมกับผลการทดสอบคุณสมบัติของเครื่องสำอางผลฟักข้าว เป็นพื้นฐานการวางกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ เป็นกระบวนการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการ และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายซื้อสินค้า ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระบวนการวิเคราะห์การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาด มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์และนำไปสู่ความสำเร็จ
Other Abstract: The research aimed to develop local Gac fruit to be success in business consisted of 3 parts; consumer purchasing decision of Thai herbal cosmetics, research and development of product and commercialization of herbal cosmetics. For consumer purchasing decision, the result was from 432 survey samples. The data was analyzed by statistical method to study correlation analysis and binary logistic regression. P values < 0.05 were regarded as significant. The research found that level of education, product trials, distribution channel in department store, price higher than 1,000 Baht, Anti-wrinkles and anti-oxidant efficacy, and environment concern had effects on consumer decision to purchase herbal cosmetic products. The product was developed by evaluating anti-oxidant and anti-tyrosinase activities of Gac extract and to clinically test by Gac-containing anti-wrinkle cream formulation. Gac extract exhibited higher antioxidant activity than vitamin E. It was 5.85-fold and 11.75-fold as measured by DPPH and ABTS assays respectively. The FRAP assay of Gac extract antioxidant activity was 2.91-fold higher than that of vitamin C. Gac extract also exhibited high tyrosinase inhibition. It was 1.51- and 2.06-fold greater than those of vitamin C and vitamin E, respectively. Thus, Gac extract exhibited higher antioxidant activity and tyrosinase inhibition activity than those of vitamin C and E. The safety test of gac extract was found to be non-irritation. Clinical study was performed using 22 subjects for 56 days. The efficacy result of the formulated Gac extract cream as an anti-wrinkle agent can be seen from the improvement of skin moisturizing by 75%, smoothness and anti-wrinkles by 75% and whitening by 45% respectively. These results indicate that the formulated Gac extract product is an effective anti-wrinkle skin care product. The new product development for commercialization was the analyses of process between the result of consumer purchasing decision study and product research and development and the result was used to design market strategy. In-depth interviews with entrepreneurs and focus group with targeted consumers worked as fundamental for commercialization. The result reflected that the analysis of consumers purchasing decision, product research and development and commercialization has high potential to be successful.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45509
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.956
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.956
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487793120.pdf11.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.